ปลูกทุเรียนยังไงให้รอด
เชื่อว่าในเวลานี้คงไม่มีพืชผลชนิดไหนจะมาแรงได้เท่ากับทุเรียนอีกแล้ว ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจหลักของประเทศ มีรสสัมผัสที่ใครหลายๆ คนต่างหลงใหล แต่ด้วยราคาที่แพง และแพงมากทำให้หลายๆ คน มีความต้องการที่จะปลูกทุเรียนไว้ทานเองที่บ้าน หรือปลูกเพื่อขายเป็นอาชีพ แต่ปลูกยังไงก็ไม่รอด ปลูกยังไงก็ไม่โตสักที วันนี้เรามีเทคนิกดีๆ ที่อยากจะมาแนะนำ
ทุเรียน Durio zibethinus เป็นไม้ยืนต้นที่มีศัตรูตัวฉกาจเป็นเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytopthora) สามารถเกิดได้กับทุกๆ ส่วน ทุกๆ ระยะของการเจริญเติบโตในทุเรียน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องการปลูกทุเรียนยังไงให้รอดและสามารถป้องกันกำจัดเชื้อราตัวนี้ได้ อันดับแรกการเลือกต้นพันธุ์ทุเรียน ต้นทุเรียนจะต้องไม่มีโรค ต้นไม่แคระแกรน ใบใหญ่สมบูรณ์ เมื่อได้ต้นพันธุ์ที่ดีแล้วจากนั้นเรามาดูในเรื่องของการปลูก ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำแต่ไม่ชอบให้น้ำขัง แฉะ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ ควรปลูกในที่ที่เป็นโคกเพื่อกันน้ำขัง หากในพื้นที่ที่จะปลูกเป็นที่ลุ่ม เสี่ยงต่อการมีน้ำขัง ให้ทำโคกปลูกต้นทุเรียน ควรเตรียมและปรับปรุงดินไว้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ โดยใช้ “Zeo Gold ภูไมท์-ซัลเฟต (เหลือง)” มาช่วยปรับสภาพดินในการเตรียมดินปลูก ให้ดินมีความสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินจะร่วนซุยอุ้มน้ำได้ดี มีซิลิก้าที่ช่วยให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรงลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง วิธีปลูก 1.การขุดหลุมปลูก ไม่ต้องขุดหลุมใหญ่ ขุดหลุมกว้างกว่าถุงเพาะต้นทุเรียนเล็กน้อย ให้ความลึกอยู่พอดีกับดินที่มากับต้นทุเรียน จากนั้นใช้ “อินดิวเซอร์” หรือก็คือเชื้อไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมเพื่อกันเชื้อรา ก่อนนำต้นทุเรียนลงหลุมให้สังเกตรากให้ดี หากต้นทุเรียนมีรากขดอยู่ให้ติดทิ้ง เพราะอาจทำให้เกิดอาการรากขดหรืออาการนั่งแท่นในต้นทุเรียน ทำให้ทุเรียนไม่โต แคระแกรน เมื่อนำต้นทุเรียนลงหลุมให้ทำการแผ่กระจายรากฝอยรอบๆ ดินปลูกออกเล็กน้อย เพื่อให้รากฝอยสามารถชอนไชหาอาหารได้ง่ายขึ้น จากนั้นกลบดินให้เสมอกับดินที่มากับถุงปลูกทุเรียน เพราะระบบรากของทุเรียนจะเป็นแบบรากลอย (รากฝอย) สำหรับหาอาหาร ดูดซึมน้ำ ธาตุอาหาร และเพื่อระบายอากาศ ช่วยลดอัตราการเกิดเชื้อราได้ และไม่ต้องกดดินให้แน่น และวิธีที่ 2 การปลูกโดยไม่ต้องขุดหลุม ให้นำดินมาวางพูนไว้คล้ายๆ ลูกซาลาเปา แล้วทำแอ่งตรงกลางสำหรับปลูกทุเรียน จากนั้นทำเหมือนวิธีที่ 1 หลังปลูกเสร็จแล้วใช้ “โพแทสเซียมฮิวเมท (Potassium Huemate)” ผสมน้ำรดโคนต้นให้ชุ่ม จะช่วยในเรื่องการระบายน้ำและช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก รากแผ่ขยายได้ง่าย ใช้ทุกๆ 7 วันเป็นเวลา 1 เดือน รวมถึง อินดิวเซอร์ ที่ช่วยในเรื่องการป้องกันกำจัดเชื้อราต่างๆ
อัตราการใช้
- Zeo Gold ภูไมท์-ซัลเฟต (เหลือง)” ใช้ 0.1-1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
- อินดิวเซอร์ ใช้ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- โพแทสเซียมฮิวเมท ใช้ 3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวคนึงนิจ หอมหวล
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด