แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่อุดดมสมบูรณ์จะสามารถปลูกพืชผลได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
แต่ภัยแล้งที่ค่อนข้างยาวนาน 5-6 เดือน ทำให้พืชผลการเกษตรที่เพิ่งปลูกต้องตายเป็นจำนวนไม่น้อย
ทำให้ผู้ปลูกต้องเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นจำนวนไม่ใช่น้อย
ๆ นับตั้งแต่ค่าแรงปลูกซ่อม, ค่าพันธุ์พืชใหม่ ดังนั้น
เกษตรกรควรเตรียมตัวและวางแผนในเรื่องของการดูแลการให้น้ำแก่พืชผลที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนแหล่งน้ำให้ดี
วิธีการแก้ไขผู้เขียนได้แนะนำให้ใช้ สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์
ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโพลิเอคริลามายด์
ประกอบไปด้วยอนุพันธ์ของคาร์โบฮัยเดรทที่ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่บีบอัดทับซ้อนให้แน่นกันหลายๆ
ชั้น ทำให้มีคุณสมบัติในการดูด ซึมซับน้ำได้ดีและสามารถพองและขยายตัวได้มากถึง 200
ถึง 300 ร้อยเท่า (ขึ้นอยู่กับสภาพและค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ)
ทำให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้รองก้นหลุมปลูกพืช เช่น ไม้ป่า ไม้ยืนต้น ปาล์ม
ยางพารา ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ต้นกล้ามีโอกาสรอดสูง
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อต้นพันธุ์มาปลูกซ่อมแซมใหม่โพลิเมอร์
จะช่วยให้พืชมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอด 3-6 เดือนโดยไม่ต้องรดน้ำแต่อย่างใด
สำหรับพืชที่ปลูกไปแล้วและอาจจะอยู่ในช่วงที่กำลังขาดแคลนน้ำพอดีก็สามารถที่จะใช้ได้
โดยการขุดหลุมขนาดความลึกเท่ากับขนาดของปี๊ปไว้ด้านข้างทั้งสองด้าน
หลังจากนั้นนำโพลิเมอร์ที่แช่น้ำจนพองตัวดีแล้วมาเทใส่และกลบฝังให้เรียบร้อย จะช่วยให้พืชมีน้ำไว้ใช้ได้ตลอดสามถึงหกเดือนโดยไม่ต้องรดน้ำทุกวัน
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com