จัดเป็นธัญพืชที่สำคัญที่สุดในด้านการโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์โดยข้าวนั้นจะพบมากในทวีปเอเชียซึ่งข้าวเป็นธัญพืชที่มีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลกโดยรองจากข้าวสาลีและข้าวโพดเมื่อแบ่งข้าวตามลักษณะของเมล็ดนั้นจะแบ่งได้ 2 ประเภท 1.ข้าวเจ้า 2.ข้าวเหนียว ซึ่งแตกต่างกันที่เนื้อของเมล็ดโดยเมล็ดข้าวเจ้านั้นจะประกอบด้วยแป้งอมิโลส 15-30% ส่วนข้าวเหนียวนั้นจะประกอบด้วยแป้งอมิโลเพคตินเป็นส่วนใหญ่และมีแป้งอมิโลสเพียง 5-7% เท่านั้น ซึ่งการปลูกข้าวนั้นสามารถปลูกตามสภาพพื้นที่เพาะปลูกได้ดังนี้ 1. ข้าวไร่เป็นข้าวที่สามารถปลูกได้ทั้งที่ราบและพื้นที่ลาดชันโดยไม่ต้องทำคันนากักเก็บน้ำ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในบริเวณที่ราบสูงตามไหล่เขาทางแถบภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคอีสาน คิดเป็นเนื้อที่ 10% ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วไทย2. ข้าวนาสวนหรือนาดำ เป็นข้าวที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว โดยสามารถรักษาระดับน้ำได้และระดับน้ำไม่สูงเกิน 1 ม.การปลูกข้าวนาสวนนิยมปลูกกันแทบทุกภาคของประเทศซึ่งคิดเป็น 80%ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วไทย3. ข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมือง เป็นข้าวที่ปลูกในแหล่สน้ำที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำในบางครั้งอาจมีระดับน้ำสูงกว่า 1 ม.จึงต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่าข้าวลอย ปลูกมากในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี พิจิตร อ่างทอง ขัยนาท ลพบุรี และ สิงห์บุรี ซึ่งคิดเป็น 10%ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศไทย
โดยพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้นมี 12 พันธุ์1.ข้าวหอมมะลิ 105 มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตยเป็นข้าวที่ไทยส่งออกจนเป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยข้าวพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงมาจากข้าวขาวดอกมะลิ ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์นี้คือเมื่อหุงข้าวจะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน2.ข้ามหอมมะลิทุ่งกุลา เป็นข้าวที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลกนั้นคือ ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว และ เมล็ดไม่มีหางข้าว เมื่อเมล็ดข้าวผ่านการสีจะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงข้าวจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม3.ข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6ลักษณะข้าวพันธุ์จะเมล็ดเรียวยาว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง ได้รับการปรับปรุงมาจากพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไปหุงจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้งเป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง นิยมปลูกกันในแถบภาคเหนือและภาคอีสาน4.ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ กิ่งอำเภอนาในจังหวัดกาฬสินธุ์เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อยจึงส่งผลให้มีความนุ่มและหอมเมื่อหุงจะนุ่มหอม ไม่แฉะติดมือ5.ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว ทนทานต่อโรคเมื่อหุงเสร็จเม็ดข้าวจะเรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวน่ารับประทาน จึงนิยมนำมาใช้ในการทำข้าวเหนียวมูน นิยมปลูกกันในแถบภาคเหนือแถวจังหวัดเชียงราย6.ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ เมล็ดข้าวจะมีสีม่วงดำ เมล็ดข้าวค่อนข้างแข็ง เคี้ยวยากจึงนิยมนำไปเป็นขนมหวานและขาวนามีความเชื่อกับข้าวพันธุ์นี้ว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตการเก็บเกี่ยวดี นอกจากนี้ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเรสเตอรอล และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของโรคมะเร็ง7.ข้าวเหลืองประทิวชุมพร เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอประทิว จังหวัดชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในนาปี เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมมีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และ ปลูกในดินเปรี้ยวได้ดีทนทานต่อโรคและแมลง ลักษณะของเมล็ดจะมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว น้ำหนักเมล็ดดี ชาวนานิยมปลูกเพราะปลูกง่ายได้ผลผลิตดี8.ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสะบุรี เมื่อนำไปหุงข้าวจะไม่แข็งกระด้าง ไม่บูง่ายและไม่ยุบตัวเมื่อราดแกงสามารถนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี9.ข้าวกล้อง หรือที่เรียกติดปากว่าข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วยเสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3-7 เท่า ดังนั้นเวลี่เรากินข้าวกล้องจะได้เส้นใยและสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรูสึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวขาว10.ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นผลงานการปรับปรุงข้าวระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ ทำให้มีลักษณะเรียวยาวผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีม่วงเมื่อสุกจะมีกลิ่นหอมที่มีลักษณะเฉพาะตัว เนื้อเหนียวนุ่ม 11.ข้าวมันปู มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าวมีสีแดงแบบมันปูจัดเป็นข้าวกล้องชนิดหนึ่ง เมื่อหุงสุกจะมีสีชมพูอ่อน กลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะใช้ประกอบอาหารต่างๆได้อร่อยเช่น ข้าวผัด ข้าวอบ โจ๊ก12.ข้าวสังข์หยดพัทลุง ต้นกำเนิดมาจากพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียวเยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้มเมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งและโรคที่ต้องระวังในการปลูกข้าวได้แก่ 1.โรคไหม้ข้าว เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae.ลักษณะของโรคโดยในระยะกล้า:ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลอยู่ที่ 2-5 มม. และยาวประมาณ 10-15 มม. โดยแผลสามารถลุกลามและกระจายทั่วบริเวณ ถ้าโรคนี้รุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย ในระยะแตกกอ:สามารถพบได้ที่ใบ ข้อต่อใบ ข้อต่อลำต้น ขยาดแผลจะใหญ่กว่าระยะกล้า โดยแผลจะลุกลามตืดต่อกันบริเวณข้อต่อ และ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ หลุดออกจากกาบใบและระยะออกรวง : ถ้าข้าวพึ่งให้รวงถูกเชื้อราเข่ทำลาย เมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวใกล้แก่หรือใกล้เก็บเกี่ยวจะพบรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ซึ่งจะทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายการแพร่ระบาดระบาดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พบในสภาพพื้นที่แห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน มีน้ำค้างยาวนาน อากาศค่อนข้างเย็นประมาณ 22-25 องศา และหากมีลมแรงก็จะทำให้โรคแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว 2.โรคขอบใบแห้ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al. สามารถแพร่กระจายโรคไปกับน้ำได้ พบในสภาพที่มีอากาศที่มีความชื้นสูง มีฝนตกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลมพัดแรง ลักษณะของโรคในระยะกล้า:โดยต้นกล้าจะมีจุดอยู่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และ จากใบสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาระยะแตกกอ:จะมีรอยช้ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง โดยที่แผลจะมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสน ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด และขยายไปตามความยาวของใบ เมื่อเป็นแผลนานๆจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ขอบแห้งและม้วนตามความยาว และถ้าต้นข้าวอ่อนแอจะทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตันส่งผลให้ต้นเหี่ยวเฉาและแห้งตายสามารถแก้ไขโรคดังกล่าวด้วยการใช้ไบโอเซนเซอร์ โดยใช้ไบโอเซนเซอร์ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ไบโอเซนเซอร์สามารถขยายเชื้อได้ด้วยการเตรียม 1.นมUHTรสหวาน 1กล่อง หรือจะใช้ มะพร้าวอ่อน 1 ลูก 2.ไบโอเซนเซอร์ 5 กรัม วิธีการขยายเชื้อโดยใช้นมUHTรสหวาน 1.เทนมใส่ขวด จากนั้นใส่เชื้อไบโอเซนเซอร์ 5 กรัมลง ไป เขย่าให้เข้ากัน 2.บ่มทิ้งไว้เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง หากใครใช้มะพร้าวอ่อนในการขยายเชื้อ สามารถทำได้โดยการเฉาะเปิดฝาจากนั้นใส่เชื้อแบคเทียร์ลง 5 กรัม ปิดฝา แล้วบ่มทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง เมื่อบ่มทิ้งไว้ครบ24-48 ชั่วโมงแล้วหากจะเอามาใช้ให้ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนไร่ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด