0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

พริก: วิธีการป้องกันการหลุดร่วงของดอกและผล

วันนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องพริก และก็วิธีการดูแลรักษาไม่ให้ผลของพริกนั้นหลุดล่วงไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแมลง การดูแลบำรุงรักษา สารอาหารที่ถูกต้อง แรงจูงใจที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ก็ช่วงนี้ก็มีข่าวเมื่อเช้าได้ติดตามข้อมูลข่าวสารทางด้านนี้ก็ทราบว่าพริกตอนนี้ราคากำลังตกต่ำเป็นอย่างมากเพราะว่าร้านอาหารตามสั่งทั่วประเทศนั้นมีผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้การใช้พริกในการปรุงอาหารนี้ก็ลดน้อยถอยลง อันนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงสำหรับโควิด-19 ในระลอกที่ 3 เพราะว่าเริ่มส่งผลกระทบไปยังเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง ผู้บริโภคทั่วไปด้วย ทุกคนเริ่มวิตกกังวล เริ่มมีความรู้สึกที่จะต้องเซฟ เพราะว่าไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นอะไรที่พวกเราชาวไทยกรีนอะโกร จะมาช่วยแบ่งเบาโดยเฉพาะเรื่องของการที่ให้ผลผลิตอยู่ในแปลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ราคาตกต่ำอยู่แล้ว ผลผลิตลดน้อยถอยลงอีก จากการหลุดร่วงแล้วก็ถ้าเพื่อนๆไม่ทราบว่ามันล่วงจากอะไร มันจะมีปัญหาในหลายๆด้าน อยากน้อยการดูแลบำรุงวิธีการป้องกันรักษาอะไรต่างๆในการไม่ให้พริกเหล่านี้หลุดล่วงในแนวทางปลอดภัยไร้สารพิษและก็ต้นทุนต่ำ

บ้านเราก็ปลูกพริกอยู่ค่อยข้างเยอะประมาณเกือบ 2 แสนกว่าไร่และมีผลผลิตทั้งหมดออกมาทั้งหมดประมาณ 300000 ตัน เพื่อนๆเห็นว่าผลิตได้มากขนาดนี้ประเทศไทยก็ยังมีการนำเข้าเป็นแสนตันส่วนใหญ่ก็จะเอาเข้ามาจากประเทศจีนและก็อินเดียซึ่งมีราคาต่ำกว่าบ้านเรามากอันนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงมากว่าถ้าเราไม่รู้จักการลดต้นทุนโดยเฉพาะการทำพริกแบบปลอดสารพิษ พริกแบบเกษตรอินทรีย์ ถ้าทำแบบเข้าอกเข้าใจผสมผสานต้นทุนจะถูกกว่าการปลูกพริกที่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายเพียงอย่างเดียวอย่างแน่นอน เพื่อนๆสามารถที่จะใช้แนวทางชีวภาพเช่นการหมักฮอร์โมนไข่เพื่อเปิดตาดอก การหมักจุลินทรีย์ขี้ควายย่อยสลายปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยในการปรามโลก การหมักสารสกัดจากพืชสะเดา ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สิ่งต่างๆเหล่านี้ ถ้าเราสามารถปลูกพืชสมุนไพรเหล่านี้อยู่แล้ว แล้วก็นำมาหมักสกัด มาประยุกต์ใช้ผสมผสานกับพวกจุลินทรีย์หรือสารชีวภัณฑ์ แล้วมีความเอาใจใส่ การผลิตต้นทุนเราก็จะสู้กับเมืองนอกเมืองนาได้ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเรานำเข้ามา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่เอามาทดแทนประมาณเป็นซอสอยู่ประมาณไม่กี่ร้อยโล เป็นพวกพริกแห้ง พริกสด แช่เย็น พริกป่นมาก โดยเฉพาะพริกแห้งเรานำเข้ามาถึง 7 หมื่นกว่าตัน แต่ถ้าเราไปดูการส่งออก กลายเป็นว่าเราส่งออกซอส มากถึง 50000 จาก 100000 เราก็ส่งออกเป็น 100000 เหมือนกัน แต่เราส่งในรูปของซอสพริกครึ่งหนึ่งของพวกพริกสด พริกป่น พริกแห้ง เพราะฉะนั้นแสดงว่าการแปรรูปในบ้านเราก็ค่อนข้างใช้ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้เวลาใครจะมาปลูกพริกเพิ่มควรจะต้องเก็บข้อมูล เราจึงจะสู้กับคนอื่นเขาได้ ดูว่าผู้ผลิตในประเทศเราผลิตกันกี่คน ตลาดรองรับเท่าไร ส่งออกเท่าไร การนำเข้าเท่าไร แล้วถ้าเราเก่งพอเราสามารถจะมาแข่งขันด้วย ตรงนี้คือทางรอดของเพื่อนๆและพี่น้องเกษตรกรว่า ถ้าหลับหูหลับตาเข้ามาในวงการพริก ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ตรงนี้มีปัญหาทำให้เงินเก็บ เงินออม ที่ทำงานออฟฟิศ หรือทำงานอะไรมาชั่วชีวิตก็จะมาหมดไปเพราะการเกษตรที่เราไม่ชำนาญพอ ข้อเด่นของพริกที่แข่งกับตลาดนำเข้าก็คือ ความสดใหม่ พริกที่นำเข้ามาจากจีนและอินเดียส่วนใหญ่แล้วความสดใหม่จะสู้ของบ้านเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นและก็การแปรรูป ถ้าเพื่อนๆสามารถที่จะมีฝีมือ มีช่องทางในการหาตลาดในการแปรรูปได้ เรื่องพริกก็ถือว่ามีความสำคัญ แต่วันนี้เราจะมาพูดให้ผู้ประกอบอาชีพปลูกพริกคนเก่า เขาก็ได้รู้ข้อมูลไปด้วยว่า ราคาพริกมันตกต่ำ ราคาก็ถูก ผลผลิตก็ถ้ามันลดน้อยถอยลงอีกแล้วจะทำยังไง พริกที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทยก็กลายเป็นพริกส่วนใหญ่ก็จะคู่คี่กันคือพริกขี้หนู แบ่งเป็นพริกขี้หนูใหญ่กับพริกขี้หนูเล็กนอกนั้นก็เป็นพวกพริกหยวก พริกอะไรต่างๆ เราก็มีพวกเอเชี่ยนฮอทที่ปลูกทำซอส อันนี้ก็จะราคาดี และก็พริกใหญ่ ถือว่าก็ยังพอที่จะสามารถเข้ามาดูเพราะพริกก็ไม่ได้มีมากมายหลายชนิด การบำรุงดูแลรักษาเหตุที่พริกหรือใบพริกผลของพริกจะหลุดร่วงหล่นได้ง่าย บางทีก็เป็นเรื่องของพวกเพลี้ยอ่อน พวกกลุ่มของแมลงปากดูด ถ้าปล่อยให้มีแมลงปากดูด พวกนี้เป็นพาหของการนำไวรัสเข้ามาในสวนพริกหรือในไร่พริกหรือแปลงพริกของเราด้วย หรือ อาจจะหลุดร่วงจากพวกโรคพืช ไม่ว่าจะเป็นพวกโรคกุ้งแห้ง หรือพวกแอนแทรคโนส หรือ โรคที่เกิดจากพวกแบคทีเรีย ที่เรียกว่าแบคทีเรียวิว โรคจากไฟทอปธอร่า หรือเป็นพวกเพลี้ยไฟไรแดง พวกนี้เป็นกลุ่มที่ทั้งโรคและศัตรูที่จะมีอิทธิพลในการทำให้เมล็ดของพริก ผลของพริก ใบพริก ทำไมต้องพูดใบ ใบนี่ถ้าเป็นเชื้อโรคเข้าทำลายจนเหลือง ไหม้ จุด ด่าง ดำ เขาจะไม่มีอาหารไปเลี้ยงดอกและผลของพริกด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นในการป้องกัน ระวัง รักษา ในเรื่องของการไม่ให้มีโรค มีแมลงศัตรูพืชพวกเพลี้ยไฟ ไรแดงเข้ามาทำลาย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกตัวหนึ่งอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มของดอกและผลพริกหลุดร่วงก็คือแร่ธาตุและสารอาหารในกลุ่มของพวกแคลเซียม โบรอน และซิลิก้า ถ้าตั้งแต่ปลูกพริกมาตั้งแต่ต้นยังเล็ก ตั้งแต่เพาะเมล็ดย้ายกล้าลงหลุมปลูก หล่อเลี้ยงดูแลมาประมาณ 2 เดือน จนเขาสามารถที่จะติดดอกออกผลช่วงเล็กมา ไม่ได้ดูแลเรื่องของแคลเซียม ซิลิก้า โบรอนอย่างเพียงพอ ที่ยกตัวอย่างมา 3 ชื่อนี้ไม่ใช่ว่ามีแค่ 3 ตัวนะครับ

แต่เราเน้นตัวที่โดดเด่นในการที่จะทำให้พริก ลดการหล่นร่วงจากการขาดสารอาหารหรือว่าแร่ธาตุ เพราะฉะนั้นเวลาใครที่มีปัญหาในเรื่องของการเจอพวกพริก หล่น หลุด ร่วงง่าย ไม่ว่าจะเป็น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก เมล็ด การเอาสูตรแคลเซียมโบรอนมาผสม ผลิตเองด้วยลำแข้ง เช่น เอาน้ำสะอาด 20 ลิตร แล้วเอาแคลเซียมไนเตรทก็คือ 15-0-0 ใส่ไป 1.2 กิโลกรัม กวนละลายในน้ำครั้งที่ 1 แล้วใส่โบรอนพืชลงไปอีก 4 ขีด กวนละลายให้เข้ากันครั้งที่ 2 และใส่ตัวซิลิสิคแอซิดลงไป 100 กรัม กวนละลายให้เข้ากัน อาจจะเติมสารจับใบลงไปบ้างตรงนี้จะพอช่วยบรรเทาทำให้การหลุดร่วงของดอกและผลในช่วงที่ขาด แคลเซียมไม่พอ โบรอนไม่พอ ทำให้เซลล์นั้นแข็งแกร่งโดยเฉพาะตัวซิลิสิคแอซิดหรือซิลิก้าก็จะทำให้เซลล์ของพริกนั้นเวลาแบ่งตัวเขาจะไม่หลุดร่วงง่าย คือการผสานเซลล์ร่วมกับตัวแคลเซียมเปคเตรท จะทำงานได้ดี โบรอนกับแคลเซียมทำงานสัมพันธ์กันนะครับ บางทีถ้าใส่ปูนเยอะๆ ปูนขาว ปูนมานโคนต้นเยอะ โบรอนบางทีไม่เคลื่อนย้าย โบรอนกับแคลเซียมต้องทำงานอย่างสมดุลกัน หรือบางคนที่อาจจะไม่สะดวกในการผลิตเองก็สามารถที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยกรีนอะโกรได้ เป็นแคลเซียมโบรอนสำเร็จรูปอันนี้ไว้ติดต่อกับฝ่ายขายหรือฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เพราะฉะนั้นสมมุติเราปลูกไปแล้วมันไม่พอต้องมาดู แล้วการหลุดร่วงอีกอันหนึ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของวิตามินอีและสังกะสีเหมือนเหมือนที่เราเคยพูดคุยกันอยู่บ่อยๆว่าปลูกพริกบางทีวันนี้เราโฟกัสเกี่ยวกับเรื่องของดอกและผลหลุดร่วงแต่จริงๆถ้าจำได้เทคนิคการปลูกพืชหรือปลูกพริก ต้องให้เขากินให้ครบ 5 หมู่ 5 หมู่ของพืชคือต้องมีทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และก็ธาตุพิเศษคือต้องเลี้ยงลูก ปลูกต้นไม้ปลูกพริกก็เหมือนกับการเลี้ยงลูก ให้ลูกกินแต่น้ำพริกอย่างเดียวไม่ตายก็จริงแต่อาจจะผอมแห้งแรงน้อย พุงโล ก้นปอด ไม่มีเรี่ยวแรง มันสมองไม่ดี แตกต่างจากคนที่เลี้ยงลูกแบบเข้าใจถูกหลักโภชนาการกินเนื้อ นม ไข่ครบ สูงก็เป็นนายแบบได้ สมองดี สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ง่าย สมัยก่อนเรียกว่าสอบเอ็นทรานซ์ สมัยนี้เป็น GAT PAT คือต้องให้โตมาอย่างมีคุณภาพ ปลูกพริกถ้ามันกินไม่ครบ 5 หมู่ ใส่แต่ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียวงามแต่ใบ เกษตรกรหรือหลายๆคนชอบเห็นใส่ปุ๋ยแล้วต้องเขียว เขียวไม่ได้ตอบโจทย์ว่าทำให้พืชนั้นสมบูรณ์แข็งแรง และชาวไร่ชาวนายุคพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ชอบปุ๋ยที่เขียว ใส่แล้วต้องเขียว ซื้อปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใส่แล้วก็แอบใส่ยูเรียเข้าไป เพราะว่าถ้าไม่ใส่ยูเรียเข้าไปในขี้เป็ดขี้ไก่ ขี้วัวขี้ควาย ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ที่อ้างว่าเป็นปุ๋ยชีวภาพมันก็ไม่เขียว มันเขียวแบบธรรมชาติแต่ชาวบ้านหรือลูกค้าชอบเขียวเร็ว เขาต้องเอาจานปั้นปุ๋ยขี้ไก่ เอายูเรีย 46-0-0 มาละลายน้ำ ช่วงละลายปุ๋ยยูเรียก็ระเหยเสียไปส่วนหนึ่ง เอามาฉีดพ่นพรมหน้าจานปั้นปุ๋ย ปุ๋ยคอก ปู๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพก็ระเหยเสียไปอีกส่วนหนึ่ง ปั้นปุ๋ยเสร็จเอามาผึ่งลมให้แห้ง ถ้าอบนี่ยิ่งไม่ต้องพูดกันเลย ถ้าอบไนโตรเจนก็ระเหยไปหมด ที่เล่าเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการก็เพื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนให้เห็นภาพตามว่าในเมื่อเราจะใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ดีๆทำไมต้อง ไม่เอาปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยชีวภาพที่ดีร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำไมไม่เอาปุ๋ยยูเรีย 1 กำมือ ใส่ไปที่โคนต้นเลย ไปผ่านกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่ตามใจลูกค้า หรือพูดง่ายๆว่าหลอกลวงลูกค้าให้เขียวไว้ก่อน มันก็ทำให้เราเสียเงินเสียปุ๋ย ถ้าเรา 1 กำมือถ้าไปผ่านกระบวนการผลิตปุ๋ยไปละลายน้ำ ไปพ่น ไปผึ่งลม มาแพ๊ค บรรจุ 1 กำมืออาจจะเหลือครึ่งกำมือ เราก็เอา 1 กำมือไปใส่ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกก็ 60% 70% เอายูเรียใส่ไปพรมนิดหน่อยได้ประโยชน์มากกว่า ถ้าท่านชอบใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ชอบให้เขียวเอาแบบนี้ดีกว่า เพราะปุ๋ยเคมีนี้ไม่ได้เป็นอันตราย เพราะพูดให้ฟังหลายรอบ แต่เป็นตัวมีความเข้มข้นของสารอาหารทำให้พืชได้รับอย่างครบถ้วนเต็มที่ แล้วก็ทำให้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะฉะนั้นก็อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกท่านหรือเพื่อนๆก็ควร ลองเอาไปคิด ลองเอาไปทบทวนและก็สามารถที่จะมาพูดคุยกันได้ คือต้องกินให้ครบ 5 หมู่ ส่วนเมื่อกี้เราพูดถึงแคลเซียมโบรอน ซิลิก้าไปแล้ว มันจะมีตัวสังกะสีกับวิตามินอี ตัวนี้ในช่วงที่จะเปิดดอกพริก 1 เดือน เรารูว่าอีกเดือนหนึ่งพริกจะติดดอกออกผล อย่างน้อย 2 อาทิตย์แรก หรือ 1 เดือน 4 อาทิตย์ ก่อนที่จะติดดอก ท่านควรหาพวกวิตามินอี ที่ช่วยให้เกสรไม่เป็นหมัน สังกะสีที่ช่วยสังเคราะห์อ๊อกซิน ฮอร์โมน และช่วยในเรื่องของการทำการสังเคราะห์แสง การสังเคราะห์แสงที่ดีนำมาซึ่งการได้สารอาหารพวกซูโครส เป็นพวกโปรตีนต่างๆเยอะแยะมากมายไปเลี้ยงกิ่งก้านใบของพริก ถ้าจะให้ครบมันจะมีตัวที่ใช้ในเรื่องของการเปิดตาดอกโดยตรงที่มีทั้งโบรอน สังกะสี วิตามินอี ซิลิก้า ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษเขาจะมีตัวผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าไวตาไลเซอร์ ไวตาไลเซอร์ส่งเสริมมาตั้งแต่ อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ซึ่งเป็นอดีตประธานชมรมของพวกเรา ใช้ได้ทั้งใน สวนส้ม ทุเรียน ลองกอง มังคุด ตัวนี้จะทำให้ขั้วดอกผลเหนียว เพราะฉะนั้นพริกจะนอกจากดกแล้วก็ยังมีคุณภาพในการรักษาขั้วดอกขั้วผลให้เหนียวแน่น ส่วนในเรื่องของโรคใบเหลือง ที่จะทำให้เกิดเชื้อรา เข้าตรงช่อดอก ก้าน ใบ ตรงนี้ทำให้พริกที่มีปัญหา เราต้องป้องกัน ความจริงแล้วตั้งแต่เริ่มปลูกควรใช้พวกไตรโคเดอร์ม่า ใช้พวกบีเอส หรือบาซิลลัสทับซิลิสในการที่จะฉีดพ่นดูแลเพราะเราปลูกพริกประมาณ 100 วัน 100 วันผู้ประกอบการปลูกพริกรุ่นใหม่ต้องคำนวณว่าการใช้ปัจจัยการผลิตเท่าไรจึงจะคุ้มทุน พริกนอกจากดอกและผลหลุดล่วงจากตัวโรคทางอากาศแล้วยังเป็นโรคทางใบด้วยพวกไฟทอปธอร่า พวกนี้ทำให้รากของพริกนั้นเน่า พอรากพริกเน่าเหมือนคนปากเจ็บ เพราะว่าพริกใช้รากในการหาและดูดกินอาหาร ถ้าปากของพริกเจ็บก็กินอาหารได้น้อยแม้ว่าบางคนจะบอกว่าให้อาหารทางใบได้ อาหารทางใบก็ไม่ได้กินแบบต่อเนื่องเหมือนทางดิน ทางดินก็เหมือนมีหลอดดูดขึ้นมา ดูดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เขามีอาหารอยู่ในดินต้องมีมาก ทางใบ 7 วันมาฉีดทีมันไม่เพียงพอ การให้อาหารทางใบเหมือนเป็นการเสริมเติมเต็มเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเวลาพริกมีปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าจะมีอาการใบเหลือง ต้นโทรม บางทีถ้าเจ้าของสวนไม่รุ้ก็อาจจะทำให้ต้นพริกตายทั้งแปลงก็เป็นได้ การป้องกันโดยการใช้พวกไตรโคเดอร์ม่า ไตรโคเดอร์ม่าเป็นจุลินทรีย์ชีวภาพท้องถิ่น ถ้าต้องการใช้สายพันธุ์ไทย ของเราจะชื่อว่าอินดิวเซอร์ ตัวนี้มีมาตรฐานในระดับไอฟ่ง ออแกนิกส์ไทยแลนด์ สามารถไปโชว์ว่า สามารถจด GAP หรือ Q กับกรมส่งเสริมวิชาการเกษตรได้ ทำให้พริกเราอัพเกรดขึ้นมาว่ามีมาตรฐาน เราใช้ตัวนี้จะฉีดพ่นหรือใช้รองก้นหลุมปลูกป้องกันรากเน่าโคนเน่า และก็ฉีดพ่นทางใบเมื่อเจอปัญหาโรคเข้าทำลาย อาจจะใช้สลับกับตัวบีเอส บาซิลลัสทับซิลิส หรือ ไบโอเซนเซอร์ก็ได้ ก็จะช่วยลดปัญหาในเรื่องขั้วดอกขั้วใบ ขั้วผลพริกเน่าได้ และยังควบรวม ครอบคลุมไปถึงโรคกุ้งแห้งในพริก โรคแบคทีเรียวิว โรคพวกใบติด ใบเฉิ่ม ใบฉ่ำ ตากบ ตาเสือได้ด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นวิธีการที่จะทำให้เพื่อนๆที่ปลูกพริกหรือพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกพริกทุเลาเบาบางกับปัญหาดอกและผลล่วง ทำให้ผลผลิตเราลดน้อยถอยลง และถ้าเพื่อนๆเก่งสามารถหมักขยายเชื้อได้ เชื้อบิวเวอร์เรียจะแก้ปัญหาเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งที่เกาะเป็นกลุ่มๆ และตัวเขาจะมีไขมันมีแป้งเยอะ เป็นเกราะป้องกันถ้าท่านใช้ตัวบิวเวอร์เรียหรือบูเวเรีย ใช้เมธาไรเซียมหรือฟอร์แทรน อย่างละ 50 กรัม และบวกสารจับใบหรือน้ำยาล้างจาน นำยาล้างจานหรือสารจับใบจะเป็นตัวสลายไขมันและแป้งที่อยู่บนตัวเพลี้ยทำให้เหมือนเปิดบ้าน แหวะม่าน ทำให้อาวุธเชื้อโรคเข้าไปตามหลืบ พวกเพลี้ยอ่อนไข่ทีนึง 200-300 ฟอง ตัวแก่ ตัวพ่อ ตัวแม่ก็คุมอยู่ด้านบนจะสังเกตว่าเวลาเราฉีดเคมี ถ้าเป็นเกษตรกรที่เดินเร็วๆ จ้างมาฉีดเดินเร็วเพลี้ยอ่อนไม่ตายนะครับ จะตายตัวพ่อตัวแม่ด้านบน ส่วนตัวลูกไม่โดน มันเหมือนอาวุธธรรมดา แต่ถ้าเป็นอาวุธเชื้อโรคเหมือนบิวเวอร์เรียกับเมธาไรเซียม มันเป็นอาวุธเชื้อโรคถ้าปล่อยให้สปอร์หรือเซลล์มันตกค้างแล้วมันแตกออกลูกออกหลานซอกซอนทำให้เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งติดเชื่อป่วยตาย เขาจะเหลวไหล พวกมะละกอ พวกกล้วยใช้พวกบิวเวอร์เรียกับเมธาไรเซียมปราบพวกเพลี้ยพวกนี้และบวกกับน้ำยาจับใบหรือสารน้ำยาล้างจานอะไรแบบนี้ก็จะแก้ปัญหาในเรื่องของพวกแมลงปากดูด ที่สำคัญบางทีสามารถที่จะยับยั้งเพลี้ยไฟที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นด้วยก็ได้

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

Line Official: https://lin.ee/3M1NXzf
ช่อง Youtube: https://bit.ly/3o1LAhK
เพจ Facebook: Thai Green Agro
Call Center: 084-5554205-9
ฝ่ายวิชาการ : 02-9861680-2
ไอดีไลน์: tga001-tga004
เว็บไซต์: www.thaigreenagro.com
×