สถานการณ์แมลงหวี่ขาวและเพลี้ยระบาดในนาข้าวที่รุนแรงซึ่งสารเคมีไม่สามารถอยู่ในจุดคุ้มทุนได้ ใช้แล้วใช้อีกจนกระทั่งมีข้อส่งสัยจากเกษตรกรที่ทำนาข้าวและประสบปัญหาการระบาดอย่างหนักในช่วงนี้ ว่าผลที่ได้คือเพลี้ยก็ยังไม่หมดไปแต่ยังมีพฤติกรรมการดื้อยาและกลับมาระบาดเยอะกว่าเดิม
วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ทางบริษัทไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษขอแนะนำให้หันมาใช้สารชีวภัณฑ์ “ บิวเวเรีย ” เนื่องจากว่าการใช้สารชีวภัณฑ์สามารถทำร้ายได้ในระยะยาวได้ สามารถต่อเชื้อเองได้โดยกระบวนการแพร่ระบาดของบิวเวเรียในแมลงที่มีประสิทธิภาพและเห็นได้ชัดเจนคือ แมลงหวีขาว แมลงเพลี้ยกระโดดที่ตายแล้วจะมีลักษณะสีขาวๆ ซึ่งมาจากกระบวนการทำงานของเชื้อบิวเวเรียซึ่งมีการสร้างสปอร์จากตัวแมลงเองแล้วมีการขยายเชื้อต่อไป
โดยในเบื้องต้นเรามาพูดถึงสารเคมีกันก่อนนะคะ สารเคมีจะทำร้ายแมลงที่ระบบประสาททำให้ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีการตายหมดและรวดเร็วแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทำให้การเกาะของสารเคมีที่ใช้ตัวเดิมไม่เห็นผลหรือเรียกกันว่าอาการดื้อยาแมลงไม่ตายและมีการออกลูกออกหลานจำนวนเยอะและระบาดมากกว่าเดิม กลไกการดื้อยาเกิดจากการออกฤทธิ์ของยาที่มีการจำเพาะ พอมีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์จึงทำให้แมลงรอดหรือยาตัวเดิมเอาไม่อยู่นั้นเองค่ะ แต่ว่าในกรณีของเชื้อรานี้ไม่เหมือนกัน โดยกระบวนการของเชื้อราบิวเวเรียคือ จะมีตัวสปอร์เกาะงอกเข้าไปในลำตัวของแมลง และมีการเจริญเติบโตมีกลไกการทำงานและขยายเชื้อที่ซับซ้อนจึงไม่มีอะไรมายับยั้งหรือหยุดการทำงานของตัวเชื้อได้เลย เพราะฉะนั้นโอกาสที่แมลงจะดื้อต่อเชื้อรามีน้อยมากหรือเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีเลยก็ได้ โดยขณะเดียวกันสารชีวภัณฑ์
“ บิวเวเรีย ” ลักษณะที่โดดเด่นของสารคือไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคนั้นเองค่ะ
วิธีการและปริมาณการใช้เชื้อจุลินทรีย์ “ บิวเวเรีย ” จากคำแนะนำของบริษัทไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ คือ โดยพื้นที่ 1 ไร่ จะต้องใช้ตัวเชื้อจุลินทรีย์ 50 กรัม ( 3ช้อนแกง ) ต่อ ปริมาณน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นให้โดนตัวและสัมผัสของผิวแมลงประมาณไม่กี่ชั่วโมงสปอร์ก็จะงอกออกมาแล้วก็ทิ่มเข้าไปในลำตัวแมลง ในตัวของแมลงก็จะมีสารอาหารเยอะแยะมากมายเลยที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของแมลง หลังจากนั้นก็จะมีการแบ่งตัวภายในลำตัวของแมลงเชื้อจุลินทรีย์ต้องการสารอาหารในการแบ่งตัวจึงเป็นกลไกของการแย่งสารอาหารหรือดูดสารอาหารในลำตัวแมลงจึงเป็นเหตุให้แมลงค่อยๆอ่อนแอลงและตายไปในที่สุดพอถึงจุดนี้แล้ว ตัวจุลินทรีย์ก็จะมีการทิ้งหรือทิ่มสปอร์ออกมาและมีการสร้างเส้นใยที่ภายนอกลำตัวของแมลง
ส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดและให้ได้ผลมากที่สุดคือช่วงตอนเย็นที่มีแดดอ่อนๆ ประมาณ 5-6 โมงเย็น เนื่องจากหากฉีดในช่วงเวลาที่มีแดดและความร้อนอาจจะทำให้เชื้อตายได้และไม่ได้ผลนั้นเองค่ะ
ความถี่ในการฉีดพ่นเชื้อราบิวเวเรีย จะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1.กรณีการป้องกัน ฉีดพ่น 1 สัปดาห์/ครั้ง
2.กรณีที่ระบาดแล้ว ฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง
และทางที่ดีคือเกษตรกรควรหมั่นสำรวจและตรวจสอบดูแลแปลงนาของตัวเองเป็นประจำเพื่อไม่ให้ปัญหาการระบาดเยอะจนบางที่อาจจะเอาไม่อยู่และยากที่จะจัดการนั้นเองค่ะ
และในอีกคำถามที่เกษตรกรสอบถามเข้ามาบ่อยครั้งนั้นก็คือ เกษตรกรควรต่อเชื้อราบิวเวเรียไว้ใช้เองไหม? สำหรับตัวเชื้อบิวเวเรียสภาวะการต่อเชื้ออาจจะทำให้ประสิทธิภาพของเชื้ออ่อนแอลงไปเนื่องจากกลไกการได้รับสารอาหารและสิ่งแวดล้อมใการเจริญเติบโตที่แตกต่างจากการเข้าไปแย่งสารอาหารในตัวแมลงนั้นเองค่ะ และสุดท้ายผลที่ได้ก็คือไม่เห็นผลนั้นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ในนาข้าวที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาวที่ค่อนข้างหนักในปัจจุบัน จะสังเกตุได้ว่าแมลงจะอยู่แถวๆโคนต้นข้าวเหนือน้ำและใต้ใบที่กำลังจะเตรียมความพร้อมในการตั้งท้องเมื่อเจอปัญหานี้เข้าไปเกษตรกรจึงมีความกังวลเพราะต้นข้าวมีอาการอ่อนแองลงทำให้ส่งผลที่จะมีโอกาสได้ผลผลิตที่ลดน้อยลง ทางบริษัทไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารผิดจึงแนะนำให้หันมาใช้สารชีวภัณฑ์หรือเชื้อจุลินทรีย์บิวเวเรียเพื่อให้เกษตรกรก้าวผ่านปัญหาที่ประสบอยู่และทำให้ตัวเกษตรกรเองอยู่ในจุดคุ้มทุนและยั่งยืนนั้นเองค่ะ