0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

กำจัดโรคตายพราย ในกล้วย

     กล้วย เป็นพืชพื้นบ้านที่ดูว่าไม่น่าจะมีปัญหาศัตรูพืชสักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงการปลูกกล้วยเพื่อการค้าหรือสวนกล้วยที่ปลูกกันหัวไร่ปลายนาล้วนแต่มีปัญหาทั้งนั้น เช่น โรคตายพราย โรคใบจุด โรคใบเหี่ยว ด้วงงวง หนอนม้วนใบ โรคยอดม้วน แต่เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม่ว่าจะเริ่มปลูกหรือปลูกมานานแล้ว ต้องเคยได้ยินโรคยอดฮิตของกล้วยคือโรคตายพราย

        โรคตายพราย เกิดจากเชื้อราที่พบทั่วไปในดิน ซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ Fusarium oxysporum f.sp. Cubense  หรืออาจจะเรียกโดยทั่วไปว่า เชื้อราฟิวซาเรี่ยม เพราะว่าเป็นเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปในดินตามธรรมชาติ มักพบได้ในกล้วยเกือบทุกชนิด พบได้ในกล้วยอายุ 4-5 เดือน ขึ้นไป ซึ่งเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense  จะเข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไป ในท่อน้ำ ท่ออาหาร ท่าให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสี เหลือง หักพับ การเจริญจะชะงัก และยืนต้นตายในที่สุด โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกโรคนี้ทำาลายและจะลามไปต้นอื่นๆอย่างรวดเร็ว วิธีป้องกัน ควรป้องกันตั้งแต่เริ่มปลูก ก่อนปลูกควรชุบหน่อพันธุ์ด้วย อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)และรองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ TGA ที่คลุกกับ อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)และใช้อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ราดโคนต้น ควรทำอย่างต่อเนื่องทุกเดือน แต่ถ้าเป็นแล้วผู้เขียนแนะนำใช้อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)+ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ทั้งสองตัวมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อรา วิธีใช้ ให้ใช้ในอัตรา50กรัมต่อน้ำ20ลิตร ฉีดพ่นให้ครอบคลุมบริเวณส่วนบนและส่วนล่างของกล้วยรวมถึงบริเวณโคนต้นด้วย ฉีดพ่นทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น เพราะอินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส) จะถูกแสงแดดทำลายได้ง่าย ไม่ควรผสมพร้อมกับยาฆ่าแมลง เพราะยาจะกินกัน ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพ ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม       

       ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะนำเชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ไปผสมกับน้ำฉีดพ่น ขอแนะนำให้ใช้ แอดจั๊สท์(สารเปียกใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้อัตรา 10-20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร  กวนผสมให้เข้ากัน แล้วจึงค่อยนำเชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ใส่ลงไปแล้วกวนผสมให้เข้ากันอีกที ประสิทธิภาพของแอดจั๊สท์(สารเปียกใบ)ทำให้เชื้อ อินดิวเซอร์ (ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)ทำงานและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าทำลาย โรคตายพรายได้ดียิ่งขึ้น เพียงเท่านี้โรคตายพรายก็จะค่อยๆหมดไปจากสวนหรือแปลงปลูกกล้วยของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยอย่างแน่นอน


บรรเจิด ยิ่งวงษ์

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×