วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องสารอุดบ่อกับโพลิเมอร์ เพื่อเอามาไขข้อข้องใจ ไขความสงสัย ให้เกิดความกระจ่างต่อเพื่อนๆที่คิดว่าสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ สามารถใช้แทนสารอุดบ่อหรือสารอุดสระน้ำประจำไร่นาได้เดี๋ยวเรามาฟังกัน
เรื่องของสารอุดบ่อกับสารโพลิเมอร์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร สารอุดบ่อหรือสารอุดน้ำประจำไร่นา เราตั้งใจที่จะเผยแพร่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตัวจริงเสียงจริง เป็นเกษตรกรแบบหัวไร่ปลายนา คือเรามองว่าเวลาช่วงหน้าแล้งเวลาน้ำไม่มีขนาดพื้นที่ภาคกลาง อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อยุธยา ลพบุรี แม้กระทั่งสุพรรณบุรี อุทัยธานี เวลาแล้งเป็นพื้นที่ที่ส่วนใหญ่มีชลประทาน แต่เวลาแล้ง หน้าแล้ง ไม่มีอะไรจะทำ น้ำใสสระ น้ำในสะดือ นา หนอง คลอง ห้วยต่างๆ ไม่มีที่จะเอาไว้ปลูกผักเล็กๆน้อยๆ ทำให้รายได้เขาก็หด ลดน้อย ถอยลง และโลกที่ร้อนขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้นเพียง 1-2 องศาเซลเซียส หรือ สมัยก่อนเดือนเมษายน เรียกว่า 36 องศาเซลเซียส ร้อนแล้ว สมัยนี้ขึ้นมา 40 กว่า เรียกว่าตำราการเกษตรพลิกไม่ทัน ปรับไม่ทัน มันจึงมีคำพูดว่า การทำอาชีพเกษตรกรรมเรียนไม่จบ แม้กระทั่งเรื่องของการเพาะเห็ด โรคที่ร้อนขึ้น สิ่งมีชีวิตเล็กๆก็เปลี่ยนแปลงในนาข้าวก็เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดด เมื่อก่อนนี้ก็มีแค่สีเขียว เดี๋ยวนี้มีทั้งปีกสั้น ปีกยาว ตัวลายดำ ลายแดง เยอะแยะไปหมด นี่คือการปรับสภาพ ปรับตัวของโรคแมลงศัตรูพืช โลกที่มันร้อนขึ้น ถ้ามาดูเรื่องปัจจัยเรื่องน้ำก็ทำให้ความชื้น ทำให้น้ำผิวดินถูกระเหยแห้งอย่างรวดเร็ว ก็จากก๊าซเรือนกระจก พวกก๊าซมีเทน ก๊าซมีเทนที่ออกจากตดวัว ตดสุกร จากการเผาหรือหมักตอซังฟางข้าว ก๊าซมีเทนคือก๊าซที่เกิดมาโดยที่ไม่มีอ๊อกซิเจน ถ้าไปในบ่อ หรือคลอง หรือที่เขาเลี้ยงปลาแล้วน้ำเน่าเยอะๆ จะมีพรายน้ำปุ๊ดๆขึ้นมาจากเลนและขึ้นมาเป็นพรายน้ำนั่นคือแก๊สมีเทนหรือว่ากันว่าบั้งไฟพญานาคก็มาจากแก๊สมีเทน เพราะว่าแก๊สมีเทนติดไฟง่าย จึงมีการไปเอามูลหมู มูลวัว มูลควาย สุกร แพะ แกะ เอามาหมักในลูกโป่งและเกิดแก๊สมีเทนและปล่อยไปทำเป็นเตาแก๊สจุดได้ เรียกว่า ไบโอแก๊ส แต่ความร้อนเหล่านี้นอกจากทำน้ำให้แห้งเหือด แห้งไปอย่างรวดเร็วแล้วทำให้น้ำไม่มี ตรงกันข้ามอีกน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล มีการสูบขึ้นมาใช้ทดแทนน้ำผิวดิน น้ำใต้ดินก็ถูกดูด ถูกใช้ เมื่อก่อนความชื้นใต้ดินก็เยอะ แรงดันน้ำก็ทำให้ตาน้ำดันขึ้นผิวข้างบนได้เยอะ แต่น้ำข้างบนก็ไม่มีดินก็โปร่ง ดินก็ซุยเป็นดินทราย แรงดันน้อย น้ำถูกสูบขึ้นไป ทำให้น้ำผิวดินกับตรงนี้ก็ยุบลงเพราะน้ำบาดาลถูกใช้เยอะ ทำให้โครงสร้างดินที่เป็นโพรง โพรงแบบเป็นสลับซับซ้อน เป็นแอ่งน้ำ เป็นน้ำบาดาล น้ำซับ น้ำใต้ดิน ก็เป็นโพรงเปล่าๆไม่มีน้ำมาอัด ไม่มีแรงดัน ส่งผลให้ดินตรงชั้นระหว่างโพรงคลายตัว เขาเรียกว่าดินมันเสาะ ดินมันโปร่ง ทำให้การกักเก็บน้ำทางเนื้อดิน หรือกายภาพของดินทั้งเคมีและกายภาพเปลี่ยนแปลงไปหมด ดินที่เคยมีความเป็นดินเหนียว มีเมือก มีตะกอนสะสม แล้งมานานเกิน นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อดินเขามันคลายตัว หละหลวม ทำให้ความเหนียวจากระบบนิเวศที่หล่อเลี้ยงก้นบ่อแบบสมัยโบราณมันน้อยลงจึงมีการเอาสารอุดบ่อมาใช้ในการช่วยเติมเต็มโครงสร้างของดินเชิงกายภาพทำให้ดินนั้นเขามีความเหนียวหนืด ชุ่มชื้นมากขึ้น เพราะว่าเวลาเอาสารอุดบ่อมาร่วมกับสเม็คไทต์ สเม็คไทต์เป็นกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟเป็นญาติใกล้สนิทชิดเชื้อกับม้อนท์โมริลโลไนส์ เรียกว่าตรวจแร่ม้อนท์ก็จะเจอสเม็คไทต์ ถ้าตรวจสเม็คไทต์ก็จะเจอแร่ม้อนท์ ม้อนท์โมริลโลไนส์เป็นเถ้าภูเขาไฟ ระยะยาวเขาจะกลายตัวเป็นมิโนรัลเค เคแผลว่าดินเหนียว ดินเราจะเหนียว ข้น หนืด แล้วก็กักเก็บอุ้มน้ำได้ดี ลักษณะการทำงานของสารอุดบ่อจะค่อยๆดูดน้ำเข้ามาเรียกว่าอิ่ม เอิบ อาบ แต่ไม่บวมพอง อิ่มแล้วค่อยๆทำให้ตัวสลายกลายเป็นเมือก เป็นเหมือนยาง ส่วนสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ตัวนี้ดูดน้ำ เป็นตัวดูดจอมดูดจึงเรียกว่าสารอุ้มน้ำ ตัวนี้จะไม่เหมือนสารอุดบ่อ ตัวนี้จะดูดน้ำจนตัวเขาอ้วน ดูดแล้วดูดอีกดูดจนตัวอ้วนมากกว่าเดิม 200-400 เท่า ตัวนี้ความจริงเอามาแก้ปัญหาเรื่องภัยแล้งด้วยเหมือนกัน ถ้าใช้สารอุ้มน้ำที่เป็นเหมือนเกลือ เป็นเม็ดเหมือนเกลือเบาๆ เพียง 1 กิโลกรัม เอาไปใส่ตุ่ม 200 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมงหรือคืนหนึ่ง แช่คืนหนึ่งเช้าเปิดตุ่มมันจะดูดน้ำ จากโลเดียวจะบวมพองล้นทะลุตุ่มเลย 1 โล ขยายได้ 200-400 เท่า เป็นจอมดูด จอมตระกะ เหมือนชูชกกินแล้วพุงป่อง บวม เป็นทวีคูณ 400 เท่า ถ้าน้ำดี น้ำสะอาด ถ้าน้ำคลองน้ำทั่วไปอาจจะได้ 200-300 ได้ ตัวนี้ก็แก้ปัญหาเรื่องภัยแล้ง แต่มาใช้แทนกันไม่ได้ ไม่ใช่เพื่อนๆไปเอาสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์มาโขกตำให้ละเอียดเหมือนสารอุดบ่อใช้ไม่ได้นะครับตัวนั้นมีแต่แหกเนื้อดิน ไส้ตะเกียงท่อน้ำมันไม่ได้ช่วยอุดรูรั่วอะไรต่างๆเลย มันมีแต่พองขยาย ทำหน้าที่เป็นน้ำเพราะฉะนั้นจึงมีความแตกต่างกัน แต่ตัวนี้ช่วยเรื่องของความแห้งแล้งเหมือนสารอุดบ่อ เรียกว่าถ้าสารอุดบ่อน้ำไม่ทันเก็บไม่ดีไม่อยู่ ไม่ใช่ว่าใช้สารอุดบ่อครั้งเดียวแล้วใช้กับดินแบบมหาโหด ดินเลวมากๆ มันไม่ได้มีอะไรที่วิเศษมหัศจรรย์ สารอุดบ่อเขาก็ช่วยทำให้ดินมันเป็นดินเหนียวเท่านั้น เหนียวขึ้นๆ อยากจะรู้มันเหนียวแล้วก็กักน้ำได้ไหมก็เอามาชันกับตะกร้าสานพลาสติกดูก็ได้ ผสมสารอุดบ่อ 2 กิโลกรัมกรัม สเม็คไทต์ 100 กิโลกรัม ผสมน้ำแล้วเอามาชันตะกร้าสานพลาสติกที่มีรูแล้วลองตักน้ำดู เขาจะกักเก็บน้ำได้ แต่สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ดูดน้ำเข้าไป เรียกว่าถ้าน้ำอยู่บ่อเพื่อนเอาโพลิเมอร์ไปสัก 100 กิโลกรัม น้ำจากบ่อเพื่อนจะถูกดูดเข้ามาในโพลิเมอร์ ถ้าวางต่อให้มันมีลิงค์เชื่อมโยงถึงกัน มันแก้ภัยแล้งก็คือว่าน้ำในบ่อมันมีจำกัดเราก็เอาสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ ต้นทุเรียนตาย แล้งตาย ลำไย มะละกอ ลองกอง มังคุด เราก็ขุดหลุมไว้ข้างๆต้น ต้นใหญ่ก็ขุดหลุมใหญ่ ต้นเล็กก็ขุดหลุมเล็กๆ ต้นขนาดกลางก็ขุดหลุมกลางๆ เล็ก กลาง ใหญ่ ขึ้นอยู่กับปริมาณของทรงพุ่ม การดูดใช้คลายน้ำ ถ้าเราใส่ไปต้นละ 5 ลิตร แล้วมันอยู่ได้อาทิตย์หนึ่งไม่ต้องรดน้ำเลย ก็แสดงว่ามันกินวันละไม่กี่ลิตร แต่ถ้าเราใส่ไปหลุมละลิตร วันเดียวมันแห้ง ใบเหี่ยวสลดต้นนี้ต้องเติม แสดงว่าหลุมมันเล็กไปก็ต้องใส่สัก 5 ลิตร 10 ลิตร ถามว่าใส่มากกว่านั้นได้ไหม ขุดหลุมสัก 200 ลิตร มาก อย่างอื่นไม่มีปัญหาเลย กับต้นทุเรียนก็ไม่มี กับดินก็ไม่มีปัญหาขุดด้านเดียว อย่าขุดล้อมเป็นวงกลมไปตัดรากสารอาหาร ให้มันเสียด้านเดียว ไม่มีปัญหาเลย มีปัญหาอยู่เรื่องเดียวคือเงินในกระเป๋าของเพื่อนๆ มันจะลดน้อยถอยลง แต่ถ้าใช้แล้วขายผลผลิตได้คุ้มค่าแล้วก็เลี้ยงชีวิตของต้นทุเรียน ต้นปาล์ม ต้นยาง ลองกอง มังคุด มะละกอ พืชไร่ไม้ผลต่างๆนาๆได้ อุตส่าห์เลี้ยงมาตั้ง 10-20 ปี จะให้มันมาแล้งตาย อดน้ำตายในปีนี้ได้ยังไงก็เอาสารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ไปแช่น้ำให้ดีสักคืนหนึ่งแล้วกลบฝังไว้ข้างๆ สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ความจริงแล้วมีประโยชน์แค่ให้น้ำ ความลับอยู่ที่โพลิเมอร์ สารอุ้มน้ำ ถ้าน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ดี เรื่องน้ำไม่จำเป็นเลย ไม่จำเป็นต้องใช้สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์ มันไม่มีประโยชน์เลยแต่ถ้าเพื่อนๆขาดน้ำ ไม่มีน้ำ สารอุ้มน้ำโพลิเมอร์มีความสำคัญ มีความจำเป็นมากๆช่วยในเรื่องของการขาดน้ำ
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com