0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ผลิตไคโตซานแบบง่ายใช้เองนักเลงพอ

วันนี้เราจะมาพูดถึงการผลิตไคโตซานแบบง่าย แบบง่ายๆใช้เองนักเลงพอ เดี๋ยวเราจะมาคุยถึงเรื่องราวต่างๆเหล่านี้เราจะมาคุยเรื่องการผลิตไคโตซานแบบง่ายๆใช้เอง

ก็ควรจะ(ในการเกษตร) เพราะว่าไคโตซานนั้นความจริงแล้วก็อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งเรื่องของอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมความสวย ความงาม เขาก็ใช้พวกนี้ด้านการแพทย์อะไรต่างๆที่ไปช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพวกแบคทีเรียในลำไส้อะไรต่างๆ แต่ผมคิดว่าเพื่อนๆคงจะรู้จัก โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ของชาวเกษตรปลอดสารพิษ หรือไทยกรีนอะโกร เราจะรู้จากภาคการเกษตร ไคโตซานมีการวิเคราะห์ วิจัย ในระดับโลกมาเป็น 100 ปี นำประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ประมาณ ไม่กี่ 10 ปีมานี้ 40-50 ปี แต่ถ้า ดี เด่น ดัง ในวงการเกษตร ผมว่าประมาณ 20 ปี ไม่ใช่ 2 ปี ไคโตซานความจริงแล้วแหล่งวัตถุดิบใหญ่เป็นอันดับต้นๆของโลก ของเราอยู่ที่ประเทศไทย ประเทศไทยเราเลี้ยงกุ้ง ไคโตซานมาจากเปลือกกุ้ง เป็นส่วนใหญ่ ความจริงก็คือเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก เราส่งออกกุ้งไปประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็พัฒนา วิจัย ผลิต เขาไม่ได้กินเนื้อกุ้งอย่างเดียว เขาเอาเปลือกกุ้ง เขาซื้อเป็นกิโลไปไม่กี่ร้อยบาท แต่เขาไปสกัดไคติน ไคโตซาน ใช้ในวงการเครื่องสำอาง การทรีทเม้นท์ผิว การบำรุงเพราะเขามีประจุบวก แล้วก็สร้างความชุ่มชื้นเกาะไขมันอะไรต่างๆทำให้ผิวเราอิ่มเอิบ ขายกลับมาอีกที กิโลกรัมละเป็นแสนอยู่ในส่วนประกอบของครีม เครื่องสำอาง กระปุกนิดเดียวเป็นร้อย เป็นพัน เราส่งเขาไปเป็นตัน ตันละไม่กี่บาทก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยี และก็ต่อมาก็คนไทยเริ่มรู้เริ่มเข้าใจที่มหาชัย เขาเริ่มให้ที่ฟาร์มกุ้งหรือโรงแช่แข็ง ห้องเย็นในประเทศไทยเริ่มให้ process ในการเอาเปลือกกุ้งมา สับ หั่น บด ย่อยให้ละเอียด หรือทำให้เป็นผง เป็นแป้งแล้วก็ส่งเพื่อที่ลดต้นทุนในการขนส่ง ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว แถวมหาชัยจะขายวัตถุดิบที่จะมาผลิตไคโตซาน โลหนึ่งหลายพันขึ้นอยู่กับเกรดหรือชนิด ก่อนหน้านี้ไทยกรีนอะโกรก็เคยจำหน่ายไคโตซาน ไคโตซานหลักๆทางการเกษตร ความจริงก็แบ่งชนิดเป็น แอลฟา เบต้า อะไรต่างๆเหล่านี้ เป็นกลุ่มของโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างซับซ้อนเป็นสารเหมือนพวกโพลิเมอร์สารอุ้มน้ำ เป็นสารธรรมชาติ ท่านอ.