มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกและรับประทานกันมากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น
โดยพันธุ์ของมะละกอที่นิยมปลูกกันนั้น มีอยู่มากมาย โดยลักษณะของต้นและผลของมะละกอแต่ละพันธุ์อาจจะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้
· มะละกอแขกดำ : สูง 2-4 เมตร ใบหนา ดอกติดเร็ว ให้ผลไว ผลหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม เมื่อสุกเนื้อจะมีสีแดงเข้มและหวาน
· มะละกอท่าพระ : เป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์แขกดำกับพันธุ์ฟอริดา โทเลอแรนต์ แข็งแรง ทนโรคใบด่างจุดวงแหวน ได้ดี ติดผลเร็ว ผลหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ผลดิบเนื้อจะกรอบ และผลสุกเนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานหอม
· มะละกอสายน้ำผึ้ง : ต้นเตี้ย แต่ก้านใบยาวก ผลเรียวแต่ปลายใหญ่ มีร่องระหว่างพูเป็นเหลี่ยมชัดเจน เนื้อสีส้ม รสชาติหวาน นิยมกินแบบสุก
· มะละกอสีทอง : ต้นกำเนิดมาจากฮาวาย เมล็ดเยอะ ผิวของผลมีสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลือง รสหวาน
ซึ่งมะละกอจะมีโรคที่พบบ่อยในสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกสลับกับอากาศร้อนอบอ้าว เอื้อต่อการเจริญเติบโตของโรคพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชในมะละกอ โดยจะมีโรคหลักๆ โรครากเน่า โคนเน่า เกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium aphanidermarum (Edson) Fitz)และไฟท๊อปธอร่า (Phytophthora palmivora Butl.) มักระบาดอย่างรุนแรงในฤดูฝน คือ โรคนี้เมื่อระบาดแล้วอาจจะเป็นหมดทั้งสวนได้ ลักษณะอาการใบมะละกอเหี่ยวแห้งตายและร่วง ลำต้นกล้าแห้งตายอย่างรวดเร็วเมื่อถอนดูจะไม่มีระบบรากเหลืออยู่ ในมะละกอต้นโตจะแสดงอาการรากเน่า ทำให้ก้านใบลู่ลง ใบเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วทำให้เหลือแต่ยอดซึ่งมีก้านใบสั้นๆ
การควบคุมและป้องกันโรค
o การทำให้ดินร่วนซุย ไม่มีน้ำขัง และลดสภาพความเป็นกรดของดินจะช่วยลดปัญหาโรครากเน่าและโคนเน่าได้
o การปลูกมะละกอจำเป็นต้องมีระบบการระบายน้ำที่ดี ถ้าเป็นพื้นราบลุ่ม และระดับน้ำใต้ดินตื้นจำเป็นต้องยกแปลงให้สูงจากระดับน้ำทำคันป้องกันน้ำท่วม น้ำท่วมขังทำให้รากพืชขาดอากาศในดิน เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้ง่าย
การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน
· อินดิวเซอร์ (INDUCER-TM) อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดของโรคและพ่นซ้ำทุกๆ 7 วัน
· ภูไมท์ซัลเฟตเม็ด อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ช่วย ทำให้ดินร่วนซุย ดินซึมผ่านน้ำได้ง่าย ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง ช่วยไล่เกลือออกจากเนื้อดิน ช่วยเพิ่มอากาศในดิน ช่วยอุ้มน้ำของดิน แก้อาการขาดปูนและกำมะถันในพืช แก้พืชแพ้หนาวและร้อน แก้พืชซีด เขียวตองอ่อนแก้พืชโตช้าในการลองพื้นหรือก้นหลุมปลูก ฯลฯ
https://www.thaigreenagro.com/ , Line officl : @thaigreenagro , โทรศัพท์ 0-2986-1680, 084-555-4207
บทความโดย นายสายชล ทองเศรษฐี
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด
(อดีตนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ)