หนอนหัวดำ เป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับมะพร้าวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย หนอนหัวดำสามารถเข้าทำลายมะพร้าวได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่พบว่ามีการระบาดรุนแรงบ่อยครั้งมักจะเป็นช่วง ฤดูฝน เพราะสภาพแวดล้อมที่ชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของหนอนหัวดำ หนอนหัวดำจะกัดกินใบมะพร้าวจนเหลือแต่เส้นกลางใบ ทำให้ต้นมะพร้าวขาดคลอโรฟิลล์ในการสังเคราะห์แสง ส่งผลให้ต้นมะพร้าวแคระแกร็น ผลผลิตน้อยลง และในที่สุดอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ ซึ่งตัวหนอนมีสีดำ หัวสีน้ำตาลเข้ม ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาล
โดยการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในมะพร้าวมีหลากหลายวิธีไม่ว่าจะทำการตรวจสอบสวนมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอเก็บทำลายใบมะพร้าวที่ถูกทำลายปลูกพืชหมุนเวียนใช้กับดักแสงเพื่อดักจับผีเสื้อกลางคืน หรือใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียน ในการกำจัดก็ได้ ซึ่งยังมีอีกวิธีที่ไม่ต้องพึ่งสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและล้อม โดยการใช้สารชีวะภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เป็นจุลินทรีย์ ชีวภาพ ปราบหนอนตัวร้ายเมื่อหนอนกินเข้าไปจะผลิตสารพิษที่ทำลายระบบทางเดินอาหารของหนอน ทำให้หนอนหยุดกินและตายในที่สุด เช่น หนอนกอ หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หมอนแก้ว หมอนด้วง หมัดผัก หนอนคืบกระหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนชอนใบ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยในการกำจัดและป้องกันหนอนได้ หรือถ้าใช้ร่วมกับตัวเชื้อราพาซิโลมัยซีส ไลลาซินัส จะช่วยควบคุมไข่หนอนและแมลง 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร บวกเพิ่มกับกลุ่มสารจับใบ แอ๊ดจั้สท์ 10-20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำในมะพร้าวได้ดียิ่งขึ้น การตรวจสอบสวนมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอทุก 7-10 วัน และฉีดพ่นสารชีวะภัณฑ์จะช่วยให้เราสามารถพบและกำจัดหนอนหัวดำได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
หากมีข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยครับhttps://thaigreenagro.com/ Line officl : @thaigreenagro , โทรศัพท์ 0-2986-1680, 084-555-4207
บทความโดย นายสายชล ทองเศรษฐี
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด