ในบรรดาดอกไม้ที่หลายคนชื่นชอบที่นำช่วยเติมเต็มความสวยงามให้กับสวนเวอร์บีน่า(Verbena)หรือที่หลายคนเรียกเวอร์เวน(Vervain) ถือเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายด้วยลักษณะดอกที่สวยงามปลูกง่ายและยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจทั้งในด้านการประดับและการแพทย์โบราณ
โดยเวอร์บีน่าเป็นพืชวงศ์Verbenaceae ที่มีหลากหลายสปีชีส์ทั้งที่เป็นแบบพืชล้มลุก ไม้ล้มลุกยืนต้น หรือพืชดอกกึ่งไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่จะมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและอเมริกาซึ่งจุดเด่นของเวอร์บีน่าจะอยู่ที่ช่อดอกขนาดเล็กมีสีสันสดใสเช่น สีน้ำเงิน สีขาว สีชมพู และสีม่วง ใบเวอร์บีน่าจะเรียงตรงข้ามกัน เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว และในหลายสปีชีส์จะมีขนปกคลุม ลักษณะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน บางชนิดเป็นพุ่มสวยงาม บางชนิดเลื้อยคลุมดินได้อย่างน่าสนใจ ประโยชน์ของเวอร์บีน่านั้นนอกจากจะนำมาประดับไว้ในสวนแล้ว บางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาด้วยโยสมุนไพรและยาที่นำมาทำนั้นจะช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด รักษาบาดแผลและปัญหาผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจเช่นการกรน หอบหืดระบบทางเดินอาหารเช่นอาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ท้องผูก ระบบประสาท
ซึ่งเวอร์บีน่านั้นเป็นพืชที่ดูแลค่อนข้างง่ายและทนทานเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มทำสวน โดยการให้แสงแดดนั้นเวอร์บีน่าต้องการแดดจัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงหากได้รับแสงแดดน้อยเกินไปอาจทำให้ลำต้นยืดและออดอกน้อยลงดินในการปลูกเวอร์บีน่าต้องการดินที่ระบายน้ำได้ดี ดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีอินทรียวัตถุ
หากใครที่มีดินเป็นดินเหนียวสามารถที่จะใช้ตัวภูไมท์ซัลเฟตเหลืองเพื่อช่วยปรับปรุงดินให้มีความร่วนซุยอัตราการใช้นั้นจะอยู่ที่20 กิโลกรัม/พื้นที่ 1 ไร่ ในการให้น้ำก็เป็นปัจจัยสำคัญควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการให้น้ำที่มากเกินไปเนื่องจากอาจส่งให้เกิดน้ำขัง ดินชื้นซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า แต่สามารถที่จะป้องกันและกำจัดได้โดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า(อินดิวเซอร์)อัตราการใช้ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น
นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยก็จะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตสามารถใช้ภูไมท์ในการความแข็งแรงของต้น และออกสีของดอกให้มีสีสันที่น่าสนสีสดอัตราการใช้ 20 กิโลกรัม/พื้นที่ 1 ไร่ และใช้ควบคู่กับทีจีเอ อะมิโน ที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง ช่วยให้ต้นเวอร์บีน่ามีสีสันที่ช่วย ใบเขียว อัตราการใช้ 10 ซี.ซี./น้ำ 20 ลิตร เท่านี้ก็ได้ต้นเวอร์บีน่าที่มีสีสันสวยงามน่ามองอยู่ในสวนที่ปลูกแล้ว
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร


