สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศหนาวทุกพื้นที่และอุณภูมิลดต่ำลงถึง
9 องศา ในบางพื้นที่
และช่วงนี้เกษตรกรบางรายพึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีกันไป เตือนผู้ปลูกกระเทียม
ในระยะ ระยะต้นกล้า-ปลูกลงดิน
ระยะหลังเก็บเกี่ยว รับมือไรกระเทียม
เข้าทำลายกระเทียมทั้งระยะที่เจริญเป็นต้นอยู่ในไร่ และระยะหลังเก็บเกี่ยว
ต้นกระเทียมที่ถูกไรเข้าทำลายจะไม่สมบูรณ์
ใบจะมีอาการด่างสีขาวและเหลืองเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบใบ
ใบจะพับเข้าหากันตามแนวเส้นกลางใบ ปลายใบม้วนงอพันกันไม่ตั้งตรง
ชาวบ้านมักเรียกลักษณะของใบที่ม้วนพันกันนี้ว่า
"ใบบ่วง”
อาการด่างชาวของใบจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน ต่างกับลักษณะอาการประสีขาวจางๆ
ซึ่งเกิดจากการทำลายของเพลี้ยไฟ และจะพบมากบนใบอ่อนที่แตกใหม่
บางครั้งใบอ่อนที่เพิ่งเริ่มโผล่ออกมาจะมีอาการด่างขาว และบิดเป็นลูกคลื่น
ไม่ยืดออกจากกาบใบ ต้นกระเทียมที่ถูกไรทำลายอย่างรุนแรงตั้งแต่เล็กอาจตายหมดทั้งแปลงได้
สำหรับกระเทียมที่ถูกไรทำลายในระยะเริ่มลงหัว จะทำให้หัวกระเทียมเล็กลง
ถ้าการทำลายเกิดขึ้นในระยะใกล้เก็บเกี่ยว อาจไม่มีผลต่อผลผลิตมากนัก
เมื่อกระเทียมที่เก็บเกี่ยวจากไร่ ถูกนำมาแขวนหรือผึ่งลม ไรจะเคลื่อนย้ายจากใบลงมายังกาบใบ
และดูดทำลายอยู่ที่หัวกระเทียม
โดยเฉพาะบริเวณกลีบที่อยู่ด้านในของหัวและลุกลามต่อไปยังกลีบที่อยู่ใกล้เคียง
การทำลายเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่กระเทียมถูกเก็บไว้เพื่อบริโภคหรือทำพันธุ์
กลีบของกระเทียมที่ถูกทำลายจะมีอาการแห้ง ผิวของกลีบเหี่ยวย่น และเริ่มเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง
และสีน้ำตาลเข้ม กระเทียมจะแห้งแข็ง และค่อยๆ ฝ่อไป
เมื่ออาหารบนกลีบกระเทียมที่ไรดูดกินหมดไป
ไรจะเคลื่อนย้ายไปทำลายกลีบที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ควรคัดเลือกหัวพันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดทำลายของไรกระเทียมมาก่อน การเก็บเกี่ยวควรแยกกระเทียมที่จะใช้ทำพันธุ์ไว้ต่างหากไม่รวมกับกระเทียมส่วนอื่นๆ
2. กำจัดวัชพืชในนาและบนคันนาก่อนเตรียมดินปลูก ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำลายแหล่งซึ่งไรอาจจะใช้เป็นที่อาศัยนอกฤดูปลูกกระเทียม และหว่านภูไมท์ซัลเฟตเหลืองเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเพิ่มธาตุซิลิก้าเข้าไปเพื่อให้กระเทียมหัวใหญ่และปลอดโรคแมลง
3. เริ่มสำรวจต้นกระเทียมเมื่ออายุประมาณ
๓ สัปดาห์หลังงอก ถ้าพบอาการใบม้วนงอและขอบใบเป็นสีเหลืองมากกว่า 25% ให้พ่นสารบูเวเรียและฟอร์แทรน
อย่างละ 50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตรเพื่อกำจัดไร และสำรวจต่อไปทุก 14 วัน ถ้าพบอาการดังกล่าวให้พ่นซ้ำ
และควรผสมสารจับใบทุกครั้งในปริมาณ 5-10
ซีซี ร่วมด้วย
ผลิตภัณฑ์ไทยกรีนอะโกร
ทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกร
สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลและควบคุมกำจัดโรคแมลงสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ
https://thaigreenagro.com/
นางสาว
คนึงนิจ หอมหวล
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร
บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด
Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube:
https://youtube.com/@thaigreenagro-tga847
เพจ Facebook:
https://www.facebook.com/thaigreenagro?mibextid=LQQJ4d
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
Tiktok: https://bit.ly/3vr5zdo
Twitter: https://bit.ly/3q1DwQY
Shopee: https://shp.ee/kh94aiq
Lazada: https://bit.ly/2XkPgUr

