วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของมะนาว
มะนาวถือว่าเป็นพืชประจำครัวเรือนของคนไทยเรียกว่าแทบทุกหลังคาเรือนจะต้องมีเอาไว้ใช้
เอาไว้ต้มยำทำแกงต่างๆนาๆ สุดแต่ว่าสูตรใครสูตรมัน
ในช่วงนี้ก็จะได้ยินเหมือนเดิมข่าวเดิมๆสำหรับผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลาย 10 ปี
ว่าช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม หรือ ช่วงเดือนธันวาคม มกราคม
ซึ่งจมีมะนาวฟรีออกมาเยอะแยะมากมาย แล้วทำให้มะนาวราคาถูก
แต่วันนี้เราจะคุยถึงเรื่องโรคแคงเกอร์ว่าวิธีการรักษา บางคนไปใช้จุลินทรีย์
ใช้สารต่างๆนาๆ มันตรง มันใช้ได้ไหม มันเป็นยังไง แล้วแนวทางที่จะป้องกันทำให้ใช้ได้จะเป็นอย่างไร
เดี๋ยวเราจะมาพูดคุยกัน
มะนาวราคาที่ถูกก็ต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้เรามีมะนาวทั้งในโอ่งมังกร
ในวงซีเมนต์ ในตะกร้า ในกระถาง มะนาวหลากหลายสายพันธุ์ ออกมาปลูกประชันกัน แข่งกัน
อะไรที่มันเยอะอะไรที่มันมาก เยอะมากแล้วก็ไม่พอยังเป็นปัญหาที่ไม่ใช่ความต้องการของตลาด
เวลาคนที่เกษตรเขาเรียกว่าหัวไวใจสู้ หัวก้าวหน้า ปลูกพันธุ์ใหม่ๆมา อาจจะลูกใหญ่
ผิวหนา แต่น้ำไม่มี ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด สู้พวกแป้นลำไพร แป้นพวง
แป้นดกพิเศษไม่ได้ ทำยังไงก็ต้องดั้มราคา
พอดั้มราคาพวกที่ดั้มราคาก็เป็นพวกเกษตรรุ่นใหม่ไฟแรงปลูกไปจนกระแสมันอิ่มตัวก็ชักเริ่มทิ้งรกๆร้างๆขายทิ้ง
ก็เตรียมจะเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น แต่เกษตรกรที่ปลูกมาชั่วนาตาปี
ก็จะได้รับผลกระทบจากมะนาวตรงนี้ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากจะเป็นมะนาวปีที่ออกมาเยอะก็ส่วนหนึ่งกับมะนาวที่ไม่ได้อยู่ในกระแสหลักหรือไม่ได้อยู่ในความต้องการแต่ก็เอามาขาย
ถ้าไม่ได้ลดราคาก็ขายไม่ได้ ก็ต้องดั้มราคาลงมาก็เป็นเหตุผลที่ทำให้มะนาวถูก
หลายคนที่ปลูกมะนาวมาจนผมเริ่มเป็นสีขาวเป็นสีดอกเลามาก็เข้าอกเข้าใจมะนาวว่ามีถูกมีแพง
หรือเขาคุยเรื่องมะนาวหน้าแล้ง มะนาวนอกฤดูก็พวกนี้ก็จะเป็นเซียนมะนาว สามารถมีมะนาวขายได้ทั้งปี
ขออย่างเดียวอย่าให้มะนาวถูก แต่ถ้ามือใหม่ก็อาจจะต้องต่อสู้
อาจจะต้องมาทำในช่วงที่มะนาวราคาสูงก็คือช่วงมีนาคม เมษายน
มะนาวเขาจะมีรอบของเขาคือช่วงเก็บเกี่ยวแรกคือช่วงธันวาคม มกราคม
แล้วมาเก็บเกี่ยวอีกทีก็กรกฎาคม สิงหาคม ซึ่งช่วงกรกฎาคม สิงหาคม
จะมีดอกชุดใหม่เกิดขึ้นพอดีถ้าอยากให้มะนาวไปออกในช่วงมีนาคม เมษายน ก็ต้องทำให้ดอกและผลอ่อนของมะนาว
ช่วงกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ไม่มี สิ่งต่างๆเหล่านี้
