วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของสารปรับปรุงดินอีกชนิดหนึ่ง แม้ว่าตัวนี้จะมีลักษณะเป็นสารที่ช่วยบำรุง ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องดินที่แตกต่างจากสารปรับปรุงดินที่เราคุ้นเคยก็ตาม ในทางวิชาการก็ยังเรียกว่าตัวนี้คือสารปรับปรุงดินนั่นเอง ตัวนี้คือจะช่วยในเรื่องของการทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ช่วยทำให้ต้นกล้า ไม่ว่าจะเป็นกล้ายาง กล้ามะม่วง กล้าทุเรียน กล้าไม้ต่างๆ สามารถที่จะทนต่อการขาดน้ำ หรือทนต่อสภาวะที่ไม่ต้องมาคอยดูแลเรื่องการจัดการรดน้ำได้ยาวนาน สารปรับปรุงดินตัวนี้ก็คือโพลิเมอร์ หรือ หลายคนจะเรียกว่าสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์
ช่วงหน้าแล้ง เดี๋ยวนี้แล้งยาวนาน แล้งซ้ำซาก ไม่มีน้ำเลย เราจะทำยังไงดำรงชีวิตอยู่ได้ สารอุ้มน้ำมีการใช้ในประเทศไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอีสานเขียว พื้นที่ภาคอีสานสมัยก่อนแล้งมาก แล้งยาวนาน ก็มีการใช้สารอุ้มน้ำแรกๆเลยในพื้นที่อีสานแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับอะไรมากมาย สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์หลายคนอาจจะผ่านหูผ่านตามาแล้ว เช่น ดินวิทยาศาสตร์ที่เขาใส่สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีแสด อะไรต่างๆแล้วก็ไปใส่ภาชนะใส พวกแก้ว ขวด โหล ปลูกไม้น้ำ ปลูกบัว ปลูกพลูด่างต่างๆ หลายคนก็เคยสัมผัส มีอยู่ในผ้าอ้อมเด็ก ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หรือเป็นผ้าอ้อมคนสูงวัยที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลา ส่วนของผู้หญิงเป็นรูปของผ้าอนามัย สิ่งต่างๆเหล่านี้มีส่วนประกอบของโพลิเมอร์อยู่ด้วยทั้งสิ้นเลย ทีนี้ก็เอามาส่งเสริมพัฒนาช่วยในเรื่องของการปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ก็คือในด้านการเกษตรนั่นเอง อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ การันตีว่าการใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ช่วยให้ต้นกล้ารอดตาย 99.99 % ซึ่งช่วยให้ต้นกล้าทนน้ำ ทนแดด ทนฝน ทนแล้งได้ยาวนานจริงๆ ของคนไทยคุณทัศนีย์ ทัศนะ ปี 2534 ใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ผสมกับพวกทราย พวกดินเหนียว พวกอินทรียวัตถุ อัตราส่วน 0.25 0.501 % ใช้กับพวกมะม่วงหิมพานต์ สะเดา ยางพารา เปรียบเทียบกับต้นที่ใส่กับไม่ใส่ ต้นที่ไม่ใส่ มะม่วง สะเดา ทนอยู่ได้ 11 วัน แต่กลุ่มที่ใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ 1 % ช่วยให้ต้นกล้าสามารถทนได้ถึง 93 วัน 3 เดือนกว่าโดยที่ไม่ต้องให้น้ำเลยนี่คือความมหัศจรรย์ของสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ ซึ่งตัวของเขาเองเป็นลักษณะของโครงสร้างคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีโครงสร้างสลับซับซ้อนเหมือนตะข่าย