ทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าการส่งออกสูงประเทศไทยส่งออกทุเรียนผลสดพันธุ์หมอนทอง
ไปยังประเทศจีนเป็นหลักแต่ในช่วงอากาศร้อนและมีฝนตก มักจะพบการระบาดของโรคผลเน่าของทุเรียนโดยพบได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อน
จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียน
และหลังการเก็บเกี่ยวในระหว่างการบ่มผลทุเรียนให้สุก ถ้าอาการรุนแรงมาก
ผลทุเรียนจะเน่าและร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยว
โดยอาการเริ่มแรกจะพบเปลือกผลทุเรียนเกิดแผลจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลดำ
ต่อมาจุดแผลจะลุกลามขยายใหญ่ตามการสุกของผลทุเรียน
ถ้าสภาพอากาศมีความชื้นสูงอาจพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบริเวณแผล
ทำให้การส่งออกได้น้อยลง สาเหตุเกิดได้จากเชื้อราหลายชนิดแต่ส่วนมากจะเกิดจากเชื้อรา
Phytophthora palmivoraซึ่งเป็นโรคสำคัญที่สุดสำหรับ การป้องกัน-กำจัดโรคทุเรียนผลเน่า นั้น
สามารถทำได้โดยให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์ 1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา )
แซนโธไนท์ 2 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงทั้งบนใบ
และ ใต้ใบ ให้เปียกชุ่มโชก เพื่อทำลายหรือล้างสปอร์โรคเชื้อรา Phytophthora
palmivoraจากนั้นให้ฉีด ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม
ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง เพื่อควบคุมและกำจัดไม่ให้เชื้อรา Phytophthora
palmivora เกิดการระบาด ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ยังทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวัง
เชื้อรา Phytophthora palmivoraไม่ให้กลับเข้ามาในแปลงของเราได้อีกด้วย
ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้ใช้ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)
เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วจึงค่อยนำเชื้อใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากันประสิทธิภาพของม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ)ทำให้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ทำงานและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าทำลายเชื้อรา
Phytophthora palmivoraได้ดียิ่งขึ้น
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com