มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชพื้นเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลาง
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกและแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปรวมถึงในแอฟริกาเหนือ
โดยจัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับขนุน และจัดอยู่ในสกุลเดียวกับมะเดื่อไทย
ต่อมามีการแพร่กระจายในประเทศเขตร้อน แต่พบมากในยุโรปและเอเชีย เช่น ตุรกี,
กรีช, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, รวมถึงในสหรัฐอเมริกา
สำหรับในประเทศไทย ได้มีการนำมะเดื่อฝรั่ง มาทดลองปลูกครั้งแรกที่ดอยอ่างขางเมื่อ
พ.ศ.2524 โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นต่อมาจึงได้ขยายพื้นที่การปลูกไปในภาคอื่นๆจนถึงปัจจุบัน
โดยลักษณะของต้นและผลของมะเดื่อฝรั่ง มีดังนี้
ไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นแตกกิ่งมากเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง
ลำต้นสูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาล และมียางสีขาว
ใบแตกออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามปลายกิ่ง มีความกว้าง 20-25
เซนติเมตร และยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนา และค่อนข้างแข็ง
ดอกขนาดเล็ก ออกตามข้อบริเวณซอกใบ
ประกอบไปด้วยดอกตัวเมียที่มีก้านเกสรยาวและดอกตัวเมียที่มีก้านเกสรสั้น
และดอกตัวผู้
ผลมีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์
บางสายพันธุ์อาจเป็นรูปทรงกลม ทรงระฆัง หรือ ผลกลวงโบ๋
ซึ่งเนื้อผลมีรสหวานอมเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก
ปัญหาที่พบเจอบ่อยในช่วงฤดูฝน คือ
โรคสนิมในมะเดื่อฝรั่ง
โรคสนิมเป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยในต้นมะเดื่อฝรั่ง
โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
สภาพอากาศที่ชื้นและมีฝนตกชุกเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคนี้
ทำให้ใบของต้นมะเดื่อฝรั่งมีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาล และเมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น
ใบอาจร่วงหล่นได้ทั้งหมด ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นมะเดื่อฝรั่ง
สาเหตุของโรคสนิม
โรคสนิมในมะเดื่อฝรั่งเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง
ซึ่งมักจะเข้าทำลายผ่านทางปากใบหรือบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ บนใบ
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อราจะเจริญเติบโตและสร้างสปอร์กระจายไปยังส่วนอื่นๆ
ของต้น และไปยังต้นมะเดื่อฝรั่งต้นอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
อาการของโรคสนิม
-จุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลบนใบ:
เป็นอาการเริ่มแรกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยจุดเหล่านี้จะค่อยๆ
ขยายใหญ่ขึ้นและรวมตัวกันเป็นบริเวณที่กว้างขึ้น
-ผงสีส้มหรือสีน้ำตาล: บนผิวใบที่เป็นโรคจะพบผงสีส้มหรือสีน้ำตาล
ซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้อรา
-ใบร่วง: เมื่อโรคระบาดรุนแรง ใบจะร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก
ทำให้ต้นมะเดื่อฝรั่งสูญเสียใบและไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่
การป้องกันและควบคุมโรคสนิม
-รักษาความสะอาดสวน: กำจัดใบที่ร่วงหล่นและเศษซากพืชอื่นๆ
เพื่อลดแหล่งอาศัยของเชื้อรา
-ตัดแต่งกิ่ง: ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกและเผาทำลาย
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อรา
การใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน
การป้องกันกำจัดโรคสนิมโดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
(อินดิวเซอร์)ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
โดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า (อินดิวเซอร์) อัตรา
50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่มในบริเวณที่ระบาด และพ่นซ้ำทุกๆ 7 วัน
จนกว่าจะมีการระบาดลดน้อยลง
แนะนำในการฉีดตอนเย็นเนื่องจากเชื้อราจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และควรใช้ร่วมกับพรีเว้นท์(น้ำส้มควันไม้) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
บทความโดย นางสาวธารหทัย
จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด