วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องการย่อยสลายสสารหรืออินทรียวัตถุหรือแร่ธาตุต่างๆ ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วนั้นก็จะใช้วิถีของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่าจุลินทรีย์ เขาจะทำงานหรือเนื้อเรื่องจะเป็นยังไง เดี๋ยวเรามาพูดคุยบอกกล่าวเล่าสู่หรือเพื่อนๆที่มีข้อสงสัยก็สามารถที่จะพิมพ์กระทู้เข้ามาได้ เพื่อจะให้ได้เกิดประเด็น เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆเข้ามาให้เพื่อนๆของเราได้รับรู้รับทราบกัน วัตถุประสงค์จริงๆก็อยากให้เพื่อนๆนั้นมีทางเลือกไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในการที่จะแลกเปลี่ยนปรึกษาหารือกัน ในการที่จะสร้างครอบครัวเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ เป็นที่พักพิงถ้าเป็นกลุ่ม เป็นพลัง ก็เป็นพลังกลุ่มก้อนเล็กๆอีกกลุ่มหนึ่งที่ยืนหยัดว่าการทำเกษตรที่ไม่ใช้สารพิษนั้นสามารถทำได้จริงๆ
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของสสารหรือทั้งปวงย่อยสลายด้วยวิถีของจุลินทรีย์ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก หิน ซากพืช ซากสัตว์ สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถที่จะผันแปรไป สรีระ โครงสร้างจากโมเลกุลที่ใหญ่แล้วค่อยย่อยสลายเป็นเล็กๆลง จนกลายเป็นปุ๋ย ที่เหมาะสำหรับเกษตรกร ดังนั้นทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เราพยายามที่จะบอกว่าการที่เราสามารถผลิตจุลินทรีย์ด้วยลำแข้งของตัวเองได้โดยไม่ต้องซื้อ เพื่อเอามาย่อยสลายตอซังฟางข้าว อินทรียวัตถุ ดิน หิน แร่ต่างๆ ให้กลายเป็นดินที่ มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินดำ น้ำชุ่มได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีในการที่เราจะช่วยลดต้นทุนเหมือนที่ชาวเขา ชาวดอย ม้ง แม้ว เผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่เขาอาศัยอยู่ตามดอย ตามไร่ ตามเขา ตามป่า เขาสามารถที่จะปลูกพริก ปลูกบวบ มะระ ฟักแฟง แตงกวาต่างๆ แค่ถางป่าเปิดใหม่ แล้วก็หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ยังสามารถที่จะปลูกดูแล บำรุงรักษาพืชเหล่านั้นให้เจริญเติบโต เพราะว่าในป่ามีเศษกิ่งไม้ใบหญ้าที่ผุ พัง เหี่ยว แห้ง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนลงสู่พื้นดิน แล้วเมื่อลงมาสู่พื้นดิน มนุษย์มีการค้นพบวิจัยว่าตั้งแต่กำเนิดโลกขึ้นมาจากบิ๊กแบง แล้วก็มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ชื่อว่าจุลินทรีย์ พวกแบคทีเรีย ที่ใช้ออกซิเจน และ ไม่ใช้ออกซิเจน เขามีวิวัฒนาการย่อยพวก แร่ภูเขาไฟ หินดิบอัคนี จนพัฒนามาเป็นสิ่งมีชีวิต มาเป็นไดโนเสาร์ มาเป็นสัตว์ป่า มาเป็นลิง มาเป็นมนุษย์ ถ้าสังเกตเวลาเราไปเที่ยวน้ำตก ไปเที่ยวเขา ก็มีพวกพีท พวกมอส พวกตะไคร่ ขึ้นอยู่บนก้อนหินที่มีความชื้น หรือต้นไม้ที่ขึ้นบนหิน บนหน้าผา ต้นไม้ขึ้นบนหินได้แสดงว่า ในระบบรากตรงนั้นมีพวกมอส พวกตะไคร่ พวกจุลินทรีย์ แบคทีเรียที่ย่อยสลายหินต่างๆให้กลายเป็นอาหารของพืช ปุ๋ยอินทรีย์แพง เราต้องเตรียมอินทรียวัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและเติมจุลินทรีย์ เพราะ สสารต่างย่อยสลายด้วยอินทรีย์วิถีธรรมชาติได้ จุลินทรีย์ขี้ควาย ลองไปดูในยูทูปย้อนหลัง