และสามารถดูดซับกักเก็บน้ำเข้ามาในตัวเองได้ถึง 400 บางชนิดบางเกรดได้ 800 เท่า การใช้งาน 800 เท่านี่คือมันเยอะมาก หมายความว่าเอาโพลิเมอร์มากำอยู่ในมือ 1 กำมือ ถ้าไปให้มันดูดน้ำ มันได้ 400-800 กำมือ ขยายตัว แต่ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเรา ส่วนใหญ่เราจะให้แค่ 2-400 เท่า ความจริงแล้วสามารถพองขยายตัวได้ค่อนข้างดี ในประเทศจีนก็มีการส่งออกมาที่บ้านเราเหมือนกัน สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ของจีนกระสอบสีน้ำตาลเป็นถุงกระดาษ ตอนแรกเข้ามาก็ราคาถูก ตีราคาของสหรัฐอเมริกาหรือ USA จีนพึ่งมาประมาณปี 47 48 ตอนแรกก็ได้รับความนิยมเยอะ บวม พอง ขยายใหญ่ แต่ปรากฏว่าเนื้อของสารอุ้มน้ำเขาผุ สลายได้ง่ายกว่าของสหรัฐอเมริกา ก็จะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือสารอุ้มน้ำของทางสหรัฐอเมริกาที่ครองตลาดมาอย่างยาวนานเขามีคุณภาพมาอย่างยาวนานใช้แล้วคุ้ม สมัยก่อนมีการเอาไปปลูกไม้สักทอง ไม้ยางพารา ปลูกกันทั่วประเทศ เวลาเศรษฐีเขาปลูกสักทอง ปลูกสะเดาช้าง หรือต้นเทียม ปลูกทีเป็น 100 ไร่ 1,000 ไร่ ซื้อต้นกล้าต้นละ 20 30 40 ตามเกรด สมัยก่อนก็มีกฤษณา ไม้หอมกฤษณา สะเดา ต้นเทียม เยอะแยะเหมือนกัน ประมาณปี 37 38 เรามีการอบรม การปลูกป่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ที่คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ก็บรรยายโดยท่านอ.ดีพร้อม ไชย์วงศ์เกียรติ ซื้อต้นกล้า ต้นละ 20 บาท 10,000 ต้นก็ 200,000 บาท 200,000 เอาไปปลูกอย่างทิ้งขว้าง ขุดหลุมเอาต้นกล้าปัก ต้นกล้าตายหมด ตายไป 50% เงินเป็น 100,000 บาท แต่พอเขารู้จักสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์มันช่วยให้ต้นกล้ารอดตาย 99.99% สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์เขามีลักษณะที่เป็นตะข่ายโครงสร้างแล้วก็มีโครงสร้างขนาดใหญ่ดูดน้ำเข้ามาในตัวเอง 2-4-800 เท่า การใช้งานใช้ได้ทั้งแบบคลุกผสม คลุกผสมกับดินปลูกหรือรองก้นหลุมปลูก มีงานวิจัยของคุณทัศนีย์ ถ้ารองก้นหลุมปลูกก็ดีกว่า ให้ประสิทธิภาพที่ชัดเจนและเหนือกว่าผสมดินปลูก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการใช้ทั้ง 2 วิธีก็มีประสิทธิภาพดีกว่าไม่ใช้ แต่สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์เพื่อนๆถ้ามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะว่าสารอุ้มน้ำมันคือตัวแทนของน้ำเอามาบริการ เอามาเผยแพร่ มาส่งเสริมให้เวลาเราว่างจากการทำไร่ไถนาอยากจะปลูกผักขายไม่มีน้ำ ต้องมีน้ำแบบจำกัด ตัวสารอุ้มน้ำตัวนี้จึงเป็นพระเอกขี่ม้าขาวคลุกผสมในแปลงปลูกผักไม่ต้องใช้น้ำเยอะ ในงานวิจัยของคุณทัศนีย์ ปี 34 บอกว่าขนาดต้นไม้ ต้นใหญ่ๆอย่าง พวกยางพารา มะม่วง พืชอื่นๆทนแล้งได้ 93 วัน