0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

แก้ปัญหาโรคเหี่ยวเหลืองดาวเรือง

ดอกดาวเรืองถือว่าเป็นดอกไม้เศรษฐกิจอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องใช้กันเป็นประจำ และมีเกษตรกรปลูกกันมาก แต่ดอกดาวเรืองต้องการการดูแลเป็นอย่างดีถึงจะให้ผลผลิตมากเรื่องด้านการตลาดก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกร เพียงแต่ว่าการปรับราคาอาจจะมีการขึ้นลงตามกลไกลของตลาดถ้าปกติจะเก็บดอกขาย ส่งร้านดอกไม้ ตกราคาดอกละประมาณ 50 สตางค์ ถึง 1 บาท ตามขนาด แต่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และตรุษจีน เกษตรกรอาจจะปรับรูปแบบขายด้วยการ นำต้นดาวเรืองมาบรรจุในกระถางขาย ในราคาประมาณ 50 – 100 บาท ตามขนาดก็ยังได้
ดาวเรืองมีหลายพันธุ์ แต่ที่รู้จักคุ้นเคยและอยู่ในความนิยมมีเพียง 2 ชนิด นั้นคือ ดาวเรืองต้นสูง-ดอกใหญ่ และดาวเรืองต้นเตี้ย-ดอกเล็ก จะมีสีสันที่โดดเด่นก็มีตั้งแต่สีขาวนวล เหลืองอ่อน เหลือง เหลืองทอง สีส้ม สามารถปลูกเลี้ยงและออกดอกได้ตลอดปี เพียงแต่จะโตช้าหรือโตเร็วเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
ส่วนเรื่องปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองจะพบเจอคงไม่พ้นเรื่อง โรคและแมลงในดอกดาวเรือง วันนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงโรคดอกดาวเรือง ที่ชื่อโรคเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา
Fusarium sp.อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการ ใบเหลือง แห้ง แล้วลามขึ้นมาสู่ส่วนบน จนในที่สุดใบจะเหี่ยวเหลืองและตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะแบน ลีบ และเหี่ยว ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีช้ำกว่าส่วนอื่น เชื้อโรคนี้จะเริ่มพบในช่วงอายุ 40-45 วันเมื่อพบต้นเป็นโรค ให้ถอนทิ้งและเผาทำลายให้ไกลจากแปลงปลูกมากที่สุด ห้ามทิ้งในแปลงและลงในน้ำ เด็ดขาดเพราะจะทำให้เชื้ออาจลุกลามไปยังต้น ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว หลังจากถอนต้นทิ้งก็ขุดดินบริเวณนั้นตากแดดและหมั่นตรวจแปลงบ่อยๆจากนั้นให้ใช้ฟังก์กัสเคลียร์ 1.0-2.5 กรัม (หรือ ประมาณ 1ช้อนชา ) แซนโธไนท์ 2 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตรคนให้ละลายเข้ากัน นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงดาวเรือง ทั้งบนใบ และ ใต้ใบ ให้เปียกชุ่มโชก เพื่อทำลายหรือล้างสปอร์ โรคเหี่ยวเหลืองจากนั้นให้ฉีด ใช้ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) 50กรัม ต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลงดาวเรืองทั้งใต้ใบและบนใบ ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง หรือฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน/ครั้ง ควบคุมและกำจัดไม่ให้ โรคเหี่ยวเหลือง เกิดการระบาด ไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับทิลิส)กับอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)ยังทำหน้าที่เหมือนทหารยามที่ค่อยเฝ้าระวังโรคเหี่ยวเหลือง ไม่ให้กลับเข้ามาในแปลงของเราได้อีกด้วย เพียงเท่านี้ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้โรคเหี่ยวเหลือง ลดลงและหมดไปจากแปลงของเกษตรกรผู้ปลูกแปลงดาวเรืองอย่างแน่นอน

บรรเจิด ยิ่งวงษ์

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×