0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ใช้จุลินทรีย์กำจัดหนอนม้วนใบในนาข้าว

ในสถานการณ์ปัจจุบันมีเหตุการณ์หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปทำให้ต้นทุนชาวไร่ชาวนาเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านก็น้อยลง ดังที่เห็นในปัจจุบันว่าตลาดที่เคยมีแต่พืชผักผลิตผลของไทยครอบครองปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นของเวียดนาม กัมพูชาและลาวเข้ามาแจมในเกือบทุกพื้นที่ ด้วยเหตุผลเพียงข้อเดียวคือ “สินค้าของไทยแพง” เรื่องโรคและแมลงถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนเกษตรกรแพงขึ้นปัญหาของพี่น้องเกษตรกรชาวนานอกจากจะประสบพบเจอปัญหาเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่โด่งดังในวงสื่ออย่างกว้างในห้วงช่วงสองสามปีมานี้แล้ว ความจริงยังมีปัญหาเรื่องหนอนชอนใบที่เข้ามาทำลายกัดกินใบข้าวทำให้พื้นที่รับแสงและความสามารถในการสร้างคลอโรฟิลล์ของข้าวลดน้อยลง ความสามารถในการปรุงอาหารที่ส่งผลทำให้ปริมาณของผลผลิตที่จะได้ก็ลดน้อยตามลงไปด้วยเช่นกัน

หนอนห่อใบข้าว (rice leaffolder, LF) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnaphalocrocis medinalis (Guenee) วงศ์ Pyralidae อันดับ Lepidoptera ชื่อสามัญอื่น หนอนม้วนใบข้าว หนอนกินใบข้าว ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนปีกสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง 2-3 แถบ เมื่อเกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว ตัวเมียวางไข่บนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีสีขาวขุ่นค่อนข้างแบนเป็นกลุ่ม แต่บางครั้งก็วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆมีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น ระยะดักแด้ 4-8 วัน (ที่มาของข้อมูล : กรมการข้าว)

หนอนห่อใบข้าวนี้ถ้าสังเกตุให้ดีจะมีการระบาดในทุกระยะที่ข้าวอวบอ้วนอ่อนแอ ส่วนใหญ่จะพบมากหลังจากใส่ปุ๋ยหรือในระยะที่มีฝนชุก เพราะเมื่อข้าวได้รับไนโตรเจนจากน้ำฝนและปุ๋ยที่เกษตรกรได้ให้ในปริมาณมากหรือเกินความต้องการของข้าวก็จะแสดงอาการอวบอ้วนอ่อนแอเฝือใบให้เห็นได้อย่างชัดเจนทันทีคือมีสีใบที่เขียวเข้มลำต้นอวบอ้วนใบโค้งงอเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากสำหรับหนอนทำให้แม่ผีเสื้อกลางคืนชนิดต่างๆบินวนเวียงวางไข่เรียงรายเต็มท้องทุ่งได้ไม่ยากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ฉะนั้นเมื่อต้องการลดปัญหาเรื่องข้าวอ่อนแอควรให้ปุ๋ยทีละน้อย พอดี พอดี หรือไม่ก็ทำให้เป็นปุ๋ยละลายช้า (ปุ๋ยมีราคาแพงต้องเปลี่ยนแปลงทำให้ละลายช้าเขียวนาน  นอกจากจะช่วยลดต้นทุนประหยัดปุ๋ยแล้วยยังช่วยลดต้นทุนการฉีดพ่นป้องกันรักษาโรคและแมลงด้วย

หนอนห่อใบข้าวนี้สามารถที่จะดูแลป้องกันรักษาได้ด้วยแนวทางชีวภาพ คือการใช้จุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ชื่อทางการค้าแบคเทียร์ และเชื้อราพาซิโลมัยซีทไลลาซินัส ชื่อทางการค้านีมาเคียว  สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดสรรในด้านการทำลาย หนอนและไข่หนอนโดยตรง สามารถปราบหนอนห่อใบข้าวได้ด้วยการเจริญเติบโตงอกงามออกจากสปอร์เป็นเส้นใยแทงทะลุทะลวงไปยังตัวหนอนที่ซ่อนตัวอยู่ด้านใน ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นโดยตัวเนื่องด้วยเขาเป็นสิ่งมีชีวิตสามารถที่จะเคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างอิสระในสถานที่ที่มีแหล่งอาหารนั่นก็คือกลุ่มโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากตัวหนอนนั่นเอง
 เกษตรกรท่านใดสนใจจะหาซื้อมาทดลองสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

 

เขียนและรายงานโดย ทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

สอบถามเพิ่มเติมที่ฝ่ายวิชาการ 02-9861680-2 หรือ Hotline สายด่วน 084-5554205 -9 หรือ @thaigreenagro

เสนอติชมได้ที่ Email : thaigreenago@gmail.com

เกษตรปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม

 

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×