เทคนิคการปลูกข่ารายได้ดี ฉบับไทยกรีนอะโกร
การปลูกข่าเป็นหนึ่งในวิธีการทำเกษตรแบบพอเพียงที่น่าสนใจ เพราะข่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีความต้องการในตลาดสูง และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรคนไหนสนใจที่จะปลูกข่าเพื่อสร้างรายได้ ลองมาดูเทคนิคและแนวทางในการปลูกข่าฉบับไทยกรีนอะโกรกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นทำไมต้องปลูกข่า?
เพราะว่าความต้องการของตลาด เนื่องจากข่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลายชนิด และยังใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา มีราคาที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงที่ข่าขาดตลาด และเนื่องด้วยข่าเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนักแต่ควรมีการจัดการในเรื่องการดูแลดินและการใส่ปุ๋ยในช่วงที่จะทำให้หัวข่าสมบูรณ์
เทคนิคในการปลูกข่าให้ได้ผลผลิตดี
การเตรียมดินที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข่าและผลผลิตที่ได้ ดินที่เหมาะสมจะช่วยให้ข่ามีรากที่แข็งแรง เจริญเติบโตได้ดี และให้หัวข่าที่สมบูรณ์ โดยขั้นตอนแรกต้องเริ่มจากการไถพรวนดินให้ละเอียดเพื่อทำลายวัชพืชและเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช เช่น โรคพืชที่พบบ่อยในข่ามักจะเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ชื้นและมีน้ำขัง ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเหล่านี้ โรคพืชที่พบบ่อยในข่า ได้แก่
โรครากเน่า: เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในข่า เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น ไรโซโทเนีย (Rhizoctonia) ไฟท็อปเทอร่า (Phytophthora) โรคนี้จะทำให้รากเน่าเปื่อย ทำให้พืชขาดน้ำและธาตุอาหาร ส่งผลให้ใบเหลือง เหี่ยว และตายในที่สุด
โรคใบจุด: เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบมีจุดสีน้ำตาลหรือดำ ขนาดและรูปร่างของจุดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา
โรคใบไหม้: เกิดจากเชื้อรา ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล เริ่มจากขอบใบแล้วค่อยๆ ลามเข้ามาด้านใน
โรคเหี่ยว: เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ใบเหี่ยวเฉา ลำต้นเป็นแผล และเน่าตาย
ลำดับต่อมาการปรับโครงสร้างดิน ส่วนสภาพเนื้อดินที่เหมาะกับการปลูกข่าโดยตรงจะเป็นดินร่วนซุยมีโครงสร้างดินโปร่ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้รากข่าเจริญเติบโตได้สะดวก ส่วนพื้นที่ดินร่วนป่นทรายก็เหมาะเช่นกันเนื่องจากมีการระบายน้ำที่ดี แต่ควรมีการปรับปรุงสภาพดินด้วย พูมิช ซัลเฟอร์ ในอัตราการใช้ 20 กก./ 1 ไร่ และไรซ์ สตอรองพลัส 25 กก./ 1 ไร่ ใส่เพื่อเสริมสร้างไม่ให้ข่าหัวเน่าและหัวไม่สมบูรณ์ หรือป้องกันโรคเน่าคอดินนั้นเองค่ะ
การดูแลข่าให้เจริญงอกงาม
การดูแลข่าให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่คุณใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ดังนี้ค่ะ
การรดน้ำ
- ความสม่ำเสมอ: รดน้ำข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ควรตรวจสอบความชื้นในดินอยู่เสมอ
- ปริมาณน้ำ: รดน้ำให้พอดี ไม่มากเกินไปหรือขาดเกินไป การรดน้ำมากเกินไปอาจทำให้รากเน่าได้
การใส่ปุ๋ย
- ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก: ปู๋ยอินทรีย์ ทีจีเอโกลด์ จะช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย และเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช
- ช่วงเวลาใส่ปุ๋ย: ใส่ปุ๋ยประมาณทุก 3-4 เดือน
การป้องกันโรคและแมลง
- โรครากเน่า: เกิดจากเชื้อรา ทำให้รากเน่าและตาย ( ป้องกันด้วยการนำไตรโคโดรม่า ฉีดพ่นตอนช่วง เช้า หรือ เย็น เพื่อยับยั้งและลดปัญหากการระบาดของโรค ปริมาณการใช้ 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร )
- โรคใบจุด: ทำให้ใบมีจุดสีน้ำตาลหรือดำ ( ป้องกันด้วยเชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส ฉีดพ่นตอนช่วง เช้า หรือ เย็น เพื่อยับยั้งและลดปัญหากการระบาดของโรค ปริมาณการใช้ 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร )
- วิธีป้องกัน: หมั่นตรวจสอบแปลงปลูก ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำส้มควันไม้ หรือยาสูบหมัก และสะเดา
การเก็บเกี่ยว
- ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว: ประมาณ 8-10 เดือนหลังปลูก
- วิธีการเก็บเกี่ยว: ขุดขึ้นมาทั้งต้น ตัดส่วนที่เน่าเสียออก
การปลูกข่าแบบพอเพียงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย