"หนอนกอข้าว"
เป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว ที่สร้างปัญหาให้ชาวนาไทยมาอย่างยาวนาน
แม้จะไม่ทำความเสียหายให้ข้าวลีบทั้งรวง แต่ก็สร้างความเสียหายไม่น้อย
โดยเฉพาะอาการ "ข้าวหัวหงอก" (White Head) รุนแรง
ที่ทำให้รวงข้าวมีสีขาวผิดปกติ
การระบาดของหนอนกอข้าวมักพบปริมาณมากในฤดูนาปรัง
การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี
โดยผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน
ความรุนแรงของการระบาดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและฤดูการทำนาในแต่ละพื้นที่
โดยสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 รุ่นต่อฤดูปลูก
ในประเทศไทยพบ "หนอนกอข้าว"
ทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง โดยมีรายงานพบ 4 ชนิด คือ
1. หนอนกอข้าวสีครีม (Yellow
Stem Borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirpophaga Incertulas
2. หนอนกอแถบลาย (Striped
Stem Borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chilo Suppressalis
3. หนอนกอแถบลายสีม่วง
(Dark-Headed Stem Borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chilo
Polychrysus
4. หนอนกอสีชมพู (Pink
Stem Borer) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesamia Inferens
ลักษณะการเข้าทำลายและระบาด
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน
โดยเริ่มจากหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล
เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินลำต้น ทำให้เกิดอาการช้ำ ๆ ใบเหี่ยวในระยะแรก
จนถึงใบและยอดเหลืองในระยะต่อมา
ตัวเต็มวัยจะวางไข่ที่บนใบข้าวหรือกาบใบ
จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะกัดกินใบและกาบใบ เป็นเวลา 2-3 วัน ก่อนเจาะเข้าลำต้น
ต้นข้าวที่ถูกทำลายทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว (Dead Heart) ใบกลางเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
หากหนอนกอเข้าทำลายในระยะออกรวง จะทำให้รวงเป็นสีขาว เรียกว่า “ข้าวหัวหงอก” (White
Head)
วิธีป้องกันและกำจัดหนอนกอข้าว
หนอนกอข้าว
เป็นศัตรูพืชสำคัญที่ทำลายข้าวได้อย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต
ดังนั้น การป้องกันและกำจัดหนอนกอข้าวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
เพื่อรักษาผลผลิตข้าวให้ได้มากที่สุด
1. ทำลายแหล่งอาศัย :
หลังการเก็บเกี่ยวให้ทำลายตอซัง ไถดิน
และปล่อยน้ำเข้าท่วมเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซัง
2. ปลูกพืชหมุนเวียน :
เพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนกอข้าว
3. กำจัดวัชพืชรอบแปลงนา
: โดยเฉพาะข้าวป่า หญ้าข้าวนก หญ้าตีนกา หญ้าไซ และหญ้าแดง
ซึ่งเป็นพืชอาศัยของแมลงก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่
4. ใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม
: ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบข้าวงาม ดึงดูดหนอนกอมาวางไข่
5. ใช้แสงไฟล่อ :
เมื่อมีการระบาดรุนแรง ให้ใช้แสงไฟล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
6. หลีกเลี่ยงสารเคมี :
ไม่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดในนาข้าว เพื่อช่วยให้ศัตรูธรรมชาติพวกแตนเบียนไข่
และแตนเบียนหนอน มาช่วยควบคุมประชากรหนอนกอข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ใช้สารชีวภัณฑ์ :
พ่น แบคเทียร์ ( เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูลิงเยนซิส ) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ร่วมกับสารจับใบม้อยเจอร์แพล้นท์ 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพื้นที่ 1 ไร่ เริ่มพ่นเมื่อข้าวอายุประมาณ 25-30 วัน ฉีดพ่นทุก 10-15 วัน
ควรพ่นในเวลาเย็นเมื่ออากาศไม่ร้อนจัด
และปรับความชื้นในแปลงให้เหมาะสมต่อการอยู่ของเชื้อรา (ความชื้นสัมพัทธ์ 50-80%)
การป้องกันและกำจัดหนอนกอข้าวอย่างมีประสิทธิภาพ
ต้องอาศัยการผสมผสานหลายวิธีเข้าด้วยกัน และที่สำคัญคือ
การหมั่นสังเกตแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจัดการปัญหาได้ทันท่วงที
ช่วยให้ผลผลิตข้าวปลอดภัยและได้คุณภาพตามที่ต้องการ
แบคเทียร์
ชีวภัณฑ์บาซิลลัสทูลิงเยนซิส กำจัดหนอนกอและหนอนผีเสื้อ
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า
"หนอนกอข้าวใช้ยาอะไร" หรือ "ยาหนอนกอในนาข้าว"
ควรใช้ชนิดไหนดี แนะนำให้เลือกวิธีธรรมชาติก่อน เช่น การจัดการแปลงนาและการใช้
แบคเทียร์
ชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูลิงเยนซิส ยาฉีดหนอนกอข้าวที่กำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://youtube.com/@thaigreenagro-tga847
เพจ Facebook: https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq