วันนี้เราจะคุยกันเรื่องของอินดิวเซอร์ , ไบโอเซนเซอร์ มันใช้งาน ลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร ตัวอินดิวเซอร์คือชื่อการค้าของจุลินทรีย์ที่ชื่อว่าไตรโคเดอร์มา ไตรโคเดอร์มาเป็นจุลินทรีย์อยู่ในหมวดของเชื้อรา เป็นเชื้อราที่เป็นปฏิปักหรือเป็นศัตรูต่อเชื้อราโรคพืชต่างๆ เราจึงมีการพัฒนา วิจัย จริงๆแล้วถ้าเป็นโดยส่วนตัว ผมจะได้เรียนรู้การพัฒนา วิจัย จากท่านอ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ท่านแรก และก็เป็นสถาบันแห่งแรกที่ทำให้ผมได้รู้จักไตรโคเดอร์มา ในยุค 20-30 ปีที่แล้วนั้นไตรโคเดอร์มาก็ใครจะผลิต ใครจะจำหน่ายก็ไม่ได้มีความเข้มงวดเหมือนในปัจจุบัน ดูๆก็เหมือนว่าพวกนายทุน พวกบริษัทค้ายาต่างชาติในอดีตยังไม่ได้ให้ความสนใจ เขาก็ไม่ได้ดูแล พอปัจจุบันมีแนวโน้ม หรือเทรน หรือกระแสเรื่องของเกษตรอินทรีย์ชีวภาพมากขึ้น เขาก็เจ้าไตรโคเดอร์มาคงจะไปทำลายยอกขายของพวกสารเคมีที่เป็นพิษก็ทำให้มีนโยบายกำกับ ควบคุม ดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ อาจจะเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ทำให้ปราชญ์ชาวบ้าน ทำให้หมอดินอะไรต่างๆก็ถูกจับดำเนินคดีตรวจสอบ รวมถึงปุ๋ยอินทรีย์ด้วย ผลิตก็ไม่ได้เพราะว่าพี่ๆสารวัตเกษตรจะมาตรวจมาดู ทำตามหน้าที่โดยอาจจะไม่ได้เคลือบแครงระแวงสงสัย นโยบายมาจากกลุ่มคณะกรรมาธิการที่มีพ่อค้านายทุนไปประชุมสุมหัวแล้วออกกฎระเบียบมาและออกเป็นมาตรการกฎหมายมาบังคับ ทำให้ประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ก็เหนื่อยหน่อยในการที่ลุงมาตามี ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความรู้ องค์ความรู้มาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย ผลิตปุ๋ยผลิตดินต้องมี จะทำขายแจกจ่ายในชุมชนให้ลูกหลานทดแทนร้านขายยาฆ่าแมลงเคมีพิษทำไม่ได้ เพราะทำแล้วต้องทำให้เหมือนกับบริษัททั่วไปก็คือต้องมีโรงงาน เจ้าหน้าที่บอก คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ต้องมี รง.4 นะ ไปสร้างโรงงานไปขออนุญาตจากอุตสาหกรรมจังหวัด มีโรงงานลงทุนสัก 4-5 ล้าน แล้วก็สร้างห้องแลปอีก 1-2 ล้าน ลุงถึงจะขายได้นะ ทำให้ของดีๆ ภูมิปัญญาไทยๆ สไตรเหมือนคนไทยผลิตรถอีแต๋น จู่ๆมาบอกเครื่องอีแต๋นมันไม่เวิคต้องไปเอาเครื่องเบ้นท์มาใส่คุณต้องทำให้เหมือนต่างประเทศก็เป็นที่มาของ ทำให้บางทีความสอดคล้อง ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ท้องถิ่น สังคม มันก็ไม่แมต
เกษตรกรประชาชนที่เป็นคนท้องถิ่น
เป็นคนทำมาหากิน เป็นคนประเพณีดั้งเดิม จุลินทรีย์ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ทำอาหารเสริม
ทำอะไรต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิต ที่เกี่ยวกับกระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณะสุข อะไรเยอะแยะมากมาย
อันนี้เป็นหลักการคร่าวๆว่าจึงเกิดการพัฒนา วิจัย จนได้ตัวอินดิวเซอร์
ที่เป็นชื่อการค้าของไตรโคเดอร์มา ทีนี้ก็ไปดูอีกตัวหนึ่งเป็นคู่ต่อสู้กับไตรโคเดอร์มา
เป็นคู่เปรียบเทียบ ไบโอเซนเซอร์ก็ทำหน้าที่คล้ายๆกันกับอินดิวเซอร์เหมือนกัน
ไบโอเซนเซอร์เป็นกลุ่มจุลินทรีย์แต่อยู่ในหมวดหมู่ของแบคทีเรีย
อินดิวเซอร์เป็นราเขียว ไตรโคเดอร์มา ไบโอเซนเซอร์เป็นแบคทีเรียที่ชื่อบาซิลลัส
ซับทิลิส เพื่อนๆรู้ไหมครับว่าบาซิลลัส ซับทิลิส มีมากมายเยอะแยะเหมือนไก่ชน
ไตรโคเดอร์มาก็มีเหมือนกัน แต่บาซิลลัส ซับทิลิส
เราจะได้ยินที่ใช้ในเรื่องของการย่อยพวกฟอสเฟต ใช้ในการปศุสัตว์
ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา แต่มันก็ต้องคัดแยกเหมือนไก่ ไก่พันธุ์ไข่ ไก่เนื้อ
ไก่ชน มันจะทำหน้าที่เหมือนไก่ บาซิลลัส ซับทิลิส
แต่ต้องคัดเลือกสายพันธุ์ที่มันสามารถสร้างท็อกซิน สร้างเมือก
ออกมายับยั้งการทำงานของเชื้อโรค เวลามาแมตกัน แล้วทำไมมันต้องมี 2 ตัว
แล้วมันคนละสายพันธุ์ ทำไมมันช่วยในเรื่องของการป้องกันกำจัดโรคพืชได้ ตัวบาซิลลัส
ซับทิลิส หรือไบโอเซนเซอร์ มันวิเคราะห์วิจัยมาว่ามันเก่ง
เปรียบเหมือนตำรวจกับทหาร ตำรวจดูแลประชาราษฎร์ ในเมือง ในชุมชน
ทหารก็เป็นรั้วดูแลความมั่นคง ดูแลชายขอบ เขาเรียกว่ามีตำรวจเป็นบ้าน
มีทหารเป็นรั้ว ถ้ามองอินดิวเซอร์กับไบโอเซนเซอร์ก็เปรียบเหมือนว่าไตรโคเดอร์มาจะเก่งในเรื่องของการแก้พวกโรครากเน่าโคนเน่า
คือถ้ามีศัตรูอยู่ 10 เบอร์ หรือ 10 หมายเลข
เจ้าไตรโคเดอร์มาเขาก็จะเก่งในเรื่องของการทางดิน อาจจะปราบโจรผู้ขาย 10 หมายเลข
10 เบอร์ จะติดต่อ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 เบอร์ 5 เบอร์ 6 เบอร์ 7 เขาจะปราบได้ดี
ไฟทอปธอร่า ไซโคโลเทียม พิเทียม ไรซอบโทเนีย ต่างๆเหล่านี้ แต่พอเบอร์ 8 เบอร์ 9
เบอร์ 10 พวกโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย พวกไฟโตพลาสมา เขาสู้ไมได้
เช่นแคงเกอร์ในมะนาว หรือแอนแทรคโนส พวกที่เป็นอีบุบ หลุมยุบ หลุมดำ
มะม่วงในอะไรต่างๆ ตัวนี้จึงไปต้องพึ่ง ไปอาศัย ไบโอเซนเซอร์
ไบโอเซนเซอร์ก็ไม่ใช่ว่าผู้ร้ายก็เป็นทหารเป็นเพื่อนกัน เขาฉีดพวกบาซิลลัส
ซับทิลิส คนที่พัฒนาบาซิลลัส ซับทิลิส ที่โด่งดังมากๆ ก็เป็นท่านอ.ดีพร้อม
ไชยวงศ์เกียรติอีกเช่นเคย เป็นอ.ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.ให้นิสิตไปทำวิจัยอะไรต่างๆ ตอนแรกก็อยากจะไปหาเชื้อรา
แต่ปรากฏว่าคุณพลายแก้วเป็นนิสิตคณะประมงก็ไปกินส้มตำแล้วก็อยากจะรู้ว่าในส้มตำมีเชื้อจุลินทรีย์อะไรอยู่บ้าง
ก็ไปเจอเชื้อ ตอนแรกว่าจะเลี้ยงเชื้อรา
แต่กลับกลายได้แบคทีเรียที่มันล้อมไตรโคเดอร์มาจากกุ้งแก้ง อ.ดีพร้อมก็ท่านอนุรักษ์ความเป็นไทยและก็ไม่ค่อยก้มหัวให้กับฝรั่งต่างชาติเท่าไร
จุลินทรีย์ตัวนี้เราเจอในประเทศไทย แล้วปรากฏว่ามันเป็นแบคทีเรียที่ล้อมสร้างเมือก
สร้างท็อกซิน ล้อมเชื้อราอย่างไตรโคเดอร์มา อันนี้จะเป็นเชื้อราที่เก่งกาจมากๆ
ชื่อพลายแก้ว เป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทย
แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆแล้วก็เอาไปจดทะเบียน ผ่านการรับรองความถูกต้อง
มาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร ไปทดสอบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำแปลงทดสอบ วิจัย
อะไรต่างๆตาม process ทุกตัว 5
เสือจุลินทรีย์ชีวภาพใช้ระยะเวลาในการจดทะเบียน ขั้นตอนต่างๆ 7 ปีกว่าจะได้
ก็พูดให้เพื่อนๆได้ฟังมา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
แต่ก็แลกมาด้วยมาตรฐาน เรากล้าเขียนไว้ข้างกระป๋องเลยว่ามีเชื้อ 1×109
อินดิวเซอร์มี 2×108
อันนี้กฎหมายเพื่อนๆเวลาจะซื้อไตรโคเดอร์มาต้องดูเพราะว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีทะเบียน
ประเทศไทยเราก็เหมือนเดิม เอาสิ่งดีๆเป็นแนวชีวภาพ ไม่มีสารพิษ
ไม่รู้จะเอาไปไว้ในหมวดหมู่ไหนคิดไม่ได้ ก็เอาไปไว้รวมกับ พรบ วัตถุอันตราย
ความจริงมันต้องเป็น พรบ เกษตรอินทรีย์
แต่เดี๋ยวจะไปขายแข่งกับเคมีเมืองนอกมากเกินไปก็เลยเอามารวมเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่
2 ความจริงแล้วมันไม่อันตราย
ใช้ปราบปรามโรคพืชได้เหมือนกับสารพิษที่ต้องนำเข้ามาปีหนึ่งเป็นหมื่นๆล้าน
เรานำเข้าพวกสารพิษ พวกนาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง
ปีหนึ่งเป็นหมื่นๆล้าน แต่ถ้าสอนให้คนไทยใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ไทย ใช้ไตรโค บีเอส
บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม พวกเชื้อราที่ใช้ในการปราบโรคพืช ก็จะประหยัดต้นทุน
เราก็เลยพัฒนามาเป็นไบโอเซนเซอร์ ไบโอเซนเซอร์ปราบพวกแคงเกอร์ในมะนาว
โรคแอนแทรคโนสเก่งหมดเลย ไบโอเซนเซอร์หรือบาซิลลัส ซับทิลิส นอกจากจะปราบโรคพืชได้
ยังป้องกันกำจัดโรคในเห็ดได้ด้วย ถ้าเป็นตัวเก่าชื่อบีเอสพลายแก้ว
ในฟาร์มเห็ดทั่วประเทศจะต้องจำได้และรู้จักว่าบาซิลลัสทับซิลิส
ปราบโรคพืชตระกูลส้มโอ มะนาวได้ และยังเอาไปปราบโรคราเขียว ราดำ
ราเมือกในเห็ดเกือบทุกชนิดได้ด้วย
โดยที่เห็ดเป็นเชื้อราแต่ถูกตัวนี้ฆ่าราในเห็ดโดยที่เห็ดไม่ตาย
แต่เพื่อนๆอย่าเผลอเอาอินดิวเซอร์ไปฆ่าเชื้อราในเห็ด
อินดิวเซอร์คือไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรูหมายเลข 1 ของ วงการเห็ดหรือผู้เพาะเห็ด
อย่าเอาอินดิวเซอร์ไปใช้ในฟาร์มเห็ดเด็ดขาด เห็ดเป็นราชั้นสูง
เป็นพืชชั้นต่ำคือไม่มีคลอโรฟิลด์ เพราะฉะนั้นตัวไบโอเซนเซอร์ก็สามารถแก้ราเขียว
ราดำ ราเมือก ในเห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดมิวกี้ เห็ดเป่าฮื้อ
เห็ดตีนตุ๊กแกอะไรต่างๆได้เยอะแยะมากมาย พอมาแบทเทิลกัน มันเหมือนเอาตำรวจ
ทหารไปไว้ในดงโจร ถ้าสมัยก่อนอยู่ตามป่า ตามเขา หรือไปปราบโจรภาคใต้
ถ้าเราเพิ่มจำนวนให้มันมีทั้งตำรวจ ทหาร บางทีก็อยู่หนาแน่นกันจนกระทบไหล่ กระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เหลืออยู่เพิ่มจำนวนมากก็ยังปกป้อง
คุ้มครอง สวนเกษตรของเราได้ โดยที่ไม่ต้องไปซีเรียส เราสามารถที่จะใช้ควบคู่กัน
ทำไมต้องมี 2 ตัว ความจริงแล้วมีแค่ 2 ตัวนี้น้อยไป ถ้าเพื่อนๆได้ไปดู
ไปสังเกตปริมาณการนำเข้าของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
การนำเข้าพวกยาฆ่าเชื้อรามีเป็น 100 ยี่ห้อเลย หลากหลายชื่อสามัญชื่ออะไรต่างๆ มีเยอะแยะมากมาย
แต่สารชีวภัณฑ์มีแค่ 2 ตัว ในการเกษตรเพราะฉะนั้นการทำการเกษตรมันยาก เลยต้องใช้ 2
ตัว ร่วมด้วยช่วยกันในการทำเกษตร ฉีดลงไปในแปลงนาก็ไม่เป็นไร กัดกินกันบ้าง ทำลายกันบ้าง
มันไปที่ชอบๆ ตัวที่ชอบกินแบคทีเรีย ตัวที่ชอบกินรา อะไรต่างๆเหล้านี้
อันนี้ก็เป็นเรื่องราวของอินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์มา)ที่เอามาใช้ควบคู่กับไบโอเซนเซอร์(บาซิลลัส
ซับทิลิส)
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

