0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ย่อยสลายฟางข้าวด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย สู่เกษตรกรรมยั่งยืน

การเกษตรสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในปัญหาที่เกษตรกรต้องเผชิญคือการจัดการกับฟางข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้หรือเผาทำลายจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสร้างฝุ่น PM2.5 การเผาฟางข้าวปล่อยควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ออกสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ และมะเร็งปอด ก๊าซพิษ: การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดก๊าซพิษ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และยังทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก การเผาไหม้ฟางข้าวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก สู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและลดความอุดมสมบูรณ์ของดิน

โดยวันนี้ผมก็พูดถึงจุลินทรีย์หน่อกล้วย: ผู้ช่วยในการย่อยสลายฟางข้าว จุลินทรีย์หน่อกล้วยเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลากหลาย เช่น ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงคุณภาพดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และช่วยป้องกันโรคพืชได้อีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบทบาทสำคัญในการเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ เมื่อนำจุลินทรีย์หน่อกล้วยมาใช้ร่วมกับฟางข้าว จะช่วยให้ฟางข้าวสลายตัวเร็วขึ้น กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจุลินทรีย์หน่อกล้วยมีวิธีการทำที่ไม่ยุงยากและเรียบง่ายเพียงแค่ขุดหน่อกล้วยต้นสมบูรณ์ที่ไม่เป็นโรคขนาดหน่อใบธงหรือใบหูกวาง สูงไม่เกิน 1 เมตร เอาเหง้าพร้อมรากให้มีดินติดรากมาด้วย 1-2 ช้อนแกง สับบดย่อยหรือโขลกทุกส่วนทั้งหมด ทั้งใบหยวกเหง้า และราก ให้ละเอียด โดยไม่ต้องล้างน้ำ แล้วนำมาคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเป็นน้ำหนัก หน่อกล้วย 3 ก.ก. ใช้กากน้ำตาล 1 ก.ก. ถ้าหน่อกล้วย 6 ก.ก. ต้องใช้กากน้ำตาล 2 ก.ก. เป็นต้น หมักในภาชนะพลาสติกมีฝาปิดในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้น คน เช้า-เย็น ทุกวัน จนครบ 7 วัน  แล้วคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้ เรียกน้ำหมักนี้ว่า จุลินทรีย์หน่อกล้วย เก็บไว้ใช้ได้นานเกิน 6 เดือน

วิธีการทำนาแบบไม่เผาฟาง ห้ามไถกลบฟาง เพราะจะเกิดเชื้อรามากมาย ให้ใช้หมักฟางด้วยจุลินทรีย์ ดังกล่าวข้างต้น ข้าวจะแข็งแรง แม้อายุข้าว 30 วัน ก็ยังเขียวสวยโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย โดยบปล่อยปากท่อ ไปตามน้ำเฉลี่ยไร่ละ 5 ลิตร ต่อไร่ แล้วหมักฟางทิ้งไว้ 5-7 วัน หรือจนกว่าฟางจะเปื่อยยุ่ย และย่ำหมักฟางต่อด้วยจุลินทรีย์หน่อกล้วย 5 ลิตร ต่อ ไร่ ต่ออีก 7 วัน  ก็สามารถทำเทือกหว่านข้าวได้เลย

บทความโดย     นายสายชล ทองเศรษฐี

                        ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr
×