พืชที่ทนได้ที่สุดโดยที่ไม่ต้องใช้สารอุ้มน้ำ ทนได้ 11 วัน เป็นยางพารา สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ตัวนี้ช่วยให้ต้นกล้ารอด ปลูกสักทอง ปลูกมะนาว ปลูกทุเรียน ปลูกปาล์ม ปลูกยาง ใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ 1 โล ถ้าใส่หลุมละครึ่งลิตร สมมุติว่า 1 กิโลกรัม ได้ 400 ลิตร ถ้าใส่หลุมละลิตรก็ 400 ต้น ใส่หลุมละครึ่งลิตรได้ 800 ต้น ซึ่งมีความประหยัดมีความคุ้มค่า แล้วในช่วงนี้เราเจอทั้งเอลนีโญ ลานีญา เอลนีโญคือความแห้งแล้ง ฝั่งของทะเล ฝั่งของเอเชียเรา คือ ตั้งแต่เหนือออสเตรเลียขึ้นมาเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคใต้ของไทย พอถ้าทางด้านนี้เราเป็นเอลนีโญ อีกฝั่งหนึ่งชิลี เปรู ของมหาสมุทรแอตแลนติกก็จะเจอกับลานีญาเจอฝนตก เจอดินถล่มทลายความแห้งแล้งที่มันไม่ตรงตามฤดูกาล ทำให้การปลูกพืชไร่ไม้ผลเรามีปัญหา ภาคใต้เจอความแห้งแล้งถึงขนาดเกิดไฟป่า ผมว่าเพื่อนๆเคยได้ยินอินโดนีเซียมีปัญหาเรื่องไฟและควันที่ปกคลุมอินโดนีเซียและลามมาตอนใต้ ในควันไฟก็มีสารเอสทีลีน ให้ผักผลไม้แก่เร็ว ผลไม้เสียหาย ถูก จำนวนมาก แต่ความแห้งแล้งนั้นถือว่าหนัก สวนทุเรียนภาคใต้ที่เจ้าของสวนไม่ดิ้นรน ปล่อยให้ทุเรียนยืนแล้งตาย 5-6 ปีที่ผ่านมาอันนี้เรื่องจริง คือไม่รู้จะทำยังไงแล้งจริงๆ แล้งแบบ 3-4 ปีติดต่อกัน เพราะฉะนั้นเพื่อนๆสามารถที่จะใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ 1 ลิตรไปแช่น้ำในตุ่ม ในถัง 200 ลิตร ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง หรือ 1 คืน เอามารองก้นหลุมปลูกก็ได้ ขุดหลุมลงไปลึก 50x50x50 ขุดเอาผิวดินด้านบนไว้ด้านหนึ่ง ผิวดินด้านล่างไว้ด้านหนึ่ง เวลาปลูกก็เอาดินด้านบนลองก้นหลุม ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ใส่หินแร่ภูเขาไฟ ใส่ตัวสูตรเสมอ ปุ๋ย 15-15-15 และใส่ตัววุ้นหรือโพลิเมอร์ไว้ด้านบน เอาต้นกล้าวางไว้บนโพลิเมอร์ และเอาดินชั้นล่างกลบไว้ด้านบนเพื่อให้มันสัมผัสกับอากาศอินทรียวัตถุด้านบนดินมันจะได้ดี เวลาต้นกล้าเขาฟื้นตัว 1 สัปดาห์ รากใหม่ออกมา เจอน้ำจากโพลิเมอร์หล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ต้นกล้าที่น้ำในลักษณะของเจล ของวุ้น ไม่ได้ท่วมจนปิดปากของรากหายใจไม่ออกอากาศอ็อกซิเจน ยังถ่ายเทได้สะดวก รากของต้นไม้รากใหม่ออกก็ได้ความชื้น ความเย็นจากโพลิเมอร์ไหลลงไปเจอปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อาหารสำเร็จรูป คนที่ทำออแกนิกส์ก็ไม่อยากใช้ก็ไม่เป็นไรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ก็เจอปุ๋ยอินทรีย์เจอหินแร่จากธรรมชาติภูเขาไฟ เจอหน้าดินชั้นบนที่อยู่ก้น ทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โตเร็วกว่าวิธีการอื่นๆที่ไม่ได้ทำแบบนี้ นี่คือข้อดีของสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com