สุวัตน์ ทรัพยประภา เคยเอาไคตาซานชนิดสายโซ่สั้น ประมาณ 80 ห่วงโซ่ของโมลิกุลหรือโครโมโซม ถ้าเป็นสายโซ่ยาวจะเรียกว่าชนิดโพลิเมอร์ ตอนนั้น ท่านอ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ เอามาเผยแพร่ช่วยในเรื่องของการเร่งโตเพราะว่าในไคโตซานก็มีกลุ่มของกรดอะมิโนด้วย เราก็เอามาเสริมร่วมกับตัวซิลิสิคแอซิด ซิลิสิคแอซิดเป็นสารที่ได้มาจากกลุ่มของพวกซีโอไลท์หรือหินแร่ภูเขาไฟ หินแร่ภูเขาไฟถ้าเป็นเนื้อลาวา เนื้อที่ขุดเอามาจากภูเขาสัมปทานบดก็จะได้แร่ธาตุเยอะแยะมากมาย ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส อะไรต่างๆแต่ต้องมีซิลิก้าหรือซิลิก้อน หรือ ซิลิสิคแอซิด ละลายได้ 70% สมัยนั้นเราสกัดเอาเฉพาะซิลิสิคแอซิด สเปรย์ไปที่ยอด เอามาเสริมการทำงานกับไคโตซาน เพราะว่าไคโตซานสามารถที่จะสร้างภูมิคุ้มกันแล้วตรงกระบวนการผลิตของเขา เขาจะละลายกับพวกกรดต่างๆ กรดอินทรีย์ หรือพวกกรดอะซิติกด้วย โดยลำพังตัวเขาเป็นประจุบวก ถ้าฉีดไปเกาะติดผนังของแมลงที่มีองค์ประกอบเป็นประจุลบก็จะทำให้ตัวผิว หรือ ผนังลำตัวของแมลงอาจจะมีปัญหาทำให้เกิดบาดแผล เกิดการฉีกขาด รั่วซึม ทำให้เวลาเราจะใช้สารไคโตซาน นอกจากเร่งโต บำรุง เร่งดอก หรือบางคนไปเลี้ยงจุลินทรีย์อะไรต่างๆ บางทีก็ที่แน่ๆสามารถที่จะยับยั้ง สร้างภูมิต้านทานกับเชื้อราโรคพืชได้ แต่ถ้าใช้งานแทคทีมกับซิลิสิคแอซิด ที่เป็นซิลิก้า ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพยิ่งทำให้เซลล์เหนียว แข็ง มีภูมิต้านทานต่อพวกโรคแมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ได้ดีในระดับที่น่าพึงพอใจ ไคโตวานเราส่งเสริมในระดับแรกๆของประเทศเลยก็ว่าได้ ทั้งครูบาอาจารย์ ทั้ง 2 ท่าน แต่ไม่ดังเท่ากับบริษัทขายตรงเจ้าหนึ่ง บริษัทขายตรงเอามาทำตลาดแค่ 2-3 ปี ดังในระดับประเทศ รวยหลายพันล้าน ขายไคโตซานอย่างเดียว จนกระทั่งก็มีบางส่วนของหน่วยงานก็มาว่าจ้างให้ทางเราผลิตให้ด้วยซ้ำ คนที่อยู่ในวงการเกษตรคงจะจำได้ บริษัทขายตรงที่ขายไคโตซานลงท้ายด้วย สีแดง ดำ เหลือง ต่างๆ เขาเอาไคโตซาน เราทำแบบเข้มข้น ใช้แค่ 5 ซีซี ยังใช้ได้ผลตามคุณสมบัติเขานะครับ ไม่ใช่ขายใช้วิเศษเหมือนกัน พวกนี้เขาขายตรงคนซื้อเขาไม่ได้ซื้อเพราะว่าของดี คนซื้อเพราะว่าได้แต้ม ได้โบนัส ได้พ้อยท์สะสมคะแนน เวลาไปขายตรง ประกาศขายเชิญชวนพ่อ แม่ ชาวไร่ ชาวนา ก็อยากจะได้เงินทอน ได้โบนัส แทนที่จะซื้อทำนา 5 ไร่ ได้ขวดเดียวก็ซื้อมาเต็มใต้ถุนบ้าน บอกต่อทำให้เกิดดีมานเทียม ทำให้เกิดความต้องการไม่จริง ผลสุดท้ายปันผลไม่ทันก็เกิดปัญหา เขาขายเป็นพันๆล้าน ที่จะสื่อก็คือขายดีจนผลิตของแท้ 100% ไม่ทัน ต้องเอามาเจือจาง จาก ลิตรเดียว ขยายเป็น 200 ลิตรก็ยังขายดีอยู่ อันนี้พูดตามประสบการณ์ที่กลุ่มของคนพวกนี้มาให้เราผลิต แต่เราไม่ได้ผลิตแบบนั้น เขาเอาไป process ต่ออีกทีหนึ่ง ก็ยังขายได้แล้วก็ทราบข่าวว่าบางทีข้ามไปขอบชายแดนแม่น้ำโขงก็กลายพันธุ์ ปรากฏว่าไคโตซานแถวริมแม่น้ำโขง แถวอุบลราชธานี หนองคาย อำนาจเจริญ แถวนั้นแล้วข้ามไปฝั่งโขง ไคโตซานยี่ห้อดังกล่าว ปรากฏว่าฉีดปุ๊บ ทั้งหนอน ทั้งรา ตายทันที ทั้งๆที่มันเป็นสารสกัดจากเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก ไม่ได้มีพิษมีภัย ได้แค่ป้องกันอย่างเดียว ก็มาทราบว่ามีการเอาพวกยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อราเอาไปมิกซ์ เอาไปผสมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ลูกค้าบอกไหนมีความป้องกันดีไม่เห็นมีความชัดเจนเลย ต้องตอบสนองเหมือนคนขายปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแล้ว ไม่เขียวไม่งามบางทีพ่อค้าก็ต้องแอบเอายูเรียมาละลายน้ำ และก็เอาสเปรย์ฉีดพ่น หรือแอบเอาปุ๋ยยูเรียมาผสม อันนี้เป็นเรื่องราวของไคโตซาน ต่อมาก็มีการเอามาพัฒนาเนื่องจากว่าเขาเป็นสารอินทรีย์ในกลุ่มโพลิเมอร์ สารธรรมชาติ ถ้าเป็นสายโซ่ยาวที่เรียกว่าโพลิเมอร์ เขาจะมีความข้นหนืด ส่วนใหญ่ก็มาทำแวกซ์ เคลือบผิว สร้างความสด เวลาจุ่ม ฉีด สเปรย์บนใบพัด ก็จะเขียวสดทนนานแบบธรรมชาติ ฉีดลงไปเรือกสวนไร่นา สวนส้มโอ สวนส้มเขียวหวาน ลองกองใบจะเขียว มัน มีความอุดมสมบูรณ์ เหมือนสร้างสารลิกนินได้ นี่ถือว่าเป็นหน้าที่ของไคโตซานแต่ตัวเขาเองเร่งโตได้ ยับยั้ง สร้างภูมิต่อเชื้อรา ทีนี้มาดูว่าถ้าซื้อเขามันแพง ทำกินเองหัวไร่ปลายนา ทำในแบบครัวเรือน เวลาเรากินปู กินกุ้ง อยากให้เพื่อนๆได้ใช้ ไม่อยากซื้อ ก็ผลิตเอง กินกุ้งวันนี้กินทั้งครอบครัว ซื้อกุ้งมา 2 โล กินเนื้อแล้ว เอาเปลือกกุ้ง หาง หัว เอามาสับบด ไม่โขกไม่สับก็ได้ แต่ทำให้มันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย การย่อยสลายก็จะดี เอามาใส่ภาชนะที่กักเก็บน้ำได้ สัก 20 ลิตร และเขาละลายได้ดีกว่าพวกกรดอินทรีย์ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษเราส่งเสริมให้ใช้จุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้อง กระเพาะเขามี 4 ห้อง หรือคนโบราณเรียกว่าสัตว์ 4 กระเพาะ เวลามันขับถ่ายออกมาก็จะมีจุลินทรีย์ที่ย่อยหญ้า ย่อยฟาง เก่งที่สุดในโลกก็ว่าได้ ดีที่สุดในประเทศไทย เพราะว่ามันย่อยหญ้า ย่อยฟาง ดีที่สุดในการเอาไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่เพื่อนๆ ไปซื้อหญ้าซื้อฟาง เศษกิ่งไม้ ใบหญ้า เอามาสับ มาบดแล้วก็เอามาหมัก ลองสเปรย์แล้วฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ขี้ควาย มันจะย่อยพวกหญ้าฟางเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผงเหมือนขี้วัวขี้ควายแห้งที่เราไปเห็น วิธีการทำลองไปดูคลิปยูทูป ไทยกรีนอะโกรชาแนล ผมจะให้เอามาทำไคโตซาน น้ำ 20 ลิตร ใส่เปลือกกุ้ง แกนปลาหมึกที่เป็นแกนใสๆ เวลาเรากินปลาหมึกดึงหัวออกมันจะมีแกน ตัวนั้นก็ใช้ได้ หรือเปลือกปูก็ใช้ได้กระดองปู เอามารวมกันสับโขกบดให้มันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมันก็ย่อยได้ดี ใส่ในน้ำ 20 ลิตร แล้วเอาจุลินทรีย์ขี้ควายที่หมักดีแล้วเอามาแค่ประมาณ 1-2 ลิตรก็พอ เอามาเติมเพื่อเป็นจุลินทรีย์ แล้วก็กากน้ำตาลไป 10 ลิตร เป็นอาหารให้หัวเชื้อพวกนี้มันโตมันก็จะเข้าไปทุกอนูของเปลือกกุ้ง  มันย่อยยาก แต่ยังไม่พอ เติมน้ำส้มสายชูลงไป น้ำส้มสายชูเป็นกรดอะซิติกแอซิด ตัวนี้เป็นตัวที่ทำให้เปลือกกุ้งนิ่ม จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ดีขึ้น อันนี้เราทำกินเองไม่ต้องไปเปลือกอะไรมาก หมัก 1 เดือน เตรียมตัวล่วงหน้า ความจริงแล้ว 15 วันก็ใช้ได้ แต่อยากให้มันย่อยพวกไคติน ไคโตซาน ออกมาให้มากที่สุด เวลาเราเอามาใช้รด ราดดิน บำรุงดิน ฉีดบำรุงดอก บำรุงผล สร้างภูมิต้านทาน ยิ่งใช้ร่วมกับตัวซิลิสิคแอซิด ฉีดตรงไหน แข็งตรงนั้น โรคแมลงเข้าทำลายได้ยาก   

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×