0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เผยเทคนิคปลูกกล้วยหอม เพื่อส่งออกต่างประเทศ

กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออกหลายประเทศมีความต้องการบริโภคสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้าในหลายจังหวัดการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูก การดูแลรักษา ไปจนถึงการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

การปลูกและการดูแลรักษานั้นจะมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

การเตรียมพื้นที่ปลูก : ไถเตรียมดิน 2-3 ครั้ง ใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร ขนาดหลุมปลูก 30x30x30 เซนติเมตร รองพื้นด้วยภูไมท์ซัลเฟต อัตรา 20 กิโลกรัม./ พื้นที่ 1 ไร่ และทำการหมักปุ๋ยอินทรีย์ ทีจีเอ โกลด์ 25 กิโลกรัม.ที่คลุกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา (อินดิวเซอร์) อัตรา 2 กิโลกรัม รำข้าว 10 กิโลกรัม (ถ้ามี) ทำการหมักทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเติบโตและขยายปริมาณเชื้อไตรโคเดอร์ม่าหากครบ 7 วันแล้วให้นำมาผสมกับปุ๋ย อินทรีย์ทีจีเอโกลด์ 100 กิโลกรัมและภูไมท์ซัลเฟต(ผง) 40 กิโลกรัม และนำไปใส่บริเวณโคนกล้วยต้นละ 3-5 กำมือทุก 15 วัน หรือ 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 2 ครั้งนั้นเอง

การเตรียมพันธุ์และการปลูก : ปลูกด้วยหน่อกล้วยที่สมบูรณ์ มีความยาว 30-50 เซนติเมตร การใส่ปุ๋ย : อายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยที่หมักขยายด้วยไตรโคเดอร์ม่า  3-5 กำมือ ต่อ ต้นกล้วย 1 ต้น อายุ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่และใส่ปุ๋ยที่หมักขยายด้วยไตรโคเดอร์ม่า 50 กิโลกรัมต่อไร่ อายุ 5 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่และฉีดฮอร์โมนซิลโคเทรซ 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรและใส่ปุ๋ยที่หมักขยายด้วยไตรโคเดอร์ม่า 50 กิโลกรัมต่อไร่ การให้น้ำ : มีการให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด หรือมินิสปริงเกลอร์โดยควบคุมความชื้นในดินที่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ การตัดแต่งหน่อ : หลังปลูก 3-4 เดือน กล้วยจะเริ่มมีการแตกหน่อให้ตัดหน่อที่เกิดทิ้งตลอดช่วงการเจริญเติบโตจนถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยวให้ตัดก่อนที่หน่อจะแตกใบเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหารจากต้นแม่กรณีบางพื้นที่ต้องการผลิตกล้วยหอมทองมากกว่า 1 รอบการผลิตต่อพื้นที่จะเก็บหน่อที่สมบูรณ์ไว้ 1 หน่อ ส่วนหน่อที่เหลือจะนำไปเป็นส่วนขยายพันธุ์ต่อไปหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว การตัดแต่งใบ : การตัดแต่งใบจะตัดแต่งพร้อมกับการตัดแต่งหน่อโดยจะให้เหลือใบมากที่สุด คือ 11-13 ใบ เพื่อให้ใบช่วยพรางแสง ลดความเข้มของแสงลงไม่ให้แสงส่องถูกผลกล้วยโดยตรง โดยไม่มีการห่อเครือ การตัดปลี : กล้วยหอมทอง 1 เครือ จะเก็บผลผลิตที่สมบูรณ์ไว้ 5-6 หวีต่อเครือ และจะตัดปลีทิ้งเมื่อเกิดข้อต่อจากหวีสุดท้ายลงมา 3 ข้อจากนั้นทำสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันเพื่อกำหนดวันเก็บเกี่ยว การกำจัดวัชพืช : กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน 3 ครั้งต่อรอบการผลิต การค้ำลำต้น : กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องหักล้มง่าย จึงต้องใช้ไม้ค้ำเครือกล้วยทุกต้น การเก็บเกี่ยว : เก็บเกี่ยวกล้วยหอมทองที่มีความแก่ประมาณ 75-80% คือ หลังจากตัดปลีกล้วยแล้วประมาณ 55-65 วันทำการตัดกล้วยทั้งเครือแล้วป้องกันไม่ให้กล้วยบอบช้ำระหว่างการขนย้ายโดยการสอดแผ่นโฟมหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร ระหว่างหวีภายในเครือ แล้วนำไปทำความสะอาดบรรจุหีบห่อและเก็บรักษาล้างทำความสะอาดการ ปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว : ก่อนล้างทำความสะอาดจะแขวนเครือกล้วยไว้เพื่อป้องกันกล้วยช้ำหรือโดนกระแทกจากนั้นจึงนำเครือกล้วยมาแยกหวีออกจากกัน ล้างทำความสะอาด และเป่าให้แห้งคัดแยกผลผลิตที่สมบูรณ์ สวยงาม ไม่มีโรคและแมลง น้ำหนักต่อลูกเฉลี่ย 120 กรัม ทำการติดรหัสแปลงที่หวีกล้วยเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับหุ้มด้วยวัสดุกันกระแทก และบรรจุกล่อง การปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงและสามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรได้

บทความโดย นางสาวคนึงนิจ หอมหวล ตำแหน่งฝ่ายวิชาการบริษัทไทยกรีนอะโกร (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ ID : Thaigreenagro Facebook : บริษัท ไทยกรีนอะโกร Website : www.thaigreenagro.co.th TikTok : Thaigreenagro

×