หนอนเจาะผลผลิตเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชผล หรือผักก็ตาม ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพของผลผลิตลดลง วิธีการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะจึงเป็นสิ่งที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้เพื่อทำผลผลิตของเราออกมามีคุณภาพเพื่อนำไปจำหน่ายให้ได้กำไรกับมาเลี้ยงดูครอบครัวของเรา หนอนเจาะผล เป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่มักเข้าทำลายผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด เช่น ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ มะนาว และอื่นๆ โดยหนอนจะเจาะเข้าไปในผลเพื่อกินเนื้อใน ทำให้ผลเสียหาย ผุเน่า และร่วงหล่น เกษตรกรจึงต้องมีวิธีการป้องกันและกำจัดอย่างเหมาะสม ชนิดของหนอนเจาะผลที่พบบ่อย หนอนเจาะผลมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะและพฤติกรรมในการทำลายที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วหนอนเจาะผลที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ หนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลลิ้นจี่ และหนอนเจาะผลมะนาว
การป้องกัน โดยหนึ่งในวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการหมั่นตรวจสอบสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกตสัญญาณของหนอนเจาะ เช่น รูเจาะ ผลร่วง หรือมูลหนอน นอกจากนี้ การเก็บกวาดทำความสะอาดสวนเป็นประจำ การใช้พืชหมุนเวียน การใช้กับดัก และการคลุมตาข่ายก็เป็นวิธีการป้องกันที่ได้ผลดีเช่นกัน การปลูกพืชดักแมลง เช่น ดอกดาวเรือง ก็ช่วยดึงดูดแมลงตัวห้ำมาช่วยกำจัดหนอนได้อีกทางหนึ่ง
การกำจัด เมื่อพบการระบาดของหนอนเจาะ วิธีการกำจัดที่นิยมใช้ ได้แก่ การเก็บหนอนทำลาย การใช้ชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อแบคทีเรีย BT ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทำลายหนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชของเราโดยฉีดพ่นช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็นๆ ฉีดพ่น 7-15 วันครั้ง หรือเป็นประจำเมื่อพบการระบาดของหนอน ซึ่งแนะนำให้ใช้ร่วมกับตัว นีมาเคียว (เชื้อราพาซิโลมัยซีส ไลลาซินัส) เพื่อช่วยในการควบคุมและกำจัดหนอนกับไข่หนอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยใช้ 50 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร รวมไปกับเชื้อ BT ได้เลย ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอีกด้วย การป้องกันและกำจัดแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลในการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะอย่างยั่งยืน ควรใช้วิธีการต่างๆ ผสมผสานกันไป เช่น การใช้ชีวภัณฑ์ควบคู่ไปกับการใช้กับดัก การเลือกวิธีการที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผล ระดับความรุนแรงของการระบาด และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูก
บทความโดย นายสายชล ทองเศรษฐี
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด