0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แมลงศัตรูร้ายของถั่วเขียว

ถั่วเขียวจัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่ว โดยถั่วเขียวเป็นพืชอายุสั้นเพาะปลูกง่าย อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ประมาณ 65-70 วัน สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย และทนแล้งได้ดี การดูแลรักษาง่าย สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกสภาพพื้นที่ ถั่วเขียวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ทั้งในดินเหนียวและดินทรายที่มีPH ประมาณ 5.5-7.0 ควรหลีกเลี่ยงดินที่เป็นด่างหรือเค็ม ควรปลูกถั่วเขียวในดินที่ระบายน้ำได้ดีถั่วเขียวไม่ชอบน้ำขัง มีหน้าดินลึก อินทรียวัตถุสูง เนื่องด้วยอายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ปลูกได้ตลอดปี การดูแลรักษาง่าย ทำให้เกษตรกรมีความต้องการสนใจปลูกถั่วเขียวเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
      เมื่อวันที่23/2/2565 ผู้เขียนได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับถั่วเขียวใน
Googleเพราะมีความสนใจอยากลองปลูกดูที่บ้านต่างจังหวัด และได้เจอหัวข้อ ถั่วเขียวระวัง 2 หนอน 2 เพลี้ย เครดิตhttps://www.thairath.co.th/news/local/2346416 จึงได้เข้าไปอ่านดูว่าเป็นยังไง จึงได้พบว่ากรมวิชาการเกษตรเตือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวระยะฝักอ่อนถึงฝักแก่ เฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนศัตรูพืช 2 ชนิด คือ หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะฝักถั่วมารูค่าและเพลี้ยอีก2 ชนิด คือเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยไฟ
      หนอนกระทู้ผักกับหนอนเจาะฝักถั่วมารูค่า จะเจาะเข้าทำลายฝักหรือเจาะฝักที่ติดอยู่กับใบ กัดกินเมล็ดภายในฝัก ทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยไฟ ที่จะมาดูดน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนของถั่วเขียว ทำให้ต้นแคระแกร็น ยอดย่น หงิกงอ ดอกร่วง ฝักอ่อนบิดเบี้ยว และเมล็ดลีบ ผลผลิตเสียหาย และลดลง ผู้เขียนเลยคิดว่า โดยวิธีการป้องกันและกำจัด 2 หนอน 2 เพลี้ยนั้น ถ้าใช้ยา ฆ่าหนอน ฆ่าเพลี้ยแบบเคมีฉีดไปสักพักก็จะเกิดการดื้อยาเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพราะหนอนและเพลี้ยจะพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารเคมี จึงเป็นการยากต่อการป้องกันกำจัดด้วยการใช้ยาฆ่าหนอน ฆ่าเพลี้ยแบบเคมีฉีดพ่นเป็นประจำเพียงอย่างเดียว
วันนี้ผู้เขียนมีวิธีกำจัด2 หนอน 2 เพลี้ย แบบชีวภัณฑ์มาฝากกันคือการใช้ฟอร์แทรน(เชื้อ เมทาไรเซียม แอนิโซเพลียม)+บูเวเรีย (เชื้อบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า)
+แบคเทียร์ (เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส) +ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ) วิธีใช้ ให้นำ ม้อยเจอร์แพล้นท์(สารเปียกใบ) เติมผสมกับน้ำก่อน โดยใช้ในอัตรา 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วกวนให้เข้ากัน แล้วนำ ฟอร์แทรน(เชื้อ เมทาไรเซียม แอนิโซเพลียม)+บูเวเรีย (เชื้อบิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า)+แบคเทียร์ (เชื้อบาซิลลัส ธูริงเจนซิส) อย่างละ50กรัม เทใส่ลงไปแล้วกวนให้เข้ากันอีกทีควรฉีดทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม กลไกการเข้าทำลายเพลี้ยและหนอนของเชื้อ คือเมื่อสปอร์ของเชื้อสัมผัสกับผิวของเพลี้ยและหนอน ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวเพลี้ยและหนอน แล้วขยายจำนวนอยู่ภายในลำตัวเพลี้ยและหนอน โดยใช้เนื้อเยื่อของเพลี้ยและหนอนเป็นอาหาร ทำให้เพลี้ยและหนอนป่วยตายในที่สุด
ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของเพลี้ยและหนอน โดยทั่วไปประมาณ 3
7 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของเพลี้ยและหนอน หลังจากเพลี้ยและหนอน ตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายไปตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงของเกษตรกรได้อีกด้วย


Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
#ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

×