ในช่วงฝนตกแบบนี้
ชาวสวนยางพาราคงมีความกังวลใจกับโรคที่จะมากับฝน และยิ่งลำบากกันเพิ่มขึ้นไปอีก
เพราะจำนวนวันกรีดก็จะน้อยลงไปด้วย โรคที่เกิดขึ้นบ่อยของยางพาราคือ โรคเส้นดำ (Black
Stripe) เป็นโรคทางลำต้นของยางพาราที่มีความสำคัญ
เนื่องจากทำลายหน้ากรีดซึ่งเป็นบริเวณเก็บเกี่ยวน้ำยาง เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้วจะไม่สามารถกรีดยางต้นนั้นได้
จนกว่าแผลที่หน้ายางจะหายดี
ถ้าอาการรุนแรงจะไม่สามารถกรีดยางซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้อีก
ทำให้ระยะเวลาการให้ผลผลิตยางสั้นลง โรคเส้นดำ (Black
Stripe) เกิดจากเชื้อรา Phytophthora botryosa และ P. palmivoraเชื้อราจะเข้าทำลายได้เฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น ลักษณะอาการจะทำให้บริเวณหน้ายางที่ผ่านการกรีดมาแล้ว
จะมีลักษณะเป็นรอยช้ำ ต่อมาจะกลายเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสีน้ำตาลดำตามแนวยาวของลำต้น
เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณรอยบุ๋มสีดำจะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ยาง
และอาจลุกลามลงใต้รอยกรีด ถ้าอาการรุนแรง เปลือกยางบริเวณที่เป็นโรคจะปริเน่า
มีน้ำยางไหล เปลือกเน่าหลุดออกมา
การป้องกันและกำจัดโรคเส้นดำ (Black
Stripe) ในยางพารา ชาวสวนผู้ปลูกยางพาราควรตัดแต่