โรคแคงเกอร์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของพืชตระกูลส้ม รวมถึงมะกรูดของเราด้วย โรคนี้มักจะแสดงอาการให้เห็นชัดเจนบนใบ กิ่ง และผลของมะกรูด ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพลดลง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบแก้ไข อาจทำให้ต้นมะกรูดตายได้เลยทีเดียว การใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดโรคนี้แม้จะได้ผลรวดเร็ว แต่ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้บริโภค ดังนั้น การหันมาใช้สารชีวภัณฑ์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและยั่งยืน
อาการของโรคแคงเกอร์ในมะกรูด
• ใบ: จุดเล็กๆ: เริ่มแรกจะเห็นจุดเล็กๆ สีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอ่อนกระจายอยู่ทั่วใบ
แผลนูน: จุดเหล่านี้จะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นและนูนขึ้นมาทั้งสองด้านของใบ
วงแหวนสีเหลือง: รอบๆ แผลมักจะมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ
ใบเหลืองและร่วง: เมื่อโรคระบาดรุนแรง ใบจะเหลืองและร่วงก่อนกำหนด
• กิ่ง: แผลนูน: เกิดแผลนูนสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้มตามลำต้นและกิ่ง
แผลแตก: แผลเหล่านี้จะค่อยๆ แตกและขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เปลือกไม้แตกเป็นสะเก็ด
• ผล: จุดด่าง: เกิดจุดด่างสีน้ำตาลหรือดำบนผิวผล
แผลลึก: แผลจะค่อยๆ ลึกและขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ผลเสียรูปและเน่าเสีย
วิธีการรักษาและป้องกันโดยทั่งไปก็ต้องใช้สารเคมีที่ช่วยกำจัดพวกเชื่อราซึ่งส่งผลให้มีสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม
โดยมีอีกวิธีที่ไม่ต้องใช้สารเคมีก็ต้องใช้สารชีวะภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคสารชีวภัณฑ์ทที่แนะนำก็คือตัวไบโอเซนเซอร์หรือบาซิลลัสซับทิลิส ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคแคงเกอร์ ใช้ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นอาจจะสลับกับไตรโคเดอร์มาหรือร่วมกันก็ได้ มันจะช่วยทำให้แผลแคงเกอร์แห้ง แต่แผลเป็นก็ยังมีอยู่ แต่ไม่รุกลามไปใบใหม่ ใช้ร่วมกับซิลิสิคแอซิด มันจะทำให้เซลล์แข็งด้วยและเอาจุลินทรีย์ไปช่วยก็จะทำให้โรคแคงเกอร์ลดน้อยลงที่เราสามารถจะไปต่อกร ไปต่อสู้ได้ 80-90 % สำคัญคือการแก้ที่ปลายเหตุ ต้นเหตุคือเพื่อนๆต้องไปดู pH ของดินต้องอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ต้องทำพืชแข็งแรง คือต้องมีซิลิก้าจากพวกหินแร่ภูเขาไฟตัว พูมิช หรือ ภูไมท์ อยู่ในดินเพื่อให้พืชนำไปสร้างผนังเซลล์ให้มีความแข็งแรงมากขึ้นทำให้โรคและแมลงไม่เข้ามากวนต้นมะกรูดเราอีกต่อไป
บทความโดย นายสายชล ทองเศรษฐี
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด