0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ผักสลัดสดใหม่จากน้ำ สู่มื้ออาหารที่ปลอดภัย

ผักสลัดสดใหม่จากน้ำ สู่มื้ออาหารที่ปลอดภัย
ปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่าในยุคสมัยนี้ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยในเรื่องของอาหารการกินมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์(ไม่ใช่ดินในการปลูก)ก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มที่รักสุขภาพและผู้ที่ต้องการผักสลัดที่สด สะอาด ปลอดภัย และ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยการปลูกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นวิธีปลูกให้รากพืชแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการได้รับและธาตุอาหารโดยตรง ทำให้สามารถควบคุมปริมาณธาตุอาหารที่พืชสามารถต้องการได้อย่างแม่นยำและส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แข็งแรงและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สาเหตุที่ผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ที่เป็นที่นิยมปลูกเนื่องจาก
1.ใช้ระยะเวลาในการปลูกที่สั้น เก็บเกี่ยวได้รวดเร็ว ทำให้มีผลผลิตหมุนเวียนในการขายจำนวนมาก 2.พื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยก็สามารถที่จะปลูกได้เนื่องจากสามารถที่จะปลูกแบบแนวนอนตามปกติ หรือ แนวตั้งก็สามารถปลูกผักได้เป็นจำนวนมากเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ปลูกน้อยหรือคนที่อยู่ในเมือง 3.ประหยัดน้ำในการปลูกเนื่องจากระบบน้ำของผักสลัดไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นแบบหมุนเวียนส่งผลให้ใช้น้ำได้น้อยกว่าการปลูกในดิน
4.ได้ผักที่สะอาดและปลอดภัยเนื่องจากการปลูกแบบไม่ใช่ดินนั้นมีการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าไม่เกิดการสะสมในดินและช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและแมลงที่จะเข้ามาทำลายต้นได้จึงทำให้ลดโอกาสในการใช้สารเคมีในการกำจัดโรคและแมลงนั้นเอง

หากใครที่กำลังสนใจในการปลุกผักสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์ระบบในการปลูกก็มีหลากหลายรูปแบบได้แก่
1.ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นการปลูกแบบโดยให้รากสัมผัสกับสารอาหาร โดยสารอาหารจะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆซึ่งหนาประมาณ 1-3 มิลลิเมตร ผ่านรากพืชในรางปลูกเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับรากพืชโดยตรง และจะมีการไหลเวียนกลับมายังถังเก็บสารอาหาร
2.ระบบระบบ DRFT (Deep Water Culture หรือ Raft System) เป็นระบบที่ปลูกพืชโดยที่รากจะแช่อยี่ในสารละลาย โดยปลูกผักสลัดบนโฟมหรือท่อ PVC หรือวัสดุต่างๆ ที่สามารถลอยน้ำได้เพื่อยึดลำต้น และระบบนี้ก็ได้รับความนิยสในการนำมาปลูกผักเนื่องจากใช้ต้นทุนในการทำน้อย
3.ระบบระบบ Aeroponics โดยคำว่าแอโรนั้นหมายถึงอากาศ ส่วนคำว่าโพนิกส์หมายถึงการเพาะปลูก พอรวมกันจึงหมายถึงการปลูกพืชให้รากลอยอยู่ในอากาศ โดยที่มีภาชนะยึดต้นพืช และระบบนี้เป็นระบบที่มีการหมุนเวียนน้ำและสารละลายธาตุอาหารโดยใช้หลักการปั๊มอัดผ่านหัวพ่น ฉีดพ่นน้ำและสารละลายธาตุอาหารออกมาในรูปแบบฝอยละเอียดเป็นระยะๆตามบริเวณที่รากพืชตามระยะเวลาที่กำหนด 24 ชม.โดยมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า timer เป็นตัวกำหนดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการฉีดพ่นตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด

นอกจากนี้ในการปลูกสลัดแบบไฮโดรโปนิกส์นั้นบางครั้งอาจจะมีโรคและแมลงที่เป็นอุปสรรคในการปลูก ได้แก่ 1.โรคใบจุด ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Cercospora spp. และเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas spp.ซึ่งจะเกิดในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและมีการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี อาการที่พบคือจะเจอจุดสีน้ำตาลหรือสีดำบนใบผักสลัด จุดอาจขยายใหญ่และเชื่อมกัน ทำให้ใบแห้งและตาย
2.โรคราน้ำค้าง ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Bremia lactucae จะเจอในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ อาการที่พบคือจะเจอผงสีขาวคล้ายแป้งอยู่ใต้ใบ ส่วนบนของใบอาจมีใบเหลืองซีด
3.โรครากเน่า โคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Pythium spp. ซึ่งเกิดสภาพอากาศที่มีน้ำขัง รากได้รับออกซิจนที่ไม่เพียงพอ การใช้สารละลายธาตุอาหารซ้ำโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาการที่พบคือใบผักสลัดจะเหี่ยวเฉา ต้นไม่เจริญเติบโต รากมีสีน้ำตาลดำและเปื่อยยุ่ย สามารถป้องกันและกำจัดโรคได้ด้วยการใช้ไบโอเซนเซอร์ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดโรคที่เกิดทางใบเนื่องเป็นเชื้อจุลินทรีย์แบคทีเรีย บาซิลัส ซับทิลิส และ อินดิวเซอร์ซึ่งเป็นเชื้อไตรโคเดอร์ม่าที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราทางดินเช่น รากเน่าโคนเน่า อัตราการใช้ทั้งสองผลิตภัณฑ์คือ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือตอนเช้าที่มีแดดอ่อน และ แมลงที่พบเจอได้แก่
1.เพลี้ยอ่อน จะมีลักษณะเป็นแมลงตัวเล็กสีเขียว สีเหลืองหรือสีดำ มักจะอาศัยรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณใต้ใบ ยอดอ่อน ลำต้น เป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยง ส่งผลให้ใบอ่อนมีอาการใบหงิกงอ ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหะนำโรคที่เกิดจากไวรัส
2.เพลี้ยไฟ ลักษณะคือเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมีสีน้ำตาล เทา หรือสีดำ เป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ส่งให้เกิดใบไหม้ เกิดรอยด่างสีขาว หรือใบหงิกงอ
3.หนอนใยผัก ลักษณะคือเป็นหนอนตัวเล็กสีเขียวอ่อน ดิ้นเก่ง กินใบเป็นรูพรุน
4.หนอนใยผัก ลักษณะเป็นหนอนตัวใหญ่ สีน้ำตาล เทา หรือดำ กัดกินส่วนโคนต้น ทำให้ต้นอ่อนหักล้ม โดยที่กล่าวมานี้สามารถใช้ผลิตภัณฑ์บูเวเรีย ในการกำจัดและป้องกันจากแมลงปีกอ่อนเช่นเพลี้ยต่างๆ ไรแดง แมลงหวี่ขาว ได้ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อรา บูเวเรีย บัสเซียน่า และ ตัวแบคเทียร์ ในการกำจัดและป้องหนอนต่างๆโดยเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส ซึ่งอัตราการใช้ทั้งสองผลิตภัณฑ์คือ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือตอนเช้าที่มีแดดอ่อน

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

×