เพื่อนๆถ้าเป็นแฟนคลับของชมรมเกษตรปลอดสารพิษมายาวนานก็จะรู้ว่าผมเคยเขียนไว้ในตำราหรือหนังสือเกษตรไม่ลองไม่รู้ชื่อหลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดูเล่ม
2 และก็ของไม่ลองไม่รู้ก็คือการดูแลรักษามะนาวแบบชีวภาพ ลองไปหาอ่าน ไปศึกษาดู
เนื่องจากเนื้อที่จำกัดอ่านแล้วถ้ายังไม่เข้าใจก็เอาไว้มาคุยกันก็ต้องทำมะนาวให้ออกดอก
ตุลาคม พฤศจิกายน อยากให้ออกเดือนไหนก็ไปนับจากเดือนนั้นถอยหลังมา 5-6 เดือน
ออกมีนาคมก็ต้องถอยหลังมาเป็นกุมภาพันธ์ มกราคม ธันวาคม พฤศจิกายน หรือตุลาคม 5
เดือน ก็จะได้ผลมะนาวออกในช่วงมีนาคม เมษายน
ก็ต้องไปแข่งกันอีกว่าจะออกต้นก่อนเมษายนไหม หรือจะออกให้เขาขายเมษายนแล้วเราไปทิ้งทวน
แต่อย่าลืมว่าจะไปชนในช่วงของที่มะนาวปีเกิดขึ้น
อันนี้ฝากไว้กับคนที่ชอบมะนาวเป็นชีวิตจิตใจ สายพันธุ์ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ตอนนี้ผมได้สายพันธุ์ชื่อแป้นสุรินทร์ แป้นสุรินทร์ผมได้รับคำแนะนำ อุดหนุน เกษตรกรถ้าจับไม่ผิดอยู่แถวอัมพวาหรือแถวดำเนินสะดวก
ก็คือได้รับคำแนะนำจากท่าน อ.สุวัฒน์ ทรัพยประภา ที่พูดไม่ใช่อะไรเพราะปลูกวันนั้นจนวันนี้
เราให้คนงานดูแบบเทวดาเลี้ยงบ้าง ไม่เลี้ยงบ้าง
ยังรอดแล้วก็ไม่เป็นแคงเกอร์เผื่อเพื่อนๆที่สนใจอยากได้ติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
หรือ Line Officail Accounts ผมปลูกมะนาวที่ไทยกรีนอะโกรฟาร์ม
จ. อ่างทอง เยอะ เจอที่หลอกบ้าง เจอของแท้ของเทียมบ้างอะไรบ้าง มีแป้นพิจิตร
แป้นลำไพร แป้นพวง ทูลเกล้า แล้วก็มีแป้นสุรินทร์ที่เราเห็นว่ามันทนจริง
แล้วก็ไม่ค่อยเป็นโรค เป็นแคงเกอร์ถ้าจะเจอจริงๆไม่ถึง 5% ของทรงพุ่ม
100% เผื่อเพื่อนๆที่อยากจะเอาไว้ฝึกวิชาแล้วก็วิชาดี
มีม้าดี หรือมีสายพันธุ์ดีๆก็รสชาติคล้ายแป้นลำไพร
เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการตลาด แต่ถ้าเป็นแป้นพิจิตรอาจจะเปลือกหนาน้ำน้อย
ภาคกลางเราอาจจะชอบแป้นลำไพรมากที่สุด แต่ถ้าแป้นลำไพรจ๋าก็อ่อนแอต่อโรค
คนมือใหม่อาจจะดูแลยากก็ต้องเอาแป้นสุรินทร์ไปทดลองก่อนยิ่งดี
มะนาวหรือพืชตระกูลส้มส่วนใหญ่ความจริงแล้วมีโรคหลายโรค โรครากเน่าโคนเน่า
โรคราน้ำหมาก ใบจุด ใบด่าง ใบแก้ว ขาดสังกะสี โรคพิเตซ่า เกิดจากไวรัสทำให้ใบซีด
จาก ใบเล็ก เรียว ขาดสังกะสี อะไรต่างๆ โรคแคงเกอร์ถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่ฮิต
เซียนมะนาวยุคหนุ่มสาว เอามาพูดเอามาคุยกันบ่อยว่าเป็นสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย
ที่ชื่อว่าแซนโทรโมนาส จริงๆแล้วแบคทีเรียตัวนี้มันเก่งมาก
เขาสามารถแปลงสภาพตัวเองไปจำศีล หลบไปอยู่ตามเปลือกกิ่ง
