0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

โรคใบสีส้ม โรคสำคัญที่เกษตรกรต้องรู้

ในปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกข้าวนั้นได้รับผลกระทบในการปลูกข้าวอยู่หลายอย่างเช่นราคาข้าวที่ต่ำลง ราคาปุ๋ยเคมีที่แพง วัชพืชที่คอยขึ้นภายในแปลง และ ศัตรูพืชต่างๆ เช่น หอย ปู หนู นก ที่เข้ามากัดกินต้นข้าว รวมถึงโรคและแมลงที่เข้ามาทำลายต้นข้าว โดยเฉพาะโรคสีส้ม ซึ่งโรคใบสีส้มสามารถเป็นได้ทุกระยะตั้งแต่ต้นกล้าจนถึงตั้งท้องออกรวง แต่ต้นข้าวที่อยู่ระยะแตกกอนั้นจะได้รับความเสียหายมากที่สุด อาการที่จะแสดงทางใบเริ่มแรกจะเห็นเป็นขีดซ้ำยาวไปตามเส้นใบต่อมาแผลจะขยายรวมกันก็จะเป็นแผลใหญ่ในใบอ่อนจะมีลักษณะเป็นรอยด่างของคลอโรฟิลล์ที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโดยจะแสดงอาการหลังจากเป็นโรค 15-20 วัน ถ้าโรคนี้ระบนาดอย่างรุนแรงอาจทำให้ข้าวต้นแคระแกรนใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอถ้าไม่ตายจะออกรวงล่าช้ากว่าปกติ ให้รวงเล็ก หรือไม่ออกรวงเลยซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Rice Tungro Bacilliform Virus (RTBV)และ Rice Tungro Spherical Virus (RTSV)

โดยแมลงพาหะคือเพลี้ยจักจั่นสีเขียวนั้นเองลักษณะของเพลี้ยจักจั่นในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ Nephotettixvirescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus (Stal) ตัวเต็มวัยของทั้งสองนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันเคลื่อนย้ายตัวเร็วเมื่อถูกรบกวน สามารถบินได้เป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตรชอบเล่นไฟในช่วงเวลากลางคืนโดยเฉพาะช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าว วางไข่เป็นกลุ่ม 8-16 ฟอง ไข่วางใหม่ๆมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและมีจุดสีแดง ระยะไข่นาน 5-8 วัน ตัวอ่อนมีสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน  ตัวอ่อนมี 5 ระยะ  ระยะตัวอ่อนนาน 14-15 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ10 วัน

วิธีการรับมือจากโรคนี้คือ

1.การเลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคใบส้มเช่น ข้าวพันธุ์กข1 ข้าวพันธุ์กข3 สุพรรณบุรี 60 2.กำจัดวัชพืชเนื่องจาดจะเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะ การกำจัดวัชพืชจะช่วยลดปริมาณแมลงพาหะได้ 3.การใช้สารชีวภัณฑ์ที่กำจัดและป้องกันแมลงปีกอ่อนเช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น ได้แก่ตัวบูเวเรีย ใช้ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ควบคู่กับไทเกอร์เฮิร์บที่มีคุณสมบัติในกรไล่แมลงเนื่องจากทำมาจากสมุนไพรบดละเอียดเช่นฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตรผสมให้เข้ากันและฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบ

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/ บทความโดย      นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

×