โดยปกติการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนนั้น จะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ จึงทำให้แมลงสามารถสร้างความต้านทานได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อเกษตรกรมีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงลงในแปลง จะมีแมลงอยู่บางส่วนที่มีการรอดชีวิตเนื่องด้วยความแข็งแรงในตัวแมลง หรือ อาจจะมีการหลบยาฆ่าแมลงทันหรือสัมผัสเพียงเล็กน้อย หรือแมลงสามารถสลายพิษเองได้ทัน และเมื่อมีการพ่นสารฆ่าแมลงชนิดเดิมเพื่อกำจัดอีกครั้งแมลงที่เคยรอดชีวิตจากสารฆ่าแมลงเดิมก็จะมะภูมิต้านทานและยังสามารถถ่ายทอดภูมิต้านทานนี้ไปสู่รุ่นลูกได้ จึงทำให้แมลงรุ่นลูกทนทานสารฆ่าแมลงได้ดีและเกิดการระบาดอย่างรุนแรง แมลงนั้นมีการสร้างกลไกต้านทานต่อสารฆ่าแมลงหลายรูปแบบ คือ 1.กลไกทางพฤติกรรม คือ โดยธรมชาติแมลงมักจะมีสัญชาตญาณในการรับรู้ถึงความอันตราย เช่นแมลงจะไม่กินใบไม้ที่มีการเคลือบด้วยสารฆ่าแมลง หรือการหลบลงใต้ใบพืชขณะมีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง ทำให้แมลงเหล่านี้รอดชีวิตเพราะได้รับสารเคมีในปริมาณที่น้อย 2.กลไกการป้องกันการซึมผ่าน คือ แมลงที่มีภูมิต้านทานจะดูดซึมสารพิษได้ช้ากว่าแมลงที่ไม่มีภูมิต้านทานหรือแมลงที่อ่อนแอ เนื่องจากผนังลำตัวชั้นนอกของแมลงจะมีไขเคลือบเพื่อป้องกันสารรฆ่าแมลงซึมผ่าน นั้นจึงทำให้แมลงที่มีภูมิต้านทานนั้นมีผนังชั้นนอกหนา 3.กลไกการย่อยสลายสารพิษ แมลงที่มีภูมิต้านทานจะมีความสามารถในการย่อยสลายหรือลดความเป็นพิษของสารฆ่าแมลงได้ดีกว่าแมลงที่ไม่มีภูมิต้านทาน โดยในแมลงที่มีภูมิต้านทานจะมีเอนไซม์ที่สามารถสลายพิษได้หลายตัว เช่น esterases, oxidases และ Glutathione transferases (GSTs) ซึ่งถ้าเอนไซม์เหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แมลงก็จะได้รับสารพิษจากสารฆ่าแมลงน้อยมาก 4.กลไกการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการออกฤทธิ์ การที่แมลงเปลี่ยนหน้าที่ของเอนไซม์ ทำมห้ลดความว่องไวในการจับสารฆ่าแมลง มีการออกฤทธิ์ต่อแมลงช้าลงจึงทำให้เอนไซม์ต่างๆที่มีหน้าที่สลายพิษสามารถทำลายพิษ ได้ก่อนการเกิดพิษกับตัวแมลง และส่วนใหญ่สรฆ่าแมลงจะเน้นการทำลายที่ประสาท จากที่กล่าวมานี้แมลงจึงดื้อสารฆ่าแมลงได้ง่ายกว่าสารชีวภัณฑ์ สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดแมลงนั้นจะซับซ้อนจึงทำให้แมลงสร้างสารภูมิต้านทานต่อสารชีวภัณฑ์ได้ยากเนื่องจากสารชีวภัณฑ์ที่มีการปราบแมลงนั้น สปอร์นั้นต้องเกาะที่ผิวหนังแมลงจากนั้นจะทำการงอกเข้าไปในลำตัวของแมลงและใช้สารอาหารในลำตัวนั้นเป็นแหล่งอาหารแต่ขณะเดี่ยวกันก็มีการสร้างกลไกที่ซับซ้อนมากมายไม่ว่าจะเป็นการแบ่งตัวเพื่อปริมาณ การเข้าไปแย่งอาหาร การเข้าไปทำลายระบบต่างๆในแมลง ทำให้แมลงนั้นสร้างกลไกที่จะสร้างภูมิต้านทานต้อสารชีวภัณฑ์ได้ยาก กลไกการเข้าทำลายของแมลง
1.เมื่อฉีดพ่นสารจะโดนที่ผิวของแมลง สปอร์เชื้อจะงอกเข้าไปตัวแมลงภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งภายในแมลงจะมีสารอาหารในการเจริญเติบโตและการแบ่งตัว
2.ลักษณะที่ทำให้รู้ว่าเชื้อเริ่มมีการแบ่งตัวคือบนตัวของแมลงจะมีสปอร์สีขาวปกคลุม จากนั้นแมลงจะค่อยๆอ่อนแรงและตายในที่สุด
3.จากนั้นเชื้อจะใช้ร่างของแมลงในการงอกเส้นใยและสปอร์เพื่อแพร่กระจายไปยังแมลงตัวอื่น
และจุดเด่นของสารชีวภัณฑ์นั้นคือปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต เพราะว่าโดยปกติสารชีวภัณฑ์นั้นจะเจริญเติบโตอยู่ไม่เกิน30 องศา แต่ร่างกายของคนเรานั้นอยู่ที่ 37 องศาจึงไม่เป็นอันตรายและ สารชีวภัณฑ์ที่กำจัดแมลงแสดงว่ามันต้องใช้สารอาหารที่อยู่ในแมลงเป็นแหล่งอาหาร สารอาหารที่อยู่ในคนจึงไม่ตอบโจทย์ต่อการเจริญเติบโตของสารชีวภัณฑ์ โดยสารชีวภัณฑ์ที่กำจัดแมลงของทางเราจะมีอยู่ 3 ตัวคือ แบคเทียร์ บูเวเรีย ฟอร์แทรน
1.แบคเทียร์ กำจัดหนอนต่างๆเช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนหลอดหอม หนอนคืบกะหล่ำ จะใช้ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนแบคเทียร์สามารถขยายเชื้อได้ด้วยการเตรียม 1.นมUHTรสหวาน 1กล่อง หรือจะใช้ มะพร้าวอ่อน 1 ลูก 2.แบคเทียร์ 5 กรัม วิธีการขยายเชื้อโดยใช้นมUHTรสหวาน 1.เทนมใส่ขวด จากนั้นใส่เชื้อแบคเทียร์ 5 กรัมลง ไป เขย่าให้เข้ากัน 2.บ่มทิ้งไว้เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง หากใครใช้มะพร้าวอ่อนในการขยายเชื้อ สามารถทำได้โดยการเฉาะเปิดฝาจากนั้นใส่เชื้อแบคเทียร์ลง 5 กรัม ปิดฝา แล้วบ่มทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง เมื่อบ่มทิ้งไว้ครบ24-48 ชั่วโมงแล้วหากจะเอามาใช้ให้ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อน
2.บูเวเรีย ปราบแมลงปีกอ่อน เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ ไรแดงเพลี้ยอ่อน โดยจะใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อน
3.ฟอร์แทรน กำจัดแมลงปีกแข็ง เช่น ปลวก เพลี้ยกระโด เพลี้ยจักจั่น ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว โดยเราจะใช้ ฟอร์แทรน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อน
ตัวบูเวเรียและฟอร์แทรน มีวิธีการขยายเชื้อที่เหมือนกันโดยของที่ต้องเตรียม 1. น้ำสะอาด 20 ลิตร 2. แป้งข้าวโพด(แป้งมัน แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว) 0.5 กิโลกรัม 3.เชื้อที่ต้องการขยาย 100 กรัม วิธีการขยาย 1.นำน้ำผสมกับแป้งข้าวโพด ผสมให้เข้ากัน นำไปต้มเคี่ยวจนเดือด 15- 20 นาที ให้น้ำมีลักษณะคล้ายน้ำราดหน้า จากนั้นตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น 2. ใส่เชื้อที่ต้องการขยายลงไป 100 กรัม 3. ปิดฝาบ่มทิ้งไว้ 3-7 วัน รอจนเชื้อเดินเต็มผิวหน้า เมื่อบ่มครบ 3-7 วัน แล้วหากจะนำมาใช้ให้ใช้ในอัตรา 100 ซีซีหรือ 6 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด
Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://youtube.com/@thaigreenagro-tga847
เพจ Facebook: https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq