0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

เทคนิคการดูแลดินปลูกอย่างถูกวิธี..ชุ่มแต่ไม่แฉะ

วันนี้เราจะคุยกันในเรื่องของเทคนิคการดูแลดินปลูกอย่างถูกวิธี ชุ่ม แต่ไม่แฉะ ที่เราจะมาคุยกันถึงเรื่องดินก็เป็นเพราะว่า พืชทุกชนิด โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา ชาวสวน จะต้องให้ความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวดองกันกับเรื่องของดิน เพราะว่าการทำเกษตรที่มีหลายพื้นที่ค่อนข้างใหญ่มาก การเตรียมดิน การดูแลดิน วิธีการที่จะมีเทคนิคในการทำให้เป็นดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล คือเอาง่ายๆว่าปลูกข้าวการเตรียมเทือก เตรียมดินก็สำคัญ ปลูกหอม กระเทียม ปลูกอ้อย ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ปลูกทุเรียน ลองกอง มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย อะไรต่างๆ เทคนิคที่จะทำให้ต้นไม้ของเรามีการเจริญเติบโตอย่างไม่มีอะไรมาปิดกั้นหรือสะดุดก่อให้เกิดผลเสียด้านลบเลย ก็ส่วนใหญ่ก็คือจะมาจากดิน เพื่อนๆรู้ไหมครับว่าดินจริงๆ ดินที่ดีจริงๆเป็นดินลักษณะแบบไหน ปลูกแล้วพืชไม่เครียด ไม่อ่อนแอ ไม่ทำให้เกิดการสะสมบ่มเพาะเชื้อโรค ตรงนี้เราพยายามที่จะนำเสนอสิ่งดีๆเกี่ยวกับเรื่องของเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ ถือว่าทุกท่านที่ทำเกษตร เราก็นำเสนอเพื่อเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง องค์ความรู้ที่ได้จากครูบาอาจารย์ แล้วนำมาเสนอเป็นทางเลือกช่องทางหนึ่งให้คนที่สนใจ ใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องของการทำเกษตร ซึ่งวันนี้เราก็มาเน้นเรื่องของเทคนิค วิธีการดูแลดินปลูกอย่างถูกวิธี ดินปลูกก็หมายความได้เยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเตรียมหลุม ไม้กระถาง ดินที่จะเอาไปผสมแล้วก็ปลูกในกระถางหรือหลุมที่ปลูกกล้วย อ้อย ปาล์ม มัน ยาง ทุกอย่าง การเตรียมดินก็จะคล้ายๆกัน เบื้องต้นเวลาเตรียมดินในหลุมหรือเอามากองแล้วผสมกับขุยมะพร้าว ใบก้ามปู ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก อินทรียวัตถุ หรือผสมร่วมกันกับหินแร่ภูเขาไฟซึ่งเป็นแร่ธาตุธรรมชาติก็ตาม อันแรกเลยต้องดูค่าความเป็นกรดและด่างผสมให้ได้โครงสร้างทางเคมีจะต้องอยู่ในรูปของกรดเล็กน้อย กรดเล็กน้อยคืดมีค่า pH ถ้าเป็นที่ทางทีมงานของไทยกรีนอะโกร หรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษ วิจัยและส่งเสริมมาตลอด 20 กว่าปี เราจะให้พี่น้อง เกษตรกร เพื่อนๆ ปรับ pH อยู่ระหว่าง 5.8-6.3 ค่าดินทั่วไปก็อาจจะ pH 7 จะเป็นกลางแล้วก็มากกว่า 7 เรียกว่าดินเป็นด่าง แต่ถ้าน้อยกว่า 6 ยังถือว่าไม่เป็นไร ยังถือว่าค่าโครงสร้างทางเคมีถือว่ายังมีความเหมาะสม แต่ถ้าต่ำกว่า 5 ลงไป หรืออยู่ประมาณ 5.5 หรือ 5.8 น้อยกว่า 