0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เผยเคล็ดลับผักสลัดออร์แกนิคแบบแขวนหนึ่งเดียวในไทย

วันนี้ทีมงานฝ่ายวิชาการได้มีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมชมและพูดคุยกับ คุณอุ้ย บ้านผักแขวน ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มที่มีการริเริ่มในการทำฟาร์มผักสลัดแบบแขวนหนึ่งเดียวในไทยโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการได้ศึกษาและเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ แบบท่าน “ฟูกูโอกะ” ปรมาจารย์เกษตรอินทรีย์ กล่าวว่า “ ผักสดเท่านั้นที่มีพลังรักษาโรค ”  โดยคุณอุ้ยได้กล่าวว่าผักที่ผ่านความร้อนทุกชนิด จริงๆแล้วได้แค่ไฟเบอร์ส่วนสารอาหารต่างๆแม้จะมีเหลือบ้างแต่ก็น้อยนิดจนถือว่าไม่มีก็ไม่ผิดสักเท่าไหร่

 

โดยคุณอุ้ยกล่าวว่าที่เลือกปลูกผักสลัดแบบแขวนเพราะว่า

1.ผมมีอาการโรคปวดหลัง ก้มลงพื้นไม่ได้ ถ้าปลูกแบบก้มลงพื้น ค่าผักไม่พอค่ายา  2.ผมไม่ชอบตากแดดก็เลยใช้วิธีการแขวน เพราะว่าการแขวนมันตอบโจทย์ของผมได้ทุกอย่างเลย โดยเวลาจะปลูกก็จะเก็บจากที่แขวนไปทำการลงปลูกในโรงเรือนที่ร่มและตอนเย็นๆก็นำออกมาแขวนเพื่อทำการดูแลใส่ปุ๋ยเหมือนทั่วๆไป โดยสวนที่ทำมาตลอดระยะเวลา 3 ปี แทบจะไม่เจอปัญหาเรื่องโรคเชื้อราหรือแมลง หนอนเลย จึงเลือกใช้วิธีการนี้มาโดยตลอด คุณอุ้ยได้มีโอกาสเข้ามารู้จักกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจุลินทรีย์ของทางบริษัทไทยกรีนอะโกร (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ) และได้ใช้มาโดยตลอดโดยวันนี้คุณอุ้ยจะมาเผยเคล็ดลับในการดูแลควบคุมโรคแมลงในฟาร์มที่ใช้ได้ผลและประสบความสำเร็จ 100 เปอร์เซ็น  คุณอุ้ยกล่าวว่าตั้งแต่รู้จักผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของหินแร่ภุเขาไฟและจุลินทรีย์ของบริษัทไทยกรีนอะโกร (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ) ก็ใช้เป็นแนวทางในการนำร่องและยกระดับการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดสารพิษให้มีความพัฒนาและยั่งยืนแบบครบวงจร

 

เคล็ดลับการควบคุมและกำจัดโรคแมลงที่เป็นศัตรูของผักสลัด

 

คุณอุ้ยเลือกใช้สารชีวภัณฑ์อินดิวเซอร์ ( เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ) และบูเวเรีย (เชื้อบิวเวเรีย) โดยเลือกวิธีการในการนำเอามาขยายเชื้อเพื่อใช้ลดต้นทุนในการปลูกผักในแต่ละรอบ คุณอุ้ยจึงมาแบ่งปันวธีการขยายเชื้อราในแบบฉบับฟาร์มผักสลัดแบบแขวน โดยมีส่วนประกอบดังนี้ มันฝรั่งต้ม 1 หัว น้ำสะอาด 1 ลิตร และผงจุลินทรีย์ 5 กรัม หรือ 1 ช้อนแกง

 

โดยวิธีการทำก็ง่ายนิดเดียวโดยการนำเอามันต้มมาบดหรือปั่นให้เป็นเนื้อละเอียดและเทน้ำ 1 ลิตรผสมลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้และหลังจากนั้นใส่เชื้อจุลินทรีย์ลงไป 5 กรัม และทำการผสมให้จุลินทรีย์เข้ากันกับเนื้อมันและน้ำ พอเสร็จแล้วนำไปบรรจุใส่ขวดพลาสติกที่สะอาด เช่น ขวดน้ำอัดลม หรือขวดที่มีฝาปิดมิดชิด เป็นต้น  และทิ้งเชื้อราไว้ 2 วัน โดยในทุกๆวันตอนเช้าจะต้องมาทำการเขย่าเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้จุลินทรีย์ใช้หายใจและเจริญได้ดีและมีประสิทธิภาพ พอครบ 2 วัน ก็จะนำตัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายไว้มาเทใส่ถังฉีดพ่นผสมกับน้ำ 20 ลิตร และสามารถฉีดพ่นได้เลย โดยคุณอุ้ยบอกว่าเวลาที่เหมาะสมในการฉีดพ่นของฟาร์มคือช่วงตอนเย็นๆ ประมาณ 6 โมงเป็นต้นไป และช่วงเช้าเวลาไม่เกิน 9 โมง เนื่องจากหลักการนี้ได้มาจากการสำรวจแปลงเป็นประจำและตลอดจึงได้เก็บข้อมูลและพบว่าเวลาที่ฉีดพ่นดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่แมลงออกมาหากินหรือหาอาหารมากที่สุดจึงทำให้ช่วงเวลานี้เหมาะแก่การฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์และการควบคุมกำจัดเชื้อโรคและแมลงได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

สำหรับช่วงระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวหรือรอบการเก็บผลิต ทางฟาร์มจะใช้ระยะเวลา 20 วันในการรอต้นกล้าเจริญเติบโตเต็มที่และให้พืชดูดใช้ธาตุอาหารทางใบและดิน จนครบ 50 วันจึงเก็บผลผลิตไปขายได้

และความโดดเด่นของผผักฟาร์มสลัดของคุณอุ้ย คงหนีไม่พ้นรสชาติที่มีความแตกต่างจากผักที่ใช้วิธีการฉีดพ่นยาเคมีเพื่อควบคุมและป้องกันโรคแมลง มีรสชาติไม่ข่มมาก เนื้อผักมีความนุ่มไม่กระด้างเพราะมียางสีขาวๆน้อยกว่าผักที่ใช้เคมีหรือสารเคมีเยอะมาก นอกจากกนี้ความปลอดภัยไม่ต้องเป็นห่วงเลยเพราะการันตรีจากลูกค้าหลายๆคนที่ซื้อกลับไปกินและต้องกลับมาซื้อใหม่และคุณอุ้ยทิ้งท้ายกับประโยคเด็ดไว้ว่า “ ผักออร์แกนิคแท้ หายากกว่าเงินมาก ”

 

สำหรับใครที่สนใจไปเยี่ยมชมหรือเรียนรู้ศึกษาฟาร์มผักแบบแขวนของคุณอุ้ย สามารถติดต่อไปที่เบอร์ 086-839-8002 ได้เลยค่ะ ส่วนหากใครสนใจผลิตภัณฑ์ดูแลและควบคุมกำจัดโรคแมลงสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://thaigreenagro.com/

 

นางสาว คนึงนิจ  หอมหวล

ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com

Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr
×