เปลือกของลำต้นที่มีร่องมีรอยแตกรอวันที่ฝนมา น้ำมา ดินดำน้ำชุ่ม อากาศเหมาะสม
สปอร์ที่ติดมากับกิ่ง กับลำต้น กับใบ ที่มันแสดงอาการบนใบ ผลก้คือเป็นตุ่มนูน
มีสะเก็ด หลายคนก็บอกว่ามะนาวเป็นเอดส์ตัวนี้ให้รู้ไว้ว่าเป็นโรคแคงเกอร์
โรคแคงเกอร์สาเหตุที่เป็นแบคทีเรียจึงเป็นประเด็นว่าหลายคนบางทีเป็นเซลล์แมนหรือเพื่อนๆที่ปลูกมะนาวได้
4-5 ปีแล้วไปเป็นกูรูบางทีคนอาจจะแนะนำไม่ครบถ้วน สมบูรณ์
เพราะว่าไตรโคเดอร์มาเขาเป็นราที่เป็นปฏิปักต่อเชื้อราด้วยกัน
ความสามารถที่เขาจะไปสู้กับแบคทีเรียถ้าจะชนะต้อง 1 ต่อ 10
คือถ้ามีกองทัพของแบคทีเรียแซนโทโมนาส 100,000 ไตรโคเดอร์มาต้องยกพวกมาถล่ม 10 เท่า เป็น 1,000,000
เพราะว่าแบคทีเรียเขาสามารถที่จะสร้างเมือกมายับยั้งทำลายการเจริญเติบโตของราได้ และแบคทีเรียสามารถสร้างเง้า เง้าเหมือนหญ้าคา
เหมือนแห้วหมู เวลาเราทำลายแห้วหมู ถากหญ้าแห้วหมูด้านบน แต่มันมีเง้าอยู่ด้านล่าง
เง้าของแบคทีเรียที่ชื่อแซนโทโมนาสก็จะเรียกเป็นพวกเอ็นโดสปอร์
มีสปอร์และมีเอ็นโดมีเง้าอยู่ในสปอร์ที่ทนสภาพที่ร้อนจัดหนาวจัดได้
เพราะฉะนั้นการป้องกันกำจัดที่จะใช้ไตรโคเดอร์มาอย่างเดียว อาจจะไม่เวิร์คหรือไม่สมหวังดังนั้นตัวที่จะเอามาใช้ในการปราบแคงเกอร์ยุคครูบาอาจารย์ก็ต้องบีเอสพลายแก้ว
เชื่อว่าวงการมะนาว วงการส้มจะรู้จักบีเอสพลายแก้วซึ่งเป็นชื่อสามัญของบาซิลลัสซับทิลิสสายพันธุ์ที่มันยับยั้งโรคพืชและโรคเห็ด
ต่อมาในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเศรษฐกิจการค้าในระดับโลก บริษัทยักษ์ใหญ่ นายทุน
โลกของทุนนิยมยักษ์ใหญ่มีคนของตัวเองไปอยู่กรรมาธิการ
ที่สภาออกกฎหมายอะไรต่างๆที่เอื้อต่อตนเอง
ถ้าปล่อยให้พวกปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเจริญเติบโตทั้งๆที่มาเก็ตแชร์มีอยู่นิดเดียวแต่เขาก็กลัว
มาเก็ตแชร์ของวงการเกษตรแสนกว่าล้านกับพวกอินทรีย์ชีวภาพมีไม่ถึง 1% เพราะฉะนั้นเขาก็อาจจะสอนให้เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็ทำงานแบบไม่รู้ตัวไปบังคับให้ลุงมาตามี
ตาสีตาสาที่ผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ลุงผลิตขายด้วยใช่ไหม
แบ่งให้ลูกหลานในหมู่บ้านไม่ได้ ลุงต้องมี รง.4 จดโรงงาน 1 ล้านบาท
สร้างอาคารต้องมีห้องแล็ปด้วย ลุงไม่มีเงินมาสร้างโรงงาน หรือไปร่วมกับวิสาหกิจชุมชนก็ไม่ค่อยสำเร็จเพราะคนไทย
ทำงานร่วมกันสำเร็จไม่ค่อยเยอะจึงทำให้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์
จุลินทรีย์ต่างๆ ที่ทำในวิถีของชุมชนก็ลดน้อยถอยลง
ลูกหลานในหมู่บ้านก็หันไปซื้อร้านปุ๋ยเคมี ยาเคมี ง่ายกว่า
นี่คือภาพลวงตาที่หลายคนอาจจะมองไม่เห็นว่าบางทีกลไกรัฐก็ทำลายวิถีชีวิต ทำลายชุมชน
ทำลายสิ่งดีๆที่มีเอกลักษณ์ของไทยเราไปโดยปริยาย การพึ่งตนเอง
การผลิตปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ การขยายเชื้อที่เวลาเพื่อนๆมาฟังใน www.thaigreenagro.com
เรามีสูตรที่ท่านทำกินเองไม่ต้องไปซื้อ ไม่ต้องซื้อชมรมด้วย ถ้าทำกินเองรับรองว่าเหลือเฟือ
แต่ถ้าท่านทำเป็นธุรกิจ ทำเพื่อขายอันนี้มันก็ต้องเป็นธรรมดา
มันต้องหาตัวช่วยเพราะท่านทำเชิงเดี่ยว เลี้ยงปลาเชิงเดี่ยว เลี้ยงข้าวเชิงเดี่ยว
มะนาว ทุเรียนเชิงเดี่ยว มันจึงต้องมีตัวช่วยแบบมืออาชีพ เพราะฉะนั้นเวลาเราเป็นโรคแคงเกอร์ไปใช้ไตรโคเดอร์มาอย่างเดียวไม่สำเร็จ
เพราะว่าไตรโคเดอร์มาต้องใช้จำนวนมากกว่า ที่จะไปสู้กับแบคทีเรียพวกนี้
แล้วแบคทีเรียพวกนี้มันอยู่ลึกแบคทีเรียพวกนี้ทำงานเหมือนหนองใน
เหมือนของผู้ชายโรคหนองใน มันเป็นหนอนอยู่ด้านใต้เปลือกใต้ผิวหนัง เชื้อรามันอยู่รอบนอก
เชื้อราก็เหมือนกลางเกลื้อน
มันลงไม่ลึกตัวที่จะช่วยได้ก็คือตัวไบโอเซนเซอร์หรือบาซิลลัสซับทิลิส ท่านใช้ 50
กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น แต่ถ้าท่านไปอ่านข้างกระป๋องมันอาจจะเป็น 100 กรัม
ตามที่ไปทำวิจัยทำความทดสอบและกฎหมายต้องบังคับตามนั้น แต่เพื่อนๆไม่ต้องห่วงใช้ตามที่นักวิชาการของเราบอกก็เพียงพอแล้วแค่
50 กรัม การที่เราใช้บาซิลลัสซับทิลิสแบคทีเรียสู้กับแบคทีเรียจะช่วยได้ดีมาก
เพื่อนๆใช้ไบโอเซนเซอร์ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นอาจจะสลับกับไตรโคเดอร์มาหรือร่วมกันก็ได้ มันจะช่วยทำให้แผลแคงเกอร์แห้ง
แต่แผลเป็นก็ยังมีอยู่ แต่ไม่รุกลามไปใบใหม่ ใช้ร่วมกับซิลิสิคแอซิด
มันจะทำให้เซลล์แข็งด้วยและเอาจุลินทรีย์ไปช่วยก็จะทำให้โรคแคงเกอร์สามารถที่เราจะไปต่อกร
ไปต่อสู้เขาได้ 80-90% แต่ถ้าไตรโคเดอร์มาเขาจะเก่งเรื่องรากเน่าโคนเน่า
ไฟท๊อปธอร่า พวกเน่าคอดิน แต่ถ้าโรคทางอากาศทางใบ โรคแอนแทรคโนส โรคกุ้งแห้งในพริก
โรคบุ๋มในมะม่วง ในไม้ผล ไตรโครเดอร์ม่าจะเก่ง แต่ถ้าเป็นโรคเมลาโนส ราน้ำหมาก
แคงเกอร์ต้องเอาตัวไบโอเซนเซอร์มาช่วยที่สำคัญตัวนี้มันคือการแก้ที่ปลายเหตุ
ต้นเหตุคือเพื่อนต้องไปดู pH ดินต้องอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ต้องทำให้มันแข็งแรงเหมือนนักมวยเหมือนไก่ชน
คือต้องมีซิลิก้าจากพวกหินแร่ภูเขาไฟ หรือจากแกลบดิบ แกลบดิบก็ได้ หญ้าคาก็ได้
ใบหูกวางก็ได้ ท่านอาจจะไปขนแกลบสักตันสองตัน แต่ถ้าท่านใช้ภูไมท์ ภูไมท์ซัลเฟต
พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ท่านใช้แค่ 1-2 ช้อนแกง รองก้นหลุมก็พอ แล้วก็ฉีดทางใบกินอาหารให้ครบโภชนาการ
เวลามันป่วยหรือแคงเกอร์ สายพันธุ์ต้องดีด้วย
มนตรี บุญจรัส