5.8 ลงไป ถือว่าอาจจะปลูกพืชไม่ได้ทุกชนิดอาจจะเลือกปลูกพืชที่ชอบกรด อาจจะเป็นพวกส้ม มะนาว แต่ถ้ามาปลูกพืชไร่ แตงกวา มะระ มีสิทธิ์ที่พืชต่างๆเหล่านี้จะมีปัญหา คือใส่ปุ๋ยไปแล้วเปลืองปุ๋ยมากกว่าเดิม เปลืองปุ๋ยมากกว่าเดินหมายถึงว่าใส่ลงไปแล้วไม่ตอบสนอง ใส่แล้วเหมือนไม่ได้ใส่ การแก้ง่ายๆดูแค่ความเป็นกรดแลละด่างของดิน ส่วนใหญ่ที่ใส่แล้วไม่งามก็คือค่า pH ส่วนใหญ่แล้วจะต่ำกว่า 6.0 หรือ 5.8 ลงไปเป็น 4 เป็น 3 เป็น 2 คือเป็นกรดจัดมากๆ ที่เป็นกรดจัดมากๆเนื่องด้วยว่าเราใส่ปุ๋ยเคมี เราใช้ยาฆ่าแมลงมาระยะเวลานาน กรดจากปุ๋ยเคมีอะไรต่างๆมันก็ไปสะสมบ่มเพาะอยู่ในเนื้อดิน แล้วก็ชีวิตนี้ใช้เป็นแต่ปุ๋ยเคมีคือใช้จนติดเป็นนิสัย ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วรู้สึกผลผลิตมันน้อย มันเหมือนขาดอะไรไปอย่างเหมือนทำกับข้าวแล้วไม่ได้ใส่ผงชูรสประมาณนั้น แต่เราก็ไม่ได้ว่าเรารังเกียจปุ๋ยเคมีนะ ปุ๋ยเคมีก็ถ้าเราใช้อย่างถูกวิธี ใช้อย่างผู้มีความรู้ คือการแทนที่จะใช้ปุ๋ยเคมีเดี่ยวๆเพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลานาน เราก็ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ใช้กับจุลินทรีย์ขี้วัวขี้ควาย จุลินทรีย์หน่อกล้วย จุลินทรีย์ขุยไผ่ หรือแม้กระทั่งจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกันไป ดินตรงนั้นก็จะมีโอกาสเสียน้อย ไม่มีโอกาสที่จะแน่นแข็ง เพราะว่าการใช้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกมีผลทำให้โครงสร้างของดินดี ซัลเฟตหรือกรด หรือของเสียที่มันเป็นส่วนเกินจากปุ๋ยเคมี ก็จะถูกจุลินทรีย์โดยเฉพาะจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างขี้วัวขี้ควายเขาจะมียีสต์ รา โปรโตซัว สายพันธุ์ที่ย่อยสลายพวกของเสียเหล่านี้ได้ดี อันนี้เป็นเรื่องของการปรับปรุงดิน เทคนิคดูแลดินว่าค่า pH หรือ ค่าทางเคมีจะต้องอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 จะต้องเป็นกรดเล็กน้อย กรดเล็กน้อยเป็นภาษาราชการถ้าเป็นภาษาชาวบ้านเป็นกรดอ่อนๆก็ได้ เอาเป็นว่าเราใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับ ทีนี้ถ้าเราจะผสมดินปลูกเหมือนที่เขาขายกันตามตลาดนัดสวนจตุจักร ขายในม.เกษตรศาสตร์ประตู 3 ในปัจจุบัน หรือตามถนนหนทางที่ขายดิน ถ้าเราไปปลูก กล้วย อ้อย ยาง มัน ปาล์ม ทุเรียน มังคุด ผสมปลูก ใส่ใบก้ามปู ใส่ขี้ค้างคาว ผมว่ากำไรของเพื่อนๆมันจะตกไปจมกับวัสดุที่นำไปผสม ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงนาผืนใหญ่ๆ ในสวนผืนใหญ่ๆ เราไม่ต้องทำให้มันเสียงบประมาณ แต่ถ้าใครมีเงินก็ไม่ได้ว่าอะไร ถ้าเพื่อนๆมีเงินจะผสมใส่โดโลไมท์ ใส่ฟอสเฟต ใส่ขี้ค้างคาว ใส่ใบก้ามปู ใส่ขุยมะพร้าว และปรับหน้าดิน ทำไมต้องใส่แบบนี้ สำหรับผู้ปลูก หรือทำเกษตรแบบเล็กน้อย ทำเป็นงานอดิเรก ทำเป็นผักสวนครัว รั้วกินได้ ก็ยังถือว่าสูตรการใช้ทำเป็นสูตรที่แท้จริงเราก็อาจจะใช้ดิน 50% เอามาพรวนให้ร่วนซุยแล้วก็ใส่ขี้เถ้าแกลบลงไป 1 ส่วน ใส่โดโลไมท์ ฟอสเฟต ใส่ภูไมท์ซัลเฟต ใส่ใบก้ามปู ใส่ขุยมะพร้าว จัดสัดส่วนให้มันเต็ม 100 % มีวัตถุดิบอะไรที่มากกว่าก็สามารถที่จะใช้สูตรนี้ ตัวโดโลไมท์กับฟอสเฟตอย่างละ 1 ส่วน หรือ 0.5 ส่วน ความจริงแล้วก็มีรายละเอียดในเรื่องของการเช็คค่าความเป็นกรดหรือด่างก่อนด้วย เพราะว่าโดโลไมท์ที่ให้แคลเซียมกับแมกนีเซียมคอมโบเนตจะให้ความเป็นด่างเหมือนกับฟอสเฟตที่ให้ฟอสโฟรัสในการเพิ่มรากของแคลเซียมมเหมือนกันก็จะมีความเป็นด่าง ก็ต้องตรวจวัด pH ก่อน เอาง่ายๆว่าตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของการที่เราจะทำสูตรดินแบบพอเพียง แบบงานอดิเรก หรือทำแบบปลูกผักสวนครัว หรือใครจะเอาไปประยุกต์ทำเป็นดินขายก็ถือว่าเป็นสูตรที่เบสิคไปค่อนข้างดีเลย เพราะว่าวัตถุประสงค์ก็คือต้องเป็นดินดำ น้ำชุ่ม คือหลายคนเวลาปลูกพืชต่างๆ เอาง่ายๆว่าเกิน 60-70 % ที่ปลูกแล้วรดน้ำเยอะ รดน้ำอย่างเดียว รดตะบี้ตะบัน รดน้ำแล้วโครงสร้างดิน มันเหนียว มันแข็ง มันแน่น ทำให้ดินมันไม่ระบายถ่ายเทน้ำ เป็นดินที่อุ้มน้ำ กักเก็บน้ำ จนท่วม ขัง แฉะ และน้ำท่วม น้ำขัง น้ำแฉะมากเกินไป เนื่องจากคุณสมบัติหรือโครงสร้างทางกายภาพของดินไม่เหมาะสม ตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหาพวกใบเหลือง ใบเหี่ยว ใบไหม้ ใบจุด ใบด่าง รากเน่าโคนเน่า เพราะว่าเป็นดินที่ไม่โปร่งฟู ร่วนซุย ถ้าสามารถใช้สูตรที่ผมบอกไปว่าใช้ดินประมาณ 50 % หรือเป็น 5 ส่วน บวกโดโลไมท์ ฟอสเฟต รวมกันให้ได้ 1 ส่วนก็ได้ ต้องดู pH หินภูเขาไฟ 1 ส่วน ใบก้ามปู 1 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน แกลบดำ 1 ส่วน เอามารวมกันดินตรงนี้ก็จะมีทั้งแคลเซียม มีแมกนีเซียม มีฟอสโฟรัส มีเหล็ก ทองแดง แมงกานีส มีขุยมะพร้าวทำให้การระบายถ่ายเทดี ก็สามารถที่จะทำให้การปลูกต้นไม้ของเรามีโอกาสประสบความสำเร็จได้ดี มาดูดินที่เขามาขาย เพื่อนๆเคยสังเกตไหมว่าดินที่เอามาขาย มันจะร่วนหรือใช้งานได้ดีในช่วงที่เราปลูกใน 2 สัปดาห์แรก หรือ เดือนแรก พอผ่านไปเดือนที่ 2 มันเหมือนมีดินเหนียวหรือขี้เถ้าอยู่ในกระถางที่เราปลูก ตรงนี้เป็นดินที่ไม่ดี โครงสร้างทางกายภาพ ที่เป็นเช่นนี้มันเหนียว มันเหนียวเพราะว่าแบรนด์ที่ขายดินมาหลายสิบปี ขุดหน้าดินลึกลงไปเรื่อยๆ ดินที่เอามาตากแห้ง ตีปั่น และก็หมักกับขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ มันคือดินเหนียวที่ยังไม่ผ่านกระบวนการหมักจนสมบูรณ์ มันคือดินเหนียวที่แทรกอนูด้วยขี้เถ้าแกลบ เวลาเราเอามาปลูกมันก็ร่วนในตอนแรกแต่ถ้ามันเป็นหน้าดินของจริง หรือเป็นดินเหนียวที่ตากแดดเป็น 10 ปี แต่มันขายดี ขายดีก็มันยังหมักไม่ได้ที่ เมื่อหมักไม่ได้ที่เราเอามาปลูก เพราะฉะนั้นเทคนิควิธีการดูแลพวกนี้ท่านจะต้องใช้พวกสารละลายดินดาน สารละลายดินดานที่มีค่าแอมโมเนียมลอเรตซัลเฟตอีเทอร์ 29 % เอาให้มันสูงๆหน่อยหรือเรียกสั้นๆว่า ALS29 ตัวนี้เราใช้ 20-30 ซีซี ร่วมกับตัว โพแทสเซียมฮิวเมท คือกลุ่มของฮิวมิกที่เป็นสีดำๆ เราผสมน้ำรวมกันแล้วก็อาทิตย์ละครั้งราดรดในไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ดินก็มีกายภาพหรือโครงสร้างดินที่มองเห็นด้วยตาเป็นลักษณะจะได้ดินที่ชุ่มแต่ไม่แฉะ ดินที่จะชุ่มแต่ไม่แฉะหลังจากรดน้ำโดยเฉพาะมือใหม่รดน้ำเยอะ หลับหูหลับตารด ยังไงก็รดน้ำไว้ก่อนเพื่อไม่ให้ต้นไม้ คิดว่าต้นไม้มีน้ำอย่างเดียว รดจนแฉะน้ำท่วมขังราก อ็อกซิเจนน้อย เชื้อโรครุมเร้า ถ้าไปเป็นเกษตรแปลงใหญ่ทำนาทีเป็น 10 ไร่ 20 ไร่ 50 ไร่ หรือ 100 ไร่ ทำสวนส้ม เงาะ ลองกอง มังคุด ดินต่างๆตรงนี้ก็เหมือนกัน รัศมีรอบทรงพุ่มโคนต้นของทุเรียน ลองกอง มังคุด ท่านไปดูปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งๆทำสวน ลองไปดู ใต้โคนต้นไม้ของปราชญ์ ท่านปราชญ์เหล่านั้นจะมีลักษณะเป็นดินดำน้ำชุ่ม เรียกว่าปรุงรส ปรุงดินอยู่ใต้โคนพุ่ม ใส่ขี้เถ้าแกลบหน่อย แกลบดิบนิด มูลนกกระทาหน่อย มูลไก่นิด ขี้ค้างคาวบ้าง หินภูเขาไฟพวกภูไมท์ซัลเฟตทำให้โปร่งฟูร่วนซุยอีกนิดหน่อยเขาจะปรุงจะแต่ง เขาก็จะปรุงไปเรื่อย ปรับดินของเขาทำให้หน้าดิน นุ่ม ฟู ลึก ระบาย ถ่ายเทน้ำได้ดีอยู่ตลอดมา การที่ดินเขาจะเป็นดินดำ น้ำชุ่ม ชุ่มและไม่แฉะ ก็มีปัจจัยพื้นฐานเหมือนที่เล่าให้เพื่อนๆได้ฟังไปในตอนแรก ถ้าเราจะทำเป็นธุรกิจการใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองในอัตรา 1-2 กระสอบต่อไร่ จะช่วยทำให้ดินเป็นดินที่ชุ่มแต่ไม่แฉะ เป็นดินที่ระบายถ่ายเทน้ำได้ดีอยู่ตลอดเวลา มาดูว่าถ้าเราปลูกทำนาถ้าเราใช้ภูไมท์ซัลเฟต 1-2 กระสอบหว่านในปริมาณที่ 10 ไร่ 50 ไร่ หรือ 100 ไร่ และบวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก คือต้นทุนการดูแลดินที่ประหยัดเงินที่สุด การใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกไร่ละ 100 โล 200 โล ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของดิน ถ้าเป็นดินทางอีสานส่วนใหญ่แล้วจะเป็นดินทราย ดินไม่กักเก็บน้ำ การใช้หินแร่ภูเขาไฟอย่างภูไมท์ซัลเฟตจะช่วยทำให้ดินมีค่าความจับตรึงหรือแลกเปลี่ยนประจุได้ดีเรียกว่าเป็นดินอุ้มน้ำ อุ้มปุ๋ย ดินดำน้ำชุ่ม เพราะดินทรายค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนหรือกักเก็บความชื้น การกักเก็บสารอาหารได้น้อย ในหินภูเขาไฟมีค่า C.E.C ต้องเติมพวกนี้เข้าไปบวกกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ก็จะทำให้ดินตรงนั้นเป็นดินที่ชุ่มแต่ไม่แฉะเพราะการระบายถ่ายเทน้ำได้ดี

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×