0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

รู้หรือไม่ดินเปรี้ยวก็สามารถปลูกผลไม้ได้

ดินเปรี้ยวหรือดินกรดกำมะถันนั้นเกิดจากการที่ดินมีสารประกอบไพไรต์(FeS2)เป็นองค์ประกอบ เมื่อดินนั้นมีการสลับความชื้นและความแห้งบ่อยๆจะเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นจะส่งผลให้เกิดกรดกำมะถัน (H2SO4)ในชั้นดิน และจะพบจาโรไซต์[KFe3(SO4)2(OH)6]ลักษณะคือจะมีสีเหลืองฟางข้าวที่ชั้นในชั้นหนึ่งในหน้าตัดดิน เกิดบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่มีน้ำท่วมขัง และฤทธิ์ในความเป็นกรดที่รุนแรงมากจะส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช ค่าpHที่จะบ่งบอกว่าเป็นดินเปรี้ยวนั้นจะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 4.0-5.0 และอีกหนึ่งลักษณะคือมีต้นกกหรือต้นกระถินเกิดอยู่ในบริเวณนั้นเอง และเนื่องจากดินในกลุ่มนี้มีขีดจำกัดการใช้พื้นที่เพื่อการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนี้ 

1.คัดเลือกพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพดินที่เปรี้ยวจัด ได้แก่ ส้ม มะพร้าว มะม่วง ฝรั่ง ปาล์มน้ำมัน ละมุด มะกอกฝรั่ง สับปะรด 

2.หาพื้นที่ปลูกใกล้แหล่งน้ำและสามารถนำน้ำมาใช้ได้ตลอดปี 

 

3.สร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ล้อมแปลงเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมในฤดูฝน 

 

4.หากในพื้นที่ร่องมีน้ำ น้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยวแนะนำให้ระบายออก แล้วเติมน้ำจืดเข้ามาแทน หากใครที่ไม่สามารถระบายน้ำได้แนะนำให้ใส่โดโลไมท์ลงไปเพื่อปรับสภาพน้ำและดินที่อยู่ข้างล่าง 

 

5.การใส่โดโลไมท์เพื่อไม่ให้ดินนั้นมีความเป็นกรดมากเกินไปโดยใส่ในอัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ 

 

6.ในดินที่เป็นกรดนั้นมักจะขาดธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสและมีความแน่นทึบ แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตและปุ๋ยทีจีเอ โกลด์ โดยใช้ในปริมาณ 1:1หรือ หินฟอสเฟต 20 กิโลกรัม ต่อ ปุ๋ยทีจีเอ โกลด์ 25 กิโลกรัม / พื้นที่ 1 ไร่  เพื่อเติมธาตุอาหารให้เพียงพอต่อพืชที่จะใช้ในดินและใช้สารละลายดินดานควบคู่กับโพแทสเซียมฮิวเมท โดยปริมาณในการใช้สารละลายดินดานคือ 20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร และ อัตราการใช้โพแทสเซียมฮิวเมทคือ 3 กรัม/น้ำ20ลิตร วิธีการใช้ทั้งสองตัวนี้คือราดลงพื้นดินซึ่งจะช่วยในเรื่องการแก้ปัญหาดินแน่นแข็ง ช่วยให้ดินร่วนซุยสามารถระบายน้ำและอากาศได้ดี เพิ่มธาตุอาหารในพืช 

 

7.การปลูกพืชหมุนเวียนและพืชปกคลุมนั้นจะช่วยในเรื่องการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดการสะสมของโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของพืช การปลูกพืชตระกูลถั่วนั้นยังช่วยการเพิ่มไนโตรเจนและอินทรียวัตถุในดิน ป้องกันการชะล้างหน้าดิน ใบ

 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/

บทความโดย      นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร

ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด

×