พริกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
พริกเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanacious สกุล Capsicum
ในประเทศไทยนิยมปลูกกันหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า เป็นต้น
พริกนั้นเป็นพืชที่ใช้ประกอบอาหารในทุกๆบ้าน ประกอบกับเป็นพืชที่ปลูกขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้พริกก็ยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งตัว
เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกสูงในแต่ละปี แต่ยังพบว่า โรคและแมลงของพริก
ต่างๆที่ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพราะพริกถ้ามีโรคและแมลงศัตรูทำลายแล้ว
มักให้ผลผลิตลดต่ำลง ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโตหรือตายไปก่อนที่จะให้ผลผลิต ซึ่งเกษตรกรบางท่าน
อาจรู้จักอาการของพริกที่ถูกทำลายว่าเกิดจากโรคหรือแมลงได้เป็นอย่างดี
แต่ยังไม่รู้ถึงสาเหตุจากการทำลายที่แท้จริงและการป้องกันกำจัดที่ถูกต้อง
แต่ถ้าเกษตรกร มีความรู้ในเรื่องนี้อยู่บ้าง
ก็จะช่วยลดปัญหาและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย เช่น โรคกุ้งแห้ง โรคราแป้ง
โรคเหี่ยวเขียว โรคเหี่ยวเหลือง โรคเน่าเปียก โรครากเน่าและโคนเน่า โรคใบจุดตากบ ฯลฯ
แต่วันนี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคกุ้งแห้ง โรคนี้เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าโรคแอนแทรคโนส
สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum dematium (Syd.) Bulter &
Bisby และ Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล
จากนั้นจะขยายวงกว้าเป็นรูปวงรี และแผลจะขยายได้กว้างอย่างไม่มีขอบเขต
ส่งผลให้พริกเน่า โรคนี้มักเกิดขึ้นได้ง่ายในฤดูที่มีฝนตกชุกหรือในแหล่งปลูกพริกที่ความชื้นสูง
ตลอดจนในแปลงพริกที่ปลูกแน่น และต้นพริกที่มีทรงพุ่มหนาทึบ ต้นเตี้ย
นอกจากนี้ในแปลงพริกที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ เช่น มีวัชพืชขึ้นหนาแน่นก็เกิดขึ้นได้
โดยเชื้อจะ ปลิวไปตามลม และตกค้างในดินหรือถูกชะล้างไปกับน้ำในเวลาฝนตกหรือรดนํ้า
บางทีอาจติดไปกับพวกแมลงต่าง ๆ ที่บินวนเวียนอยู่ภายในแปลงพริกก็ได้
นับว่าเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตพริกได้มากพอสมควรเพราะจะทำลายและระบาดมากในช่วงที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัดโรคกุ้งแห้ง ให้ทำการกำจัดวัชพืชอย่าให้เป็นที่สะสมของโรค – แมลง เก็บผลพริกที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลง
ให้นำไปทิ้งให้ไกลจากพื้นที่สวนปลูกพริก เพื่อป้องกันการลามของเชื้อรา จากนั้นให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์
1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา ) แซนโธไนท์ 2 ซีซี ต่อ น้ำ 20
ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงพริก ทั้งบนใบ และ ใต้ใบ
ให้เปียกชุ่มโชก เพื่อทำลายหรือล้างสปอร์โรคกุ้งแห้งจากนั้นให้ฉีด
ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม
ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงพริกทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง เพื่อควบคุมและกำจัดไม่ให้โรคกุ้งแห้ง เกิดการระบาดขึ้นอีกเพียงเท่านี้ผู้เขียนรับรองว่า
โรคกุ้งแห้ง จะค่อยๆหมดไปจากแปลงพริกอย่างแน่นอน
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com