ยุคที่พื้นที่สีเขียวในเมือง หดหาย การทำเกษตรในเมือง หรือ Urban Agriculture จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างแหล่งอาหาร และลดค่าใช้จ่าย แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ แต่ด้วยเทคโนโลยี เช่น โรงเรือน Glass House และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้การปลูกผักในเมืองเป็นเรื่องง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การเกษตรในเมือง (Urban Agriculture) เป็นแนวทางการผลิตอาหารที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองหรือพื้นที่จำกัด โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพาะปลูกที่ตอบโจทย์การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า เช่น บนดาดฟ้า ระเบียงบ้าน หรือพื้นที่ว่างเปล่าในชุมชน แนวทางนี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร แต่ยังลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการขนส่ง และสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองอีกด้วย
หลังจากไปดูงาน AIHEF 2024 (Asia International Hemp Expo & Forum) พบว่าข้อมูลทุกๆด้านมีความก้าวหน้าไปมากๆเลยทีเดียว ภายในงานมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประชันขันแข่งกันมากมาย เช่น
โรงเรือน Glass House ที่มีโครงสร้างโปร่งแสงที่ควบคุมสภาพแวดล้อมภายในได้ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืช และลดความเสียหายจากสภาพอากาศ
วัสดุที่ใช้ทำ Glass House มีหลากหลาย เช่น กระจก, อะคริลิก, โพลีคาร์บอเนต เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงบประมาณและชนิดของพืช
ระบบปลูกพืชไร้ดิน มีวิธีการหรือเทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น Hydroponics, Aeroponics ใช้น้ำที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ ช่วยประหยัดพื้นที่ ควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ มีข้อสังเกตุว่าเกือบทุกบู๊ธที่นำเรื่องสารอาหารมาแสดงจะมแร่ธาตุซิลิก้ามาใช้เกือบทุกบู๊ธ แต่พอสอบถามจึงทำให้รู้ว่าเป็นซิลิก้าที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง คาดว่าน่าจะนำมาจากโพแทสเซียมซิลิเกต ข้อเสียคือการซึมซับเข้าสู่เซลล์พืชจะสู้ซิลิก้า หรือ ซิลิสิค แอซิดในรูปกรดไม่ได้ ซึ่งมีอนุภาคสอดคล้องกับระบบท่อน้ำท่ออาหารของพืชทั่วไป
ระบบควบคุมอัตโนมัติ ใช้เทคโนโลยี IoT เช่น เซ็นเซอร์, ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, ระบบให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติ ช่วยลดแรงงาน ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพ
แสงไฟปลูกพืช (LED Grow Lights) ใช้สำหรับพื้นที่ที่ได้รับแสงธรรมชาติน้อย โดยเลือกความยาวคลื่นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช เช่น แสงสีแดงและน้ำเงิน แสงไฟ LED อันนี้มีมากมายหลายบริษัทที่มานำเสนอ โดยเฉพาะจากประเทศจีนนี้ค่อนข้างมากกว่าประเทศอื่นๆ
ข้อดีของวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดนี้คือ สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, ป้องกันศัตรูพืช, เพิ่มผลผลิต ช่วยประหยัดน้ำ, ควบคุมสารอาหาร, ลดโรคพืช, ไม่ต้องใช้ดิน, ลดต้นทุนแรงงาน, ควบคุมสภาพแวดล้อม, เพิ่มผลผลิต, ช่วยควบคุมช่วงแสง, ประหยัดพลังงาน, เพิ่มผลผลิต
ส่วนเรื่องที่ควรพิจารณาก็จะมี เรื่องค่าใช้จ่าย, ราคา, การระบายอากาศ, การบำรุงรักษา, ความรู้ความเข้าใจระบบ เทคโนโลยี การเลือกใช้ชนิดของหลอดไฟ
โอกาสในการทำเกษตรในเมือง คือช่วยสร้างรายได้ จำหน่ายผลผลิต เช่น ผักสลัด, สมุนไพร, เห็ด ให้กับผู้บริโภคในเมือง ร้านอาหาร หรือตลาดใกล้บ้าน ทำให้มีโอกาสปลูกผักไว้บริโภคเอง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยลดมลพิษ เพิ่มความร่มรื่น และสร้างความสวยงามให้กับเมือง ส่งเสริมสุขภาพ มีผักสดปลอดภัยไว้รับประทาน ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชน เป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงผู้คนในชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ดร.มนตรี บุญจรัส
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
ประธานชมรมเกษตรปลอดสารพิษแห่งประเทศไทย