เรื่องของปูนการเกษตร ปูนการเกษตรหลายคนยังแยกไม่ออกระหว่างปูน ปูนมาร์ล ปูนช็อก ปูนหินอ่อน ปูนเปลือกหอย ปูนโดโลไมท์ ปูนยิปซัม ปูนฟอสเฟต ปูนขาว ปูนก่อสร้าง ปูนเผาเยอะแยะมากมาย ปูนที่เราเอามาใช้ในการเกษตร ในด้านการเกษตร บางคนจะใช้อะไรดี วันนี้จะลองมาคุยกัน ส่วนใหญ่แล้วปูนที่ใช้ในการเกษตร จะแก้ในเรื่องของดินเปรี้ยว และปูนที่ใช้ในการเกษตร จะเอามาเติมในช่วงที่พืชมักจะขาดพวกแร่ธาตุแคลเซียม แล้วก็หลายคนที่คิดว่าผงฝุ่นที่คล้ายๆกัน อาจจะเรียกว่าเป็นปูนเกษตรหมด ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่นะครับ อาจจะมีบางอันที่เขาเรียกว่าซีโอไลท์ ซีโอไลท์เป็นหินแร่ภูเขาไฟ แตกต่างจากปูนโดยสิ้นเชิง ในหลายๆด้าน ส่วนปูนนั้นส่วนใหญ่คนที่เป็นเกษตรยุคเก่ามักจะใช้เป็นยาสามัญประจำบ้าน เรียกว่าพอจะขุดหลุมปลูกก็จะใส่ปูนพวกฟอสเฟต พวกโดโลไมท์ โดโลไมท์และฟอสเฟตเขาจะให้ธาตุนอกเหนือจากแคลเซียม แคลเซียมก็มีอยู่ในทุกปูนเป็นพื้นฐานหลัก แต่ถ้าเป็นโดโลไมท์เขาจะมีแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นมา และฟอสเฟตนี่นอกจากจะมีแคลเซียมเป็นพื้นหลัก ก็จะมีตัวฟอสฟอรัสขึ้นมาช่วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการที่เราจะใช้ปูน ต้องดูว่าปูนแต่ละชนิดนั้นเขาทำหน้าที่อะไร ถ้าดินเป็นเชื้อรา ใช้ปูนไม่ได้
ปูนไม่มีรายงานวิจัยในประเทศไทยว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ลองไปค้นดู ปูนทำไมเขาเอาปูนมา ปูนกินหมากมาป้ายตัดแต่งกิ่ง มาป้ายหน้ายาง ใส่ในบ่อหรือสระน้ำ คือความเชื่อของชาวบ้านก็คิดว่าฆ่าเชื้อ แต่จริงๆแล้วมันคือการเปลี่ยนสภาวะให้จุลินทรีย์หรือเชื้อรา โรคต่างๆเจริญเติบโตช้า ตัดแต่งกิ่งสมัยก่อนเราเอาปูนกินหมากป้ายทำให้จุลินทรีย์ไม่มาโตตรงนั้น หรือบางส่วนที่อ่อนแออาจจะตาย แต่ตายไม่หมด คือเขาก็ไม่ชอบเพราะว่ามันมีสภาวะเป็นด่างจึงไม่สามารถที่จะมาโตตรงบริเวณนั้นได้ ถ้าปูนฆ่าเชื้อโรคได้ ป่านนี้ก็ไม่ต้องนำเข้ายาฆ่าเชื้อรา ไม่ต้องนำเข้าคาเบดาซิม แมนโคเซต อะไรต่างๆที่ใช้การฆ่าเชื้อรา แต่ถ้าดินมีเชื้อโรคต้องใช้ไตรโคเดอร์มาหรือตัวบีเอสคือบาซิลลัสซับทิลิสเป็นการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักต่อเชื้อราโรคพืชด้วยกัน ก็คือเพิ่มให้มันมากกว่าเชื้อโรคในดิน หมั่นเติมไปปีละครั้ง 2 ครั้ง และหมั่นใส่อินทรียวัตถุอย่าใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าหนอน แมลง ไตรโคเดอร์มากับบีเอสมันก็จะโตและก็สะสมอยู่ในพื้นที่ มีมากเข้าโรคศัตรูที่ทำร้ายพืชต่างๆก็จะลดน้อยถอยลง ปูนใส่ไปถ้าจะใส่ให้เข้มข้นจนเชื้อโรคอยู่ไม่ได้หรือตายไปบางส่วน เดี๋ยวดินจะกลายเป็นดินด่าง ต้องอย่าลืมว่าดินที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ดูดกินปุ๋ย pH จะต้องเป็นกรดเล็กน้อยก็คือ 5.8 ถึง 6.3 เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ของการใช้ปูนต้องดินเปรี้ยวต่ำกว่า 5 ลงมา ก็ต้องมาทำความรู้จักหินปูน ก็คือพวกหินชั้น หินตะกอน ส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต แต่เวลาเขาดูปูนถ้าดูหินแร่ภูเขาไฟ ดูพวกภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต สเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ ม้อนท์โมริลโลไนท์ เขาจะดูค่า C.E.C C.E.C ย่อมาจาก Cation Exchange capacity ค่าความสามารถในการจับตรึงประจุบวกและลบ แต่ถ้าจะดูปูนเขาดู CCE หินภูเขาไฟเรียกว่า C.E.C แต่ถ้าจะดูปูนเขาดู C.C.E CCE คือ calcium carbonate equivalent คือตัวเทียบเท่า ในพวกหินปูนทั่วไป จะมีค่าอยู่ประมาณ 75-99% ค่า CCE สูงก็มีประโยชน์ในเรื่องของการเอาไปแก้ดินที่เปรี้ยว แล้วก็กลุ่มปูนอีกกลุ่มหนึ่งคือพวกคัลไซต์ คัลไซต์เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตเหมือนกัน เกิดอยู่ในธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่หินปูน หินอ่อน ช็อก ตัวนี้ค่า CCE จะอยู่ 60-100% แล้วก็มีปูนมาร์ล ปูนมาร์ลก็มีแคลเซียมคาร์บอเนต อันนี้ก็เล่าให้ฟังบ่อย แต่มีเนื้อของดินเหนียวอยู่ประมาณ 65% CCE เขาอยู่ประมาณ 91-92 กว่าๆหน่อย นี่คือพวกปูนมาร์ล แล้วก็เป็นพวกหินอ่อน หินอ่อนนี่ก็จะมีพวกผลึกคัลไซต์แล้วก็โดโลไมท์ปนอยู่ด้วย สมัยก่อนแถวสระบุรีเขาเลื่อยหินอ่อนขายเป็นแผ่นก็จะมีได้โดโลไมท์และคัลไซต์ ต่า CCEอยู่ 95-100 แล้วก็จะมีปูนเผาและปูนขาว และเปลือกหอยเผา ปูนเผาทั่วไปอาจจะมีแร่ธาตุสารอาหารน้อยกว่าปูนเปลือกหอย แต่มีแคลเซียมเป็นขาหลักอยู่เหมือนกัน แล้วก็มีพวกซิลิเกต ซิลิเกตเป็นพวกตะกรันเบสิคสแลค ตัวนี้จะมีค่า CCE อยู่ 67-71 ตัวนี้จะมีค่า CCE น้อย ส่วนโดโลไมท์กับฟอสเฟตมีค่า CCE อยู่ 95-108 แล้วพวกหินปูนป่น เปลือกหอยเผา ค่าCCE จะอยู่ที่ 104 ปูนขาว ปูนเผา อยู่ที่ 129 กับ 125 มีหินปูนบดเท่านั้นที่ 98 กับ ตะกรันเบสิคแสลคพวกซิลิเกตอยู่ประมาณ 60-70 น้อยที่สุด ตรงนี้ไม่ต้องไปจำ ให้รู้ว่าความสามารถแต่ละตัว อาจจะแตกต่างกันตรงที่เวลาการจะนำไปใช้ ผมว่าหลายคนไม่แน่ใจ ปูนขาวกับปูนโดโลไมท์ ฟอสเฟต ปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย มันใช้ดีไหม ถ้าถามว่าอะไรใช้แล้วได้ผลดีที่สุด ก็ต้องตอบว่าปูนเผากับปูนขาว ปูนขาวกับปูนเผาเขาทำปฏิกิริยากับพวก มันร้อนเอามือมากำไปจุ่มน้ำมือพอง ถ้ามีต้นไม้อยู่แล้ว มีไส้เดือน มีจุลินทรีย์ พวกนี้ไม่ควรใช้ปูนขาว ปูนขาว ปูนเผา ควรจะใช้ตอนที่เราไถตากดิน ไถดะ ตากดิน แล้วเอาปูนขาวถ้ามี ความแตกต่างก็คือมีอะไรก็ใช้อันนั้นแต่ให้พึ่งระลึกไว้นิดหนึ่งว่าปูนเผากับปูนขาวเขาร้อน เดี๋ยวระบบนิเวศไส้เดือน จุลินทรีย์ มันเจอแก๊สเจออะไรเข้าไปมันก็จะล้มหายตายจากง่ายเกินไปทำให้เราต้องมาฟื้นฟูบูรณะดินให้กลายเป็นดินดำน้ำชุ่ม แต่ถ้ามีเงินหน่อย ดินเป็นดินทราย ขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ เศรษฐีหน่อย เศรษฐีแบบพวกเรา หรือเศรษฐีเกษตรกรก็อยากจะแนะนำว่าเป็นปูนโดโลไมท์กับฟอสเฟต โดยเฉพาะดินที่ไม่มีอาหาร ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ พวกปลูกมัน ปลูกเผือก ปลูกข้าวโพด ปลูกไม่เคยหยุด ถ้าจะเป็นดินเปรี้ยว ใช้โดโลไมท์จะได้แมกนีเซียมเป็นธาตุรอง ฟอสเฟตได้แคลเซียมและก็ได้ฟอสฟอรัส เผือกก็จะหัวใหญ่ มันก็หัวใหญ่ พืชไร่ต่างๆก็ใช้พวกโดโลไมท์ ฟอสเฟต แล้วก็เป็นปูนที่ ซอฟ นุ่มนวล ต่อการใช้ในการเกษตร พูดชัดเจนแล้วว่าถ้ามีเงินหน่อยแบบเศรษฐีแบบเกษตรกรเราก็รู้กันอยู่ว่าเกษตรกรรวยยังไงก็รวยแบบนายทุนไม่ได้ เอาว่าซื้อไหวซื้อซื้อปูนดีๆหน่อย แต่ถ้ามันไม่มีจริงๆเราก็ใช้ปูนมาร์ลปูนเปลือกหอย หินปูนบด ปูนมาร์ลก็ได้ เมื่อกี้ปูนมาณ์ลบอกไปแล้วว่าค่า CCE:calcium carbonate equivalent อยู่ที่ประมาณ 60-70 ก็ใช้ได้ก็ใส่บ่อยหน่อย โดโลไมท์กับฟอสเฟตแก้ดินเปรี้ยวได้เท่ากัน ตัวที่แก้ดินเปรี้ยวคือความเป็นด่างหรือ CCE แต่ความแตกต่างของตัวนี้คือแมกนีเซียมจากโดโลไมท์ที่พูดไปเมื่อกี้นี้ กับฟอสฟอรัสจากฟอสเฟต ถ้าดินผมเปรี้ยวแล้วผมรู้ว่าระบบรากพืชของผมมีปัญหา รากหากินน้อย อาหารน้อย ฟอสฟอรัสในดินน้อย ผมจะใช้ฟอสเฟตเป็นตัวแก้ดินเปรี้ยว เพราะเอาแคลเซียมเหมือนกัน โดโลไมท์คือแคลเซียมคาร์บอเนต ฟอสเฟตคือแคลเซียมฟอสเฟต ได้ฟอสฟอรัส ฟอสฟอริกแอซิด แต่ถ้าดินของผมปลูกไปแล้ว เปรี้ยวแล้วใบพืชผมซีดจาง คลอโรฟิลด์สีเขียวน้อย ผมจะใช้โดโลไมท์เพื่อแก้ดินเปรี้ยวแล้วอาศัยตัวแมกนีเซียม เขาเรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว ทำให้ใบเขียวเข้มเพราะพืชต้องสังเคราะห์แสง ต้องการคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมารวมตัวกับอ๊อกซิเจนกับน้ำที่รากพืชดึงขึ้นมาเพื่อสร้างโครงสร้างหลักของคาร์โบไฮเดรตที่เรียกว่าสตัคโทรอล คาร์โบไฮเดรต และพัฒนาไปเป็นเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส และกรดอินทรีย์เอ็นไซม์ ย้ำย่อย ไขมัน ไขน้ำอะไรต่างๆ กรดอินทรีย์ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ เพราะฉะนั้นความเขียวจากโดโลไมท์จึงเป็นที่นิยม อันนี้คือเทคนิคและวิธีการว่าเราจะใช้ปูนยังไงให้มันคุ้มค่า ปูนต้องรู้ไว้เลยว่าวัตถุประสงค์หลักคือใช้แก้ดินเปรี้ยว แต่ถ้าจะมาใช้เพื่อเป็นสารอาหาร ถ้าในสมัยโบราณ สมัยปู่ย่าตายาย 30 กว่าปี หนุ่มสาวสมัย 30 40 ปี ยังขี่จักรยานไปเที่ยว เดินไปเที่ยวต่างจังหวัด คือมีฟอสเฟตก็เหมือนเป็นสวรรค์แล้ว เอามารองก้นหลุม เพิ่มราก แต่ในยุคปัจจุบันเราจะเอาฟอสฟอรัสจากฟอสเฟต เอาแมกนีเซียม เอาแคลเซียมมาแล้วดินมันสวยอยู่แล้ว คือ pH เป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยไปหวังฟอสฟอรัสจากพวกนี้มามันจะทำให้ดินด่าง พอดินด่างสะสมไปเป็นปี 2 ปี โดยไม่รู้ตัว ไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจพอ ต้องไปเสียเงินแก้ดินด่างลงไปอีก เสียเงินแล้วเสียอีก เสียเงินน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายไม่แนะนำ ถ้าต้องการฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมริบดินัม นิกเกิล ซิลิก้า นู่นเลย ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง ต้องข้ามไปหาหินแร่ภูเขาไฟ จะได้หมดปัญหาเรื่องปูนหรือความเป็นด่าง เพราะฉะนั้นโดยรวม ปูนใช้ได้ทุกชนิดเอาไว้แก้ดินเปรี้ยว ปูนขาว ปูนเผามันร้อนเอาไว้ปรับตอนไถดะตากแดด ไม่มีต้นพืชอยู่ ปูนโดโลไมท์เอาไว้แก้ดินเปรี้ยวเอาแมกนีเซียม ฟอสเฟตแก้ดินเปรี้ยวเอาฟอสฟอรัสเพิ่มราก ปูนใช้ได้ทั้งปูนมาร์ล ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ ฟอสเฟต ปูนคัลไซต์ ปูนขี้เลื่อยหินอ่อน หินปูนบด หินฝุ่น ใช้ได้หมด คอนกรีตห้ามใช้ ปูนซีเมนต์ ใช้แล้วเดี๋ยวดินแข็งเกิน พูดไปพูดมาเหมือนมีอีกตัวแล้วยิปซัมละ ยิปซัมเป็นปูนผ่าเหล่า ถ้าเป็นยิปซัมที่เป็น บายโพดัคการผลิตปุ๋ยแห่งชาติด้วย ที่เขาเอามาสกัดพวกฟอสเฟลิกแอซิด กลายเป็นฟอสโฟยิปซัม ก็จะมี pH ต่ำ แต่โดยธรรมชาติแคลเซียมซัลเฟต ซัลเฟตเป็นกรดตัวรนี้โดยปกติแล้วก็จะใช้ในการแก้ดินด่างเป็นปูนที่ผ่าเหล่าผ่ากอ
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com