หนอนเจาะดอกมะลิ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของมะลิ ตัวหนอนมีลำตัวขนาดเล็ก สีเขียว ปาก หรือหัวมีสีดำ
จะเข้าทำลายดอกมะลิตั้งแต่ระยะเป็นดอกตูมขนาดเล็ก ซึ่งเกษตรกรสามารถสังเกตลักษณะ การเข้าทำลายของหนอนได้จากอาการของดอกมะลิเป็นรอยช้ำ จะเห็นมูลของหนอนเป็นขุยๆ อยู่ภายใต้ดอกสีของดอกมะลิ สีของดอกมะลิจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง สีน้ำตาลแห้ง เหี่ยวแห้งและร่วงหล่น กรณีถ้าต้นมะลิไม่มีดอกหนอนจะเข้าทำลายกัดกินใบอ่อนหรือยอดอ่อนถ้าหนอนระบาดหนักจะไม่มีดอกมะลิให้เหลือเก็บขายได้ หนอนเจาะดอกมะลิจะระบาดมากในช่วงฤดูฝน เกิดจากผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัยเพศเมียบินวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆตามกลีบดอก ก้านกลีบเลี้ยง ใต้ใบหรือรอยยอดอ่อน...เมื่อหนอนตัวอ่อนฟักออกจากไข่ จะเข้าทำลายดอกตูมที่มีขนาดเล็ก กัดกินเจาะดอกเข้าไปอยู่ภายในดอกมะลิ แนวทางป้องกันและกำจัดหนอนเจาะดอกมะลิ เมื่อพบการเข้าทำลายของหนอน ให้เกษตรกรใช้ไทเกอร์เฮิร์บที่ทำจากสมุนไพรบดละเอียดจากฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และตะไคร้หอม 1-2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้กระจายตัวนำไปฉีดพ่นให้ทั่วต้นทั้งบนใบและใต้ใบให้เปียกชุ่มโชก ช่วงเย็นแดดอ่อน คำแนะนำ ความถี่ห่างในการใช้ทั่วไป 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน เพื่อป้องกันผีเสื้อกลางคืนมาว่างไข่ ทำให้ผีเสื้อกลางคืนรู้สึกว่าบริเวณนี้มีกลิ่นที่ผีเสื้อกลางคืนไม่ชอบ รสชาติไม่อร่อย ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของลูกเขาก็จะช่วยลดหนอนเจาะมะลิได้ในระดับหนึ่ง เมื่อไม่มีผีเสื้อกลางคืนมาว่างไข่หนอนเจาะมะลิก็จะไม่มี หลังจากนั้น ให้ใช้ บาซิลลัส ธูริงจิเอนซิส(แบคเทียร์) 50กรัมต่อน้ำ20ลิตรฉีดพ่อนให้ทั่วแปลงทั้งใต้ใบและบนใบทุกๆ3-7วันครั้ง บาซิลลัส ธูริงจิเอนซิส(แบคเทียร์)จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในวิธีการกำจัดหนอนแบบปลอดสารพิษ ซึ่งไม่มีสารตกค้างอันตรายใด ๆ และสามารถนำไปกำจัดหนอนได้หลากหลายชนิด เช่น หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแปะใบส้ม หนอนร่านกินใบปาล์ม เนื่องจากการออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงสูง ในการทำลายหนอนเท่านั้นจึงมีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งปลา นก และแมลงมีประยชย์ที่ช่วยผสมเกสรเช่น ผึ้ง ต่อแตน เป็นต้น เพียงเท่านี้ผู้เขียนรับรองว่าหนอนจะค่อยๆหมดไปจากแปลงมะลิอย่างแน่นอน