บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพรพืชนั้นจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและการออกดอก ออกผล ซึ่งธาตุที่นำมาใช้มั้งหมด 16 ธาตุ โดยมี 3 ธาตุที่พืชสามารถได้มาจากอากาศและน้ำ ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน และ ไฮโดรเจน ธาตุเหล่านี้ได้มาจากการผุผังสลายตัวของส่วนที่เป็นอนินทรีย์วัตถุและอินทรีย์วัตถุในดิน โดยเราสามารถแบ่งความต้องการของพืชในการใช้ธาตุได้ 2 กลุ่ม คือ มหธาตุและจุลธาตุ
วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมที่พืชนำมาใช้ โดยธาตุอาหารเสริมนั้นพืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยแต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ ซึ่งมีอยู่ 7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส โบรอน โมลิบดินัม ทองแดง สังกะสี คลอรีน โดยธาตุอาหารรองทั้ง 7 ธาตุ นี้มีลักษณะหน้าที่ที่แตกต่างกันโดย ธาตุเหล็ก จะช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด ธาตุแมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์และการทำงานของเอนไซม์ ธาตุโบรอน จะช่วยในเรื่องของการออกดอกและการผสมเกสร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล การเคลื่อนย้ายฮอร์โมน และ การใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนและการบ่งเซลล์ธาตุสังกะสี จะช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน(ฮอร์โมนกระตุ้นการเกิดราก) คลอโรฟิลล์ และแป้ง ธาตุโมลิบดินัมจะช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ธาตุทองแดง จะช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด และ ธาตุคลอรีนจะมีบทบาทเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช
แล้วพืชที่มีการขาดธาตุอาหารนั้นจะรู้ได้อย่างไรและแก้ไขอย่างไร การขาดธาตุอาหารของพืชนั้นีลักษณะที่เกิดต่างกันโดยพืชที่ขาดธาตุเหล็กนั้นจะเหี่ยวง่าย ใบสีซีดแต่เส้นใบยังคงปกติ ขนาดใบเล็กลง ยอดอ่อนเจริญเติบโตช้า ขนาดผลผลิตเล็กกว่าปกติและผิวไม่เรียบ และบางส่วนที่แห้งตาย พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสนั้นใบอ่อนจะแสดงอาการเหลืองตามระหว่างเส้นใบโดยเส้นใบยังเขียวหากมีอาการรุนแรงจะเกิดบริเวณแห้งตายเป็นจุดๆหรือเป็นแถบ การเจริญเติบโตช้า พืชที่ขาดธาตุโบรอนนั้นก้านใบจะเปราะและหักง่าย ผลผลิตต่ำลงผิวผลแตกลาย รากสั้นและปลายรากตาย หากขาดธาตุโบรอนรุนแรง ใบอ่อนยังคงเล็ก ม้วนเข้าและผิดรูป มีจุดสีเหลืองซีดระหว่างเส้นใบเป็นสีเหลือง สีส้มและเส้นใบอาจเป็นสีม่วง พืชที่ขาดธาตุโมลิบดินัมจะแสดงลักษณะคล้ายพืชที่มีการขาดไนโตรเจน ใบมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วยปรากฏจุดเหลืองตามแผ่นใบ พืชที่ขาดธาตุทองแดงมักพบในดินเปรี้ยว ใบพืชมีสีเขียวจัดและต่อมาจะกลายเป็นสีเหลือง ในพืชผักบางชนิดแผ่นใบจะยาวผิดปกติ พืชที่ขาดธาตุสังกะสีพืชจะมีลักษณะใบมีจุดสีเหลืองล้อมรอบจุดสีน้ำตาลคล้ายราสนิม การดูดซึมออกซิเจนน้อยลง่งผลให้การเจริญเติบโตช้า ลำต้นป้อม ไม่ออกดอก ผลสีซีด เปลือกหนา น้ำในผลน้อย พืชที่ขาดธาตุคลอรีนพืชจะเหี่ยวเหมือนพืชขาดน้ำ รากค่อยๆแคระแกรนและบางลงในบริเวณใกล้ปลายราก ปลายหรือขอบใบมีอาการใบไหม้ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่น วิธีการแก้อาการพืชขาดจุลธาตุสามารถใช้ซิลโคเทรซผสมกับซิงค์อะโกรได้ เนื่องจากทั้งสองตัวนี้มีธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นต่อพืชโดยวิธีการใช้ซิลโคเทรซใช้ในปริมาณ 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และซิงค์อะโกรใช้ในปริมาณ 3-5 ซีซี ต่อน้ำ20 ลิตร และยังสามารถใช้ผสมด้วยกันได้ และควรฉีดพ่นให้เป็นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืช โดยฉีดทุกๆ 7-10 วันต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด
Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://youtube.com/@thaigreenagro-tga847
เพจ Facebook: https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq