สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Oidium
mangiferae Berth เชื้อโรคจะเข้าทำลายช่อดอก
ผลอ่อน และใบ ในช่อดอกจะทำให้ช่อดอกแห้ง และร่วงไม่ติดผล เชื้อราจะสร้างเส้นใย
และสปอร์ มีลนผงสีขาวคลุมกานช่อดอกที่ดอกร่วงไปแล้ว กานดอกที่มีเชื้อราปกคลุมจะอยู่ได้นาน
และร่วงช้า ในกรณีที่ติดผลแล้ว เชื้อราแป้งจะลุกลามจากก้านช่อเข้าสู่ผล
ทำให้ผลอ่อนชะงักการเจริญเติบโต และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีราขาวคลุม ในใบอ่อน
ด้านใต้ใบจะมีเชื้อราจับหนาแน่นและคลุมทั่วทั้งใบ และยอดอ่อน ราแป้งทำให้ใบบิดงอใบเปลี่ยนเป็นปื้นสีน้ำตาลคล้ายอาการใบไหม้
หากระบาดรุนแรงเชื้อราจะคลุมทั้งยอดทำให้ยอดมีสีขาวโพลน
และยอดจะแห้งตายเมื่อพบสภาพขาดน้ำและอากาศร้อน วันนี้ผู้เขียนจึงจะกล่าวถึงวิธีป้องกันและรักษาโรคราแป้ง ให้หมั่นตรวจแปลงบ่อยๆ ถ้าพบ
โรคราแป้ง ให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์ 1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา ) แซนโธไนท์ 2
ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง ทั้งบนใบ และ ใต้ใบ
ให้เปียกชุ่มโชก เพื่อทำลายหรือล้างสปอร์ โรคราแป้ง จากนั้นให้ฉีด
ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม
ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง ควบคุมและกำจัดไม่ให้โรคราแป้ง เกิดการระบาด
ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ยังทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวัง
โรคราแป้ง ไม่ให้กลับเข้ามาในแปลงของเราได้อีกด้วย
เพียงเท่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้โรคราแป้ง ลดลงและหมดไปจากแปลงของเกษตรกรผู้ปลูกอย่างแน่นอน

