ใกล้จะถึงหน้าหนาวของประเทศไทยแล้วนะคะช่วงกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์
ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเข้าสู่หน้าหนาว เกษตรกรหรือชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มหันมาทำการเพาะปลูกพืชผักเนื่องจากในช่วงหน้าหนาวนั้นพืชผักจะงอกงามได้เป็นย่างดี
และปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่าอากาศในช่วงหน้าหนาวนั้นเป็นอากาศที่คนส่วนใหญ่ชอบกันเนื่องมีลมเย็น
มีหมอกในช่วงเช้า
แต่รู้หรือไม่อากาศเหล่านี้นั้นอาจเป็นตัวส่งเสริมให้พืชนั้นเกิดโรคต่างๆตามมา
เนื่องจากการมีหมอกน้ำค้าง การที่แดดแรงในช่วงกลางวัน หนาวในช่วงกลางคืน
อาจทำให้พืชนั้นปรับตัวตามสภาพอากาศไม่ทัน จึงทำให้ผลผลิตน้อย พืชโตข้า หรือ
การเกิดโรคระบาดในพืช ได้แก่ 1. โรคราน้ำค้าง 2. โรคราแป้ง 3. โรคใบจุดสีม่วง 4. โรคราสนิม
5. โรคเน่าคอดิน 6. โรครากเน่าโคนเน่า
โดยโรคต่างๆเหล่านี้จะมีลักษณะอาการและการดูแลที่แตกต่างกันดังนี้
1.
โรคราน้ำค้าง :
สามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งปลูกผักที่มีความชื้นสูง สามารถเสียหายได้ทั้ง ใบ ผล
กิ่ง ทำให้ต้นอ่อนแอและแคระแกรน ส่วนมากจะเจออยู่ในตระกูลพืชผักและ ตระกูลแตง
โดยลักษณะของโรคนี้คือ เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis สามารถเจอได้ในทุกระยะของพืช โดยอาการเริ่มแรกจะเกิดอยู่บริเวณใบล่างโดยจะมีแผลฉ่ำน้ำแล้วแผลจะลุกลามซึ่งลักษณะของแผลเป็นแผลเหลี่ยมสีเหลือง
หากในช่วงเช้าที่มีความชื้นจะสังเกตเห็นเส้นใยของเชื้อรา
และเมื่อแผลมีการขยายขนาดสีแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ
หากมีอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น
2. โรคราแป้ง
: จะพบอาการได้ที่ใบล่างจากนั้นจะลามขึ้นไปใบบน
โดยเกิดจากเชื้อรา Oidium heveae Steinm.
ซึ่งสามารถสังเกตอาการจากที่ผิวใบจะมีเส้นใยชองเชื้อราคล้ายแป้ง ปกคลุมทั่วหลังใบ
ใบจะเริ่มมีอาการแห้ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งตายในที่สุด
3.
โรคใบจุดสีม่วง : เกิดจากเชื้อรา Alternaria
porri
มักพบอาการที่ใบบนเป็นจุดสีเทาขนาดเล็กและจะขยายใหญ่เป็นวงรีสีน้ำตาล
แผลมีสีม่วงหรือน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางแผลมีสีขาว
ช่วงที่มีอากาศชื้นจะพบสปอร์ผงสีดำของเชื้อรา เมื่อเกิดหลายแผลจะส่งผงให้ใบแห้ง
ต้นโทรม
4.
โรคราสนิม : จะพบอาการได้บน ใบ กิ่ง ลำต้น
ส่วนมากจะพบบนใบในครั้งแรกที่สังเกตเห็น โดยเกิดจากเชื้อรา Phakopsora
pachyrhizi Sydow ใต้ใบนั้นจะมีจุดน้ำตาลเทาเล็กๆ
โดยจะเริ่มจากใบล่าง จุดจะเริ่มนูนขึ้น ผงมีสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก
จะเห็นได้ชัดเจนด้านใต้ใบ เมื่อลูบผงเหล่านี้จะติดมือมา
จาก
โรคทั้ง 4 ที่กล่าวมานี้สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยใช้ ไบโอเซนเซอร์
(บาซิลัสซัพทิลิส) ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อราที่เกิดทางใบได้ โดยใช้ 50 กรัม ต่อน้ำ
20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน จากนั้นฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบให้เปียกชุ่ม
และควรฉีดในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็น และ
ไบโอเซนเซอร์สามารถขยายเชื้อได้โดยใช้ 1. นมUHTรสหวาน 1 กล่อง 2. เชื้อไบโอเซนเซอร์ 5 กรัม โดยวิธีการขยายเชื้อ
นำเชื้อไบโอเซนเซอร์ใส่ลงในกล่องน,UHTรสหวาน 5 กรัม
จากนั้นทำการบ่ม 72 ชั่วโมง และเมื่อครบ 72 ชั่วโมงหากนำมาใช้ให้ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
ฉีดพ่นในช่วงเย็น หรือช่วงเช้าแดดอ่อน
5.
โรคเน่าคอดิน : เกิดจากเชื้อราทางดินที่มีชื่อว่า
Pythium aphanidermatum โรคมักเจอเฉพาะแปลงกล้าเป็นส่วนใหญ่
เมื่อหว่านกล้าในที่แน่นทึบ อับลม และต้นเบียดกันเกินไปการเข้าทำลายพืช หากเกิดในไม้ยืนต้นรากจะเน่าเป็นสีน้ำตาล
ในเหนือบริเวณรากเน่ามีอาการซีดเหลือง และแผลอาการเน่าจะฉ่ำน้ำ มีน้ำไหลออกมาจากแผลที่โคนต้น
และเมื่อแผลเกิดการลุกลามจะทำให้ใบร่วงหมดต้นและยืนต้นตายในที่สุด
6. โรครากเน่าโคนเน่า
: เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ซึ่งเป็นเชื้อราที่กำจัดได้ยากเมื่อระบาดจะสร้างความรุนแรงและความเสียหายให้กับพืชหลายชนิด
โนคนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างวงกว้างและรวดเร็วในช่วงฤดูฝนหรืออาจจะติดไปกับน้ำที่รด
โดยลักษณะทั่วไปรากจะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ช้ำและเน่า โดยจะเกิดที่ราก ใบปลายกิ่งมีสีซีดไม่มันเงา
ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง ละเมื่อขุดดูรากฝอยจะพบว่าเปลือกล่อน
เปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล หากอาการรุนแรงจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น
ทำให้ต้นโทรมและตาย และหากเกิดที่โคนต้น จะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกออกมาจากเปลือกที่แตกและเมื่อแผลขยายใหญ่จะลุกลามไปรอบโคนต้น
จนทำให้ใบร่วงจนหมดต้นและแห้งตาย
โดยโรคเน่าคอดินโรครากเน่าโคนเน่า
นั้นสามารถกำจัดและป้องกันได้โดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า (อินดิวเซอร์) ซึ่งจะสามารถกำจัดและป้องกันเชื้อราทางดินได้
โดยใช้ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนโดยฉีดพ่นให้เปียกชุ่มทั่วโคนต้น
ใบ นอกจากนี้อินดิวเซอร์ยังสามารถที่จะขยายเชื้อได้โดยใช้1. น้ำสะอาด 20 ลิตร 2. แป้งข้าวโพด(แป้งมัน
แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า) 3. อินดิวเซอร์ 100 กรัม โดยวิธีการขยายเชื้อคือ
นำน้ำสะอาดผสมกันแป้งข้าวโพด จากนั้นนำไปต้มเคี่ยวจนเดือด15-20
ให้มีลักษณะคล้ายน้ำราดหน้า จากนั้นตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็น
จากนั้นใส่อินดิวเซอร์ลงไป 100 กรัม ปิดหม้อทิ้งไว้ 3-7 วัน
รอจนเชื้อเดินเต็มผิวหน้า หากจะนำมาใช้ให้ใช้อัตรา 100 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นในช่วงเย็นหรือช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนโดยฉีดพ่นให้เปียกชุ่มทั่วโคนต้น
ใบ
บทความโดย
นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร
จำกัด
