วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงวิธีการ เทคนิคการผลิตปุ๋ยละลายช้า และที่สำคัญจะต้องทำให้มีแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วนโภชนาการเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปสู่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าพืชได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็จะทำให้การสังเคราะห์ฮอร์โมน การติดดอกออกผล ไม่หลุดร่วงง่าย หล่นง่าย ผลไม่แตก รวมถึงแม้กระทั่งการแตกกอต่อยอดก็จะเจริญเติบโตสมบูรณ์ นำมาซึ่งผลผลิตที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าให้กินสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนก็เหมือนเลี้ยงเด็ก เป็นตาลขโมย กินกับน้ำพริกผักต้ม หรือ กินกับขาหมูก็อวบอ้วม เป็นโรคความดัน เบาหวาน
วันนี้เป็นเรื่องที่การทำปุ๋ยละลายช้าจะเป็นตัวช่วยทางหนึ่งที่ทำให้เพื่อนๆนั้นสามารถลดต้นทุนได้ ปุ๋ยละลายช้านั้นก็เป็นปุ๋ยทางเลือก อันนี้เป็นการทำปุ๋ยละลายช้าแบบผลิตเอง แบบเมดอินไทยแลนด์ เนื่องด้วยปุ๋ยละลายช้าในท้องตลาดที่มีการนำเข้ามามันมีไม่มากมายหลายส่วน มีสูตรเป็นทางเลือกแค่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้าเพื่อนๆสามารถที่จะใช้ปุ๋ยละลายช้าด้วยเทคนิควิธีการแบบง่ายๆ ใช้เอง ท่านสามารถที่จะทำปุ๋ยสูตร ไม่ว่าจะเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็สามารถทำให้ป็นปุ๋ยละลายช้าได้ หรือจะเป็นปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยตระกูลตัวหน้าสูง อย่างเช่น 46-0-0 หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อย่าง 21-0-0 หรือ แคลเซียมไนเตรท 15-0-0 ซึ่งปุ๋ยตระกูลตัวหน้าสูงหรือปุ๋ยไนโตรเจน ส่วนใหญ่แล้วในท้องตลาดจะละลายรวดเร็ว ใช้ไปวันแรกเขียว งามไป 2-3 วัน พอผ่านไปวันที่ 4-5-6-7 นี่ก็เกิดการสูญเสีย สูญสลายออกไปในสายลม อากาศ แสงแดด ทำให้เงินที่หายากอยู่แล้ว เอาไปซื้อปัจจัยการผลิต ซื้อปุ๋ย แถมมาใส่ในพืช ในต้นไม้ก็สูญเสียเร็วอีก การใช้เทคนิคการผลิตปุ๋ยละลายช้าแบบคนไทยทำก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีให้กับเพื่อนๆที่ชอบในแนวทางการทำเกษตรโดยเฉพาะ เราคุยกับพวกเราก็คือเราชอบเรื่องของการทำเกษตรปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ทำอย่างไรไม่ให้มีการสะสมสารพิษ ตกอยู่ในผืนดินแผ่นน้ำ ในป่าเขาลำเนาไพร ถือว่าถ้าชอบคอเดียวกัน แนวเดียวกัน ก็อยากจะเรียนเชิญเพื่อนๆ ไม่ต้องเกรงใจถือว่าเป็นคอเดียวกัน ครอบครัวเดียวกัน เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้ามาเสนอแนะ จะเข้ามาหรือติชมก็ยินดีทั้งสิ้น การทำปุ๋ยละลายช้า ดังที่เรียนให้ทราบว่ามีประโยชน์ทำให้ต้นไม้ของเรา พืชของเรา กินปุ๋ยใช้ปุ๋ยได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลักการของปุ๋ยละลายช้าถ้าเราทำให้ดี เคลือบให้ดี เขาก็จะมีลักษณะเมื่อได้รับความชื้น ก็จะทำงานผ่านรูพรุนหรือผ่านการดูดของกลุ่มซีโอไลท์หรือแร่ธาตุพวกโพลิเมอร์ ลักษณะเมือนเป็นออสโมซิสออกเข้าไปสู่ลำต้นพืชหรือถ้าเป็นอีกด้านหนึ่งเขาเรียกว่าแรงดึงของรากพืช รากพืชเขามีแรงดึงสูงกว่าค่าตัว C.E.C พวกภูไมท์ สเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ หรือพวกสเม็คโตไทต์ เคลือบไว้ หลายคนยังนึกไม่ออกว่ามันแรงดันสูงอย่างไรก็ให้เปรียบเทียบเหมือนปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำที่ดูดขึ้นอาคารชั้น 2 ชั้น 3 หรือคอนโดต่างๆ ถ้าแรงดันน้ำน้อยส่งขึ้นไปชั้น 4-5 น้ำก็จะออกไม่แรง เพื่อนๆลองนึกถึงต้นจามจุรี กับ ต้นก้ามปู เป็นต้นไม้ที่สูงเกินตึก 5 ชั้น เขาสามารถดูดน้ำจากใต้ดินขึ้นไประเหยที่ยอดได้อย่างสบายเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าปุ๋ยละลายช้าจะไปสร้างปัญหาทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ละลายช้าไม่ได้แปลว่าละลายยากเลยนะครับ ละลายช้าก็คือพืชได้กินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เหลือก็ยังคงถูกเก็บรักษาด้วยโครงสร้างการผลิตปุ๋ยละลายช้า แต่ว่าปัจจัยต่างๆที่จะทำให้พืชเจริญเติบโตนั้นมันต้องมีองค์ประกอบในหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความชื้น จุลินทรีย์ในดิน ชนิดของดิน ดินเปรี้ยวจัด ด่างจัด พวกนี้ต่อให้มีปุ๋ยละลายช้าก็ไม่ได้ช่วยทำให้การดูดกินดีขึ้น แต่ในทางอ้อมตัวสารที่เคลือบเม็ดปุ๋ยก็อาจจะไปทำหน้าที่ย่อยสลายและเป็นกันชน ทำให้สภาวะสะเทิ้นกรดหรือด่างนั้นไม่รุนแรงเกินไปถ้าเป็นกรดเล็กน้อยหรือด่างเล็กน้อยก็สะเทิ้นมาทำให้ดินมีความเหมาะสม มีการละลายแร่ธาตุสารอาหารให้พืชได้ดูดกิน นี่คือประโยชน์เพราะว่าปุ๋ยที่บอกไปเมื่อสักครู่ว่าปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูงๆยิ่งสูญเสีย ลองเอาปุ๋ยน้ำตาลปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหยิบมา 1 กำมือ แล้วเอาไปแช่ในน้ำเย็นๆและละลาย แป๊บเดียวหมด เพราะฉะนั้นพืชกินยังไม่ทันจะรู้เรื่องเลย กินไป 2-3 วันแล้วก็จะมีลักษณะการกินที่แบบมูมมามคือพืชจะรีบกินไนโตรเจน กินปุ๋ย เพราะว่าเดี๋ยวมันจะละลายไปหมด ทำให้ปุ๋ยที่เป็นปุ๋ยธรรมดา ไม่ได้ทำเป็นปุ๋ยละลายช้าก็เฝือใบ งามใบ อะไรตามมาจากการเฝือใบงามใบก็ เพลี้ย หนอน แมลง รา ไร ก็จะเข้ามาทำลายทำให้เสียเงินซื้อปุ๋ยไม่พอก็ต้องเสียเงินซื้อยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง ฆ่าเพลี้ยอีก ต้นทุนเพิ่มไม่รู้จักจบสิ้น เบื้องต้นคิดว่าเพื่อนๆคงจะ มันทำยังไงปุ๋ยละลายช้าแถมเรากำหนดหัวข้อวันนี้ว่าละลายช้าไม่พอต้องได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วน ก็เนื่องด้วยว่าปุ๋ยละลายช้าในท้องตลาดมีไม่กี่สูตรและส่วนใหญ่เป็นสูตรแค่ N P K หมายความว่ามันมีแค่ตัวหลักอย่างเดียวแต่พืชต้องกินให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นข้าว เป็นอ้อย เป็นปาล์ม ยางพารา ทุเรียน ลองกอง มังคุด มันไม่ได้กินเฉพาะธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรองอย่างแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ไม่มี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี หรือ โบรอน โมลิดินัม นิกเกิล ไม่มี วันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้ได้ปุ๋ยละลายช้า ไปใส่ผัก ใส่ข้าว ใส่ในสวนลำไย เพื่อที่จะได้ลดต้นทุน สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่เบี้ยน้อยหอยน้อยยิ่งน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ สังเกตง่ายๆ ข้าวจะสังเกตสีใบได้ชัดเจน ถ้าใส่ปุ๋ยละลายช้า ข้าวจะเขียวนาน เขียวทนและสีไม่เขียวปี๋ สีจะออกสีเขียวนวลๆ เขียวนวลมีนัยยะแห่งความแข็งแกร่ง เพราะว่าการที่เราใช้องค์ประกอบของหินแร่ภูเขาไฟเอามาเคลือบเม็ดปุ๋ยมันมีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้ด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องการลดต้นทุนการทำปุ๋ยละลายช้าเป็นเรื่องที่ควรต้องใส่ใจหรือนำพาเอาไปทดสอบ ทดลอง สำหรับคนที่ไม่เคยทำ วิธีการทำท่านใช้ปุ๋ยสูตรอะไรก็ได้ ถ้าท่านชอบปุ๋ยยูเรียก็นำปุ๋ยยูเรียมาทำเป็นปุ๋ยละลายช้า ถ้าท่านชอบปุ๋ยสูตรเสมอก็ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอก็ได้ ปุ๋ยอะไรก็ได้สามารถมาทำเป็นปุ๋ยละลายช้าได้ ถ้าต้นใช้ 2 กระสอบ ปุ๋ย 2 กระสอบในประเทศก็หมายความว่าจำนวนน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ปุ๋ย 2 กระสอบ ต่อ ภูไมท์ 1 ลูก หรือ 1 กระสอบ 20 กิโลกรัม อัตราส่วนคือ 1:5 ภูไมท์พอใช้ผสมปุ๋ยเป็นปุ๋ยละลายช้าแล้วมันช่วยทำให้ต้นพืชแข็งแกร่งแต่ไม่เพียงพอเพราะว่ามันคนละหน้าที่กัน อันนี้เรานำภูไมท์มาเพื่อทำหน้าที่เคลือบเม็ดปุ๋ยเพื่อให้เป็นปุ๋ยละลายช้าแต่ถ้าต้องการให้หินแร่ภูเขาไฟเป็นแหล่งอาหารทดแทนปุ๋ยเคมี อันนี้ต้องใช้ 20-40 กิโลกรัม ต่อไร่ ถ้ายังตามไม่ทัน ทางออก เอาภูไมท์ 20 กิโลกรัมไปคลุกปุ๋ย 100 กิโลกรัม ทำไมมันจึงไม่เทียบเท่ากับใช้ภูไมท์ 20-40 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ก็มันมีแค่ 20 กิโลกรัม ปุ๋ยเคลือบกับเม็ดปุ๋ย 100 กิโลกรัม เม็ดปุ๋ย 100 กิโลกรัม หว่านได้ 5 ไร่ 5 ไร่ มันเท่ากับได้ภูไมท์แค่ไร่ละ 4 กิโลกรัม มันขาด 36 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะทำให้เซลล์แข็งแกร่งและได้สารอาหารที่เพียงพอ ที่พูดมาเพื่อป้องกันความสับสน เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้ภูไมท์หรือภูไมท์ที่จะนำไปบำรุงดิน ตัวที่จะทำหน้าที่บำรุงดินโดยตรงก็คือภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง ท่านต้องหว่านไปก่อนเลย รองก้นหลุม ในไร่ ในสวน ในแปลงนาก็ 20-40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ต้นทุนไร่ละ 170-340 บาท ตัวนี้จะทำให้ดินโปร่ง ฟู ร่วนซุย ก็ได้รับแร่ธาตุ สารอาหาร จากลาวา ของหินแร่ภูเขาไฟได้ปรับโครงสร้างดินให้มีรูพรุนช่วยในเรื่องการอุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย โดยทางอ้อม เราเอาปุ๋ยเคมี ไม่ว่าจะเป็น 16-0-0 , 15-15-15 , 0-0-60 , 16-20-0 เราใช้แค่ 1 กระสอบ เพราะฉะนั้นเราเอาปุ๋ย 100 กิโลกรัม อาจจะเป็น 46-0-0 ร่วมกับปุ๋ยสูตรเสมอ ปุ๋ย 46-0-0 1 กระสอบ สูตรเสมอ 15-15-15 1 กระสอบ เทกองบนปูนพื้นซีเมนต์ ถ้าไม่มีซีเมนต์ก็พื้นผ้าใบ ดึงเชือก รูด ขมวด เท และก็ใช้จุลินทรีย์ขี้ควายหรือจุลินทรีย์หน่อกล้วยแทนที่จะฉีดน้ำเปล่าก็ใส่จุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายดึงแร่ธาตุสารอาหารในดินให้เรา ฉีดลงไปประมาณ 5-10 ลิตร ให้เม็ดปุ๋ยมีความชื้น และเคลือบด้วยภูไมท์ผงที่เป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง ก็ใส่ลงไป 20 กิโลกรัม สูตรนี้คือสูตรปุ๋ยละลายช้า ที่ท่านจะเนรมิตตามความต้องการของเพื่อนๆได้ แต่หัวข้อวันนี้บอกต้องครบโภชนาการแล้วมันจะครบได้ไง มันมีแค่ N P K ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เป็นธาตุหลักอย่างเดียว ดังนั้นถ้าจะใช้ปุ๋ยละลายช้าให้ครบ 5 หมู่ของพืชหรือครบโภชนาการ คือมีทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ก็ต้องอาจจะใส่พวกกลุ่มจุลธาตุเข้าไปกลุ่มจุลธาตุก็เป็นพวกเหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิดินัม นิกเกิล ของไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษจะมีชื่อว่าซิลิโคเทรซ ซิลิโคเทรซจะได้จุลธาตุที่เป็นธาตุรอง ธาตุเสริม เติมเข้าในมาธาตุอาหารหลัก เอาปุ๋ยยูเรีย บวกกับปุ๋ยสูตรเสมอ หรือจะปุ๋ยยูเรียอย่างเดียวก็ทำให้ปุ๋ยไนโตรเจนไม่สูญเสียได้ง่าย ท่านใช้สูตรอะไร 8-24-24 บำรุงดอกก็เอามาทำได้ก็พ่นด้วยจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้องหรือจุลินทรีย์ขี้ควาย หรือ จุลินทรีย์หน่อกล้วย ของท่าน อ.สุวัฒน์ ทรัพยประภา ก็ให้เม็ดปุ๋ยชื้น ใส่ซิลิโคเทรซลงไป 1 กิโลกรัม หรือบางคนต้องการความเข้มข้นจะใช้ 2 กิโลกรัม ข้อเสียคือต้นทุนอย่างเดียว มีอีกตัวหนึ่งสำคัญที่เป็นตัวช่วย เขาเรียกว่าดูดซับความชื้น แล้วก็เสริมประสิทธิภาพกับตัวภูไมท์ หรือ ภูไมท์ซัลเฟต ทำให้การเคลือบเม็ดปุ๋ย ทำงานได้ดีขึ้น ก็คือโพแทสเซียมฮิวเมสที่ข้างในสีดำๆ คือมาจากกลุ่มของฮิวมัสและก็นำมาละลายกับด่างโพแทสเซียมไฮดอกไซด์แล้วก็ทิ้งให้ตกตะกอน แยกชั้น ก็จะได้เป็นฮิวมิกแอซิด ชื่อการค้าคือโพแทสเซียมฮิวเมท ตัวนี้ดี และมีประโยชน์มากในการทำให้โครงสร้างดินที่เป็นดินทรายจัด ดินร่วนจัด กลายเป็นดินที่เป็นเม็ดดิน อุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินแข็งจัดก็จะคลายตัว เกิดการเคลื่อนย้าย ถ่ายเท ระบายถ่ายเทน้ำก็ดี ตัวนี้จะมีสารอื่นๆอยู่ในนั้นมากพอสมควร ก็มาเคลือบคลุก ใส่ซิลิโคเทรซ ใส่ตัวโพแทสเซียมฮิวเมท คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก็จะเคลือบเป็นเลเยอร์ เป็นชั้นๆ แล้วก็ตามด้วยตัว ถ้าจะให้เป็นปุ๋ยละลายช้า ที่มีอาหาร แร่ธาตุ ครบโภชนาการต้องเคลือบหรือคลุกผสมกับตัวภูไมท์ซัลเฟต อาจจะใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลือง 1 กระสอบ แล้วก็ภูไมท์ 1 กระสอบ ในภูไมท์ซัลเฟตเขาจะมีธาตุรอง แคลเซียม ฟอสฟอรัส และก็กำมะถันอยู่ทำให้ทุกอย่าง All in one คือทำในครั้งเดียวก็จบ ครบทุกเรื่อง เพียงเท่านี้นเราก็ใช้ให้หมด ผสมที 100 กิโลกรัม 200 กิโลกรัม หรือ ครึ่งตันก็แล้วแต่ พอเม็ดมันแห้งดี อย่าเอาไปตากแดด ผึ่งลมให้แห้ง หรือไม่ต้องแห้งก็ได้เอาก็เอามาใส่กระสอบ มัดปาก เอาไว้ทยอยใช้ ใส่ในต้นทุเรียนก็ ประโยชน์ของปุ๋ยละลายช้า ถ้าจุลินทรีย์ในดินดี ชนิดของดินไม่เป็นกรดเป็นด่าง ชนิดของดินดี โครงสร้างของดินอะไรต่างๆดีบางทีใส่ปุ๋ย อยู่ไปได้ 3 เดือน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอีกเลยก็ได้ ท่าน อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ เราเคยใช้เทคนิคการทำปุ๋ยละลายช้า ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวและรอเกี่ยว 4 เดือน ไม่ได้ใส่อีกเลย ได้ 100 ถัง เพราะฉะนั้นนี่คือประโยชน์ของการทำปุ๋ยละลายช้าที่มีแร่ธาตุสารอาหารครบโภชนาการ คิดว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากในการที่จะทำให้เพื่อนๆนั้นได้ลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ย
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com