0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ไรดีดในเห็ด…ชีวภาพควบคุมจัดการได้ ไม่ต้องพึ่งเคมีอันตราย

ไรดีด เป็นไรชนิดหนึ่งมีลำตัวขาวใส หัว-ท้ายมน ขาสั้น มักพบเข้าทำลายกัดกินเส้นใยเห็ด ช่วงบ่มเส้นใย เปิดดอก ทำให้เส้นใยในถุงฝ่อหาย เหลือเพียงวัสดุเพาะภายในถุงเท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบในเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรมฮังการี เห็ดภูฐาน ไรเห็ดชนิดนี้จะดีดตัวได้ไกลทำให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะระบาดรุนแรงในช่วงอากาศร้อนต่อเนื่องกับช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเมษายน-ตุลาคม แต่ไรชนิดนี้จะไม่ทำลายเห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า(ขาว) เห็ดแครง เห็ดกระด้าง เห็ดหอม เหมือนไรไข่ปลา การควบคุมป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะหากเกิดการระบาดขึ้นแล้วมักจะสายเกินแก้ การสร้างโรงเรือนขนาดเล็กโดยแยกโรงเพาะและโรงบ่มเส้นใยออกจากกัน เพื่อให้มีเวลาพักทำความสะอาดโรงเรือนได้ ให้กำจัดก้อนเชื้อที่เก็บดอกเห็ดไปแล้ว เผาหรือนำไปฝังกลบให้ห่างจากโรงเรือนเพาะเห็ดอย่างน้อย 1-2 กิโลเมตร จากนั้นให้ฉีดพ่นไพเรี่ยม(สารสกัดจากกระเทียม-พริกไทย) 10 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ร่วมหรือฉีดพ่นสลับกับจุลินทรีย์ไมโตฟากัส ทุกๆ 3-5 วัน/ครั้ง(กรณีระบาด) หรือผสมรวมกันฉีดพ่นโรงเรือนหลังจากนำก้อนเชื้อออกหมดแล้ว โดยเฉพาะฝาผนัง ชั้นวาง รอบโรงเรือน ห้องถ่ายเชื้อก่อนถ่ายเชื้อทุกครั้ง รวมถึงฉีดพ่นควบคุมช่วงบ่มเส้นใยทุกๆ 10-15 วัน/ครั้ง การซื้อก้อนเชื้อก็เช่นเดียวกันต้องมั่นใจว่าได้จากแหล่งที่ไม่มีไรดีดระบาด หมั่นทำความสะอาดโรงบ่มเชื้อ โรงเปิดดอกโดยเฉพาะหลังเก็บดอกแล้ว อาจกล่าวรวมถึงบุคคลภายนอกที่จะเข้าไปในโรงเรือนต้องล้างมือและเท้าให้สะอาดเสียก่อน ในระยะที่มีการระบาดของไรดีดรุนแรงให้เปลี่ยนมาเพาะเห็ดชนิดอื่นแทนจะช่วยลดความเสียหายจากไรดีดได้ในระดับหนึ่ง หัวใจสำคัญในการเพาะเห็ดคือความสะอาด ขอให้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวไว้ให้มาก แล้วความสำเร็จในการเพาะเห็ดอยู่แค่เอื้อม

×