0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เฝ้าระวังการระบาดโรคใบด่างจุดวงแหวนในพริก

สภาพอากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู ทำให้มีฝนตกสลับกับอากาศเย็นในภาคเหนือ และภาคตะวันเฉียงเหนือ

ผู้ปลูกพริกทุกระยะการเจริญเติบโต ควรรับมือโรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Capsicum chlorosis virus ( CaCV ) กันด้วยนะคะ

อาการที่พบ จะใบด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน เกิดอาการจุดวงแหวนบนเนื้อใบ และยังพบอาการแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลทั้งบนผลพริก ใบ และกิ่งก้าน ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ซึ่งมีแมลงพาหะนำโรคเป็นเพลี้ยอ่อน หรือเพลี้ยไฟ แมลงพวกนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชที่ติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัสสู่พืช และเชื้อไวรัสยังสามารถแพร่กระจายได้จากการสัมผัสระหว่างพืชที่ติดเชื้อ การใช้เครื่องมือเกษตรที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส และการปลูกพืชจากเมล็ดหรือพันธุ์พืชที่ติดเชื้อได้อีกด้วยค่ะ

แนวทางการเตรียมดิน

1.ทำการไถยกร่องและตากดิน 7-14 วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อรา ไวรัส แบคทีเรียที่อยู่ในดิน

2.ใช้ภูไมท์ซัลเฟต(เหลือง) ที่มีทั้งธาตุแคลเซียมและซัลเฟต ผสมอยู่ในเนื้อภูไมท์ซัลเฟต อีกทั้งยังมีฟอสฟอริก แอสซิส ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของราก ที่สำคัญเลยคือจะมีธาตุซิลิกอนที่จะละลายออกมาให้พืชนำไปใช้ทำให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชได้ ปริมาณการใช้ 20-50 กก. / พื้นที่ 1 ไร่

แนวทางป้องกันโรค

1. ใช้พันธุ์พริกที่ต้านทานโรค

2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะขยายพันธุ์ซ้ำ

3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือกกล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก

4. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง และกระทกรก

5. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปทำลาย หรือฝังดินนอกแปลงทันที

6. พ่นสารชีวภัณฑ์ไบโอเซ็นเซอร์ ( บาซิลลัส ซับทิลิส ) ป้องกัน กำจัดเชื้อไวรัส หรือ บูเวเรีย ( บิวเวอเรีย บาสเซียนา ) ป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟพริก ทุกๆ 5-7 วัน อย่างต่อเนื่อง

7. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค ได้แก่ มะเขือต่าง ๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน เป็นต้น ใกล้แปลงปลูกพริก

8. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น ที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เพื่อตัดวงจรของโรค

สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลและควบคุมกำจัดโรคแมลงสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://thaigreenagro.com/

 

นางสาว คนึงนิจ  หอมหวล

ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

×