รากเน่าโคนเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า (Phytophthora) เป็นเชื้อราที่กำจัดได้ยาก รุนแรงและสร้างความเสียหายให้กับพืชหลากหลายชนิดซึ่งมักจะมีการระบาดรุนแรงในฤดูฝนเพราะอากาศมีความชื้นสูง จึงเหมาะกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายและพบว่าเมื่ออากาศร้อนและแห้งแล้งความรุนแรงของโรคก็จะลดลงจัดเป็นโรคที่พบกันมากในสวนพืช ผัก ผลไม้ ของชาวไร่ ชาวสวน ไม่ว่าจะเป็น เงาะ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด พริก มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำ มะนาว แตงกวา ลำไย ปาล์ม ยางพารา ฯลฯ ซึ่งนำมาซึ่งความสูญเสียรายได้และผลผลิตของเกษตรเป็นอย่างมากลักษณะอาการโดยทั่วไปรากจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่าโคนต้นจะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมาจากส่วนเปลือกของต้นที่แตกใบ ดอก ผล เกิดอาการเน่าหรือไหม้เป็นวงกลมสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำตรงบริเวณกลางใบ ขอบใบหรือปลายใบ ซีด เหลือง เหี่ยวตายสำหรับวิธีการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าผู้เขียนแนะนำว่า ให้ตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงดินอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยให้ดินมีกรดสูงเกินไปค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 5.8-6.3 จัดการทำร่องระบายน้ำในบริเวณแปลงปลูก เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขัง เพราะถ้าหากมีน้ำท่วมขังจะนำไปสู่โรครากเน่าโคนเน่าได้ง่ายตัดแต่งกิ่ง และเก็บรวบรวมใบ ดอก รวมถึงผลที่เป็นโรคและร่วงหล่นบริเวณแปลงปลูก สวนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดลดปริมาณของเชื้อราที่อยู่ในดิน โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่า (อินดิวเซอร์ INDUCER-TM)ใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ บาซิลลัส ซับธิลิส (ไบโอเซ็นเซอร์(BIO-SENSOR-TM)ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง ทั้งใต้ใบและบนใบควบคุมและกำจัดไม่ให้โรครากเน่าโคนเน่าเกิดการระบาด ไตรโคเดอร์ม่า (อินดิวเซอร์ INDUCER-TM)กับบาซิลลัส ซับธิลิส (ไบโอเซ็นเซอร์(BIO-SENSOR-TM)ยังทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวังไม่ให้โรค รากเน่าโคนเน่ากลับเข้ามาในแปลงของเราได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้โรครากเน่าโคนเน่าค่อยๆลดลงและหมดไปจากแปลงของเกษตรกรอย่างแน่นอน
บรรเจิด ยิ่งวงษ์
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com