สามารถที่จะผลิตด้วยลำแข้งของตนเองโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแม้แต่บาทเดียว มีกากน้ำตาล มีมูลวัวมูลควายสัตว์เคี้ยวเอื้อง ถ้าจะให้เชื้อโรคมันน้อยก็เติมลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก สัตว์หมากาไก่ไม่ได้ ต้องสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องเช่น แพะ แกะ เก้ง กระจง จิ้งโจ้ ยีราฟ อูฐ สด 2 กิโลกรัม ผสมน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วก็ใช้กากน้ำตาล 10 ลิตร แป้งข้าวหมาก 1 ลูก เพื่อนๆจะได้จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟาง หญ้า ข้าว ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ทำไมต้องประเทศไทย เพราะว่าจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่งในบ้านใครบ้านมัน จุลินทรีย์ญี่ปุน ความจริงแล้วอีเอ็มต้องเก่งในญี่ปุ่น จุลินทรีย์ไทยก็ต้องเก่งในไทย จุลินทรีย์ที่ผลิตโดยคนไทย ลงสู่แปลงนาไทย แล้วในสัตว์เคี้ยวเอื้องมีกระเพาะ 4 กระเพาะ เรียกว่าสัตว์ 4 กระเพาะ มันมีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ย่อยพวกฟาง หญ้า เศษไม้ อินทรียวัตถุได้ดีที่สุด เขาเรียกว่าเซลลูโลส ลิกนิน เฮลมิเซลลูโลสของพืช จุลินทรีย์พวกนี้อยากให้เพื่อนทำไปราดโคน ราดดิน ราดโคนต้นไม้ ราดกองปุ๋ยหมัก ถ้าเป็นหินต้องใช้เวลาเป็น 5 ปี 10 ปี เป็นอินทรียวัตถุ เศษไม้ใบหญ้าก็ใช้ระยะเวลาไม่กี่เดือน แล้วก็ได้ปุ๋ย ปุ๋ยพวกนี้ไม่ได้บอกว่ามันมาแทนปุ๋ยเคมีได้เลยนะ เพียงแต่ว่ามันมาเติมเต็มช่วยลดต้นทุน จากแทนที่เราเคยใช้ปุ๋ยเคมี 100% ปุ๋ยเคมีไม่ได้เป็นอันตรายนะ เพียงแต่ว่ามันแพงมาก เพิ่มราคามากมันก็เอาปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาช่วยบ้าง ควรต้องทำธนาคารปุ๋ยหมักเก็บไว้มุมใดมุมหนึ่งของสวนหรือของไร่ เกี่ยวข้าว ตัดแต่งกิ่ง มะม่วง ลองกอง มังคุด เอามาหั่นสับบดย่อยให้มันชิ้นเล็กที่สุด กองทิ้งไว้ ราดด้วยจุลินทรีย์ขี้ควายหรือจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้อง ผ่านไปปี 2 ปี เปื่อย ผุ ย่อยสลาย ยิ่งกองใหญ่เท่ารถ 10 ล้อ เงินทั้งนั้นเลย ตันละ 1,000 1,500 2,000 มี 10 ตัน ก็มีเงินหลายหมื่น แต่ที่แน่ๆก็มาใช้ในสวนในแปลงของเรา เพราะจุลินทรีย์วิถีธรรมชาติ เราใช้จุลินทรีย์ที่เราผลิตเองใส่ไปในโคนต้น ใส่ลงไปในพืช ใส่ลงไปในบิล ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพได้หมดเลย มีข้าวสวย ข้าวสุก บวบ มะระ แตงกวา น้ำพริกกินเหลือก็เอามาผสมรวมกันตวงชั่งให้ได้ 3 ส่วน บวกกากน้ำตาล 1 ส่วน แล้วก็ใส่จุลินทรีย์เข้าไป 1 ส่วน อาจจะไม่ใช่ 1 ส่วน ถ้าเป็น 3 โล กากน้ำตาล 1 โล ใส่จุลินทรีย์เข้าไปแค่ 100 ซีซี ก็คือเศษ 1 ส่วน 10 ของกากน้ำตาล ถ้าเป็น 30 โล ก็กากน้ำตาล 10 โล แล้วใช้จุลินทรีย์ขี้ควายหรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง 1 ลิตร ปุ๋ยพวกนี้เอามาเติมเต็มในช่วงที่เราตัดแต่งกิ่งใหม่ๆ ปลูกใหม่ๆ ไม่ได้เน้นการติดดอกออกผลเพื่อลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยยูเรีย เพราะว่าเจ้าสัวทั้งกลายกำลังจะเพิ่มราคาปุ๋ยยูเรีย เพิ่มราคาข้าวสาร ไม่เพิ่มราคาข้าวเปลือกหรือเพิ่มราคาข้าวเปลือกตามข้าวสารไปแป๊บเดียว ราคาข้าวเปลือกลง แต่ราคาข้าวสารไม่ลง เราต้องหาสิ่งง่ายๆใกล้ตัวเอามาปรับเอามาใช้ คิดไม่ออกบอกไม่ถูกนึกเท่าไรก็ไม่ได้โทรหาฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com