วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงอาชีพอีกอาชีพหนึ่งนั่นก็คือการเพาะเห็ด คิดว่าเป็นอาชีพที่คนในก็อยากออก คนนอกก็อยากเข้า คือดูแบบผิวเผินคิดว่าการเพาะเห็ดนั้นง่าย แต่จริงๆแล้วทุกอาชีพถ้าลงลึก เจาะดีเทลใส่เข้าไปในรายละเอียด มันก็มีความยาก ความซับซ้อน ทุกสายงานอาชีพ แม้แต่เรื่องการเพาะเห็ดถ้าท่านทำเป็นอาจิน ทำเป็นรายปีทุกปี มันก็มีปัญหาโดยเฉพาะเรื่องของโรคแมลงศัตรูพืช ศัตรูของเห็ด หรือไปทำงานในเชิงการบริหาร ในเมือง ในออฟฟิศ จะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ในงานนั้นที่ทำเป็นอาชีพ ทำทุกวันก็ แน่นอน มันหลีกหนีปัญหาไม่ได้ ต้องมีเรื่องให้แก้กันทุกวัน วันนี้เราจะมาบอกเทคนิค วิธีการปราบเจ้าแมลงหวี่ แมลงหวี่ถือว่าเป็นศัตรูของเห็ดที่สร้างความรำคาญ ทำให้หน้าก้อนอาจจะนำมาซึ่งเชื้อโรค ทำให้เส้นใยเน่า หรือเดินไม่ดีทั้งๆที่จะเก็บผลผลิตได้ เดี๋ยวมาฟังกัน
การที่เราจะดูแล ป้องกันแมลงหวี่ แม้ว่าจะมีอันตรายร้ายแรง น้องเจ้าไร ไรแดง ไรดีด และไรไข่ปลา พวกนี้ถือว่าถ้าเข้าฟาร์มไหน โครตเซียนเห็ดยังกลัว พวกเซียนเห็ดยังกลัวไร จากเมื่อก่อนทำฟาร์มและโรงเรือนใหญ่ๆ บางทีก็สู้กับไรไม่ไหว ก็ต้องทำเป็นโรงเรือนขนาด 3,000 ก้อน 5,000 ก้อน หรือ 10,000 ก้อน เพราะถ้าไรเข้าโจมตี จะได้เสียหายแค่เพียงโรงเรือนย่อยๆ โรงเรือนเล็กๆไปก่อน แต่ปัจจุบันช่วงนี้เรามีจุลินทรีย์ตัวใหม่ ชื่อ พาซิโรไมซิสไรซินัส ตัวนี้เป็นชีวภัณฑ์ เป็นชีวภัณฑ์หรือจุลินทรีย์ที่เก่งมากในเรื่องของการเจาะทำลายไข่ของพวกไร ถ้าเป็นเกษตรกรทั่วไปเขาสามารถทำลายพวกไข่หอยเชอรี่ ไข่เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไข่ของหนอนกระทู้ พวกที่ปลูกผักคะน้า ปลูกผักและมีปัญหา เจ้าพาซิโรไมซิสไรซินัส หรือชื่อการค้าว่านีมาเคียว ตัวนี้ก็เอามาเป็นน้องสุดท้องของตระกูล 5 เสือจุลินทรีย์ชีวภาพ ที่ต่อจากพวก คัทอ๊อฟคือบิวเวอร์เรียแล้วก็เมธาไรเซียม คัทอ๊อฟหรือบิวเวอร์เรีย ตอนนี้ก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็นอีกชื่อหนึ่งชื่อบูเวเรีย เผื่อแฟนๆที่เพาะเห็ดเอาไปใช้ปราบพวกแมลงหวี่ พวกหนอน แต่ตัวที่เด่นมากๆคือเจ้าชื่อสามัญว่าพาซิโรไมซิสไรซินัสถ้าทำงานร่วมกับเจ้าบูเวเรียกับฟอร์แทรน เจ้าพวกแมลงหวี่ แมลงหวี่ลองไปทดลองกันก่อน แต่ถ้าเป็นพวกไรไข่ปลา พวกไรแดงก็ปรากฏว่า ใช้งานค่อนข้างดี แมลงหวี่ที่มันยากก็ตรงที่มันบินได้เวลาเราฉีดสเปรย์แล้วตัวมันเล็ก แมลงหวี่สาเหตุส่วนหนึ่งก็คือการที่เราเก็บก้อนเชื้อเก่าแล้วไม่ทำลาย กลบ ฝังให้ดี มันก็จะมีกลิ่นบูดเน่าที่ดึงดูดเจ้าแมลงวัน แมลงหวี่ แมลงวันพวกหลังโก่งเหล่านี้ก็จะถูกดึงดูดให้เข้ามาในฟาร์มเรา มาตอมหน้าก้อน มาตอมขา มันก็สกปรก ก็นำพวกราเขียว ราเหลือง ราเมือก ราส้ม เข้ามาเพิ่มเติมอีกยิ่งปวดหัวกันไปใหญ่เลย เพราะฉะนั้นเบื้องต้นเลยสาเหตุที่เน่าเสียควรเอาไปกลบฝังหรือเอาไปตีป่น แตก ทำเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก แล้วก็ไปใส่โคนต้นไม้ เดี๋ยวนี้ก้อนเชื้อเห็ดเก่า ใครๆก็อยากได้ ประกาศขายซีป่นแล้วก็ใส่กระสอบปุ๋ยประกาศขายเดี๋ยวเขาก็มาเอา เพราะว่าตรงนี้นอกจากจะเป็นวัสดุที่เหลือใช้แล้วก็ยังเป็นแหล่งหมักหมมบ่มเพาะเชื้อโรคที่จะดึงดูดเข้ามาในฟาร์มเรา สาเหตุที่สองก็คือเรื่องความชื้นแฉะ บางทีความชื้นที่เกิน 90% ขึ้นไป บวกกับหน้าก้อนไม่สะอาด เวลาเก็บเห็ด เวลาดึงเห็ด แล้วก็ค่อยๆโยก บิดซ้าย บิดขวา แล้วดึง แน่นอนทำเป็นอาชีพไม่เหมือนทำโชว์เวลาดึงเห็ดโชว์ก็ดึงออกหมด แต่เวลาทำงานจริงมันรีบ เก็บเห็ดตื่นแต่เช้า บิดดึงมานั่งพิถีพิถันอยู่ก็ไม่ได้งานมันก็จะมีก้านเห็ด เศษเห็ด ที่มันตกค้างที่หน้าก้อนที่เวลานั่นเขาจะเอาด้ามช้อนฉีดสเปรย์แอลกอฮอร์ 70% แล้วก็ไปขูดออก บางทีถ้าคนงานไม่ประณีต ไม่พิถีพิถัน เศษก้านเห็ด ตีนเห็ด ที่มันตกค้างมันเป็นโปรตีน โปรตีนพอมันบูดเน่าเกิดก๊าซพวกไฮโดรเจนซัลไฟต์ พวกแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่าก็ดึงดูดพวกแมลงหวี่เข้ามาในฟาร์มหรือในโรงเรือนเราโดยเฉพาะก๊าซไข่เน่าหรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ลองไปดูในฟาร์มไก่ ฟาร์มไก่เขาให้อาหารที่มีโปรตีนสูง เห็ดก็เป็นโปรตีน 90 กว่าเปอร์เซน ในเทคเจอร์หรือเนื้อเยื่อเขา ฟาร์มไก่ที่ขี้ขับถ่ายมูลออกมาดูแลไม่ดีก็มีแมลงวันเพราะฉะนั้นเวลาจะไปซื้อขี้ไก่ในฟาร์ม ส่วนใหญ่ก็จะไปเจอโซดาไฟที่เขาใช้ในการฆ่าหนอนในขี้ไก่ เอามาใส่ในพวกพืชอ่อนแอ อิ่มน้ำ อวบน้ำอย่างพวกแอสปาลากัส พวกหน่อไม้ฝรั่ง พวกหอม ฉีดมันตายหมด เหลือง แดง ทำไมขี้ไก่ไม่ดี ขี้ไก่ดีแต่เจ้าของฟาร์มเอาโซดาไฟไปใส่เพื่อฆ่าหนอน เดี๋ยวนี้ต้องลองใช้พวกบีที พวกบาซิลลัสทูริงเยนซิส เป็นเสือตัวที่ 2 ที่ชื่อว่าไบโอแทค หรือถ้าใช้ร่วมกับตัวนีมาเคียวหรือพาซิโรไมซิสไรซินัส ตัวนี้รับรองว่าเด็ด พาซิโรไมซิส มันเด่นดังมานานแล้ว แต่กว่าจะจดทะเบียนได้ยาก เหมือนที่เคยเอามาบอกกล่าวเล่าสู่ให้เพื่อนๆได้ฟัง แต่ตอนนี้จดได้แล้ว ก็อยากให้เพื่อนๆลองเอาไปใช้ดูโดยเฉพาะแมลงหวี่ ฉีดสเปรย์ การป้องกันแมลงหวี่ไม่ได้ง่ายๆเริ่มแรกถ้าเป็นโรงเรือน ควรต้องมีม่านพลาสติก เวลาคนงานจะเข้าไปก็ให้เป็นม่านพลาสติก เดินเข้าไปแล้วมันปิดหรือหุบเอง ก็จะช่วยกันแมลงหวี่ได้ดีในระดับหนึ่ง ถามว่าหมดไหม ไม่หมดหรอกครับ ต้องทำกระดาษเหลือง กาวเหนียว ไปหากระป๋องน้ำมันเครื่องที่สีเหลืองๆแล้วเอามาตัดให้เป็นแผ่น ค่อยแขวน ทากาว แป้งเปียกหรือกาวที่คิดว่าเหนียวดีที่สุด กาวอะไรต่างๆที่เขามีขาย ถ้าไม่อยากซื้อก็ต้องทำเอง แล้วห้อยไว้ในโรงเรือนในกรณีที่เราเจอแมลงหวี่ระบาดเยอะๆ เวลามันเยอะมันน่ารำคาญแล้วทำให้ดอกเห็ดเราหงิกงอ แล้วก็ถ้าไปตอมหน้าก้อนเยอะๆก็เส้นใยไม่เดินสำคัญนะครับ อันที่ 3 ต้องฉีดพวกสมุนไพรไล่ ก็คือพวกขมิ้นชัน ไพร ฟ้าทลายโจร ตะไคร้หอม กานพลู เปลี่ยนกลิ่น เปลี่ยนรส เหมือนเรา ถ้าเราไปเที่ยวแถวอินเดีย ไม่ชินกับอาหาร ไม่ชินกับกลิ่นสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นหอมของเขา ไม่ใช่ว่าเขาไม่ดีแต่เราไม่ชิน อาจจะทานอาหารได้น้อย กินได้น้อย แมลงศัตรูของพืชและเห็ดก็เหมือนกัน ถ้าเขาไม่ชอบกลิ่นไม่ชอบอะไรเขาก็ลดการเข้ามาทำลาย ลดการเข้ามาแต่งงาน มาฮันนีมูนในฟาร์มเห็ดเราได้ แมลงหวี่ต้องระวัง เข้ามาแล้วถ้ามีพวกราเขียว ราเมือก ราส้มอะไรต่างๆ อาจจะต้องใช้พวกบาซิลลัสซับทิลิส พวกไบโอเซนเซอร์ เข้าไปช่วย แต่อย่าใช้ไตรโคเดอร์มาเด็ดขาด ไตรโคเดอร์มาคือศัตรูโรคเห็ดหมายเลข 1 จะใช้ได้เฉพาะชื่อสามัญว่าบาซิลลัสทับซิลิส หรือ ไบโอเซนเซอร์ก็จะมาคู่เคียงกันเลยต้องบอกไว้ก่อน วิธีที่ 4 ของเทคนิคการป้องกันแมลงหวี่ก็คือใช้พวกบูเวเรีย เมธาไรเซียม และตัวใหม่ล่าสุดชื่อพาซิไมซิสไรซินัส แม้ว่าแมลงหวี่ยังไม่ได้ทำการทดสอบอย่างเป็นทางการแต่คิดว่าสามารถกำจัดได้และมีประสิทธิภาพค่อนข้างดี แต่ที่สำคัญคือต้องฉีดให้โดนตัว ตัวนี้การใช้เหมือนกับบูเวเรีย และเมธาไรเซียม แทบจะทุกประการคือสะดวก ใช้ 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ใช้ สะดวกหมักขยายกับแป้งข้าวโพดก็ใช้ ใช้ได้ทั้ง 2 รูปแบบ แมลงหวี่ก็คือประตูต้องมีม่านพลาสติก เป็นริ้วๆ ใช้กระดาษเหลือง กาวเหนียว ใช้สมุนไพรฉีดพ่น ใช้ชีวภัณฑ์ อย่าใช้สารพิษเป็นอันขาด เพราะว่าสภาพโรงเรือนเห็ดมันเป็นระบบปิด ไม่โอเพนแอร์หรือเปิดเหมือนนาข้าว สวนผัก ห้ามใช้สารพิษจะทำให้ตัวเองเสียชีวิตเหมือนในข่าว แล้วก็เรื่องของความชื้น อย่าให้เกิน 90% อย่าให้แฉะ หน้าก้อนเห็ดก็อย่าให้มันมีเศษอาหารตกค้างเหมือนฟาร์มไก่ พวกนี้เป็นโปรตีน เมื่อเน่าเสียมันจะส่งกลิ่นเชิญชวนแมลงหวี่ เข้ามา ก้อนเชื้อเห็ดเก่าก็แจกเพื่อนที่ปลูกผัก ผลไม้ กลบ ฝัง เก็บ แต่เสียดายไม่อยากให้เอาไปกลบฝัง อยากให้เอาไปทำเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกใช้งานต่อ ถ้าเป็นพื้นโรงเรือนทั้งในและรอบๆโรงเรือนมีแฉะ มีสิ่งที่บูดเน่า หรือมีน้ำคลำอะไรต่างๆ อาจจะต้องทำความสะอาดให้แห้ง แต่ถ้ามันเป็นแหล่งของทางเดินระบายน้ำ อาจจะต้องใช้พวกสเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ ไปหว่านโรยเพื่อลดกลิ่นพวกนั้นได้ แต่ก็อาจจะสิ้นเปลือง แต่ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้พวกสเม็คไทต์ ไคลน็อพติโลไลท์ พวกนี้จะไปจับกลิ่น ลดกลิ่น เพื่อไม่ให้ดึงดูแมลงหวี่เข้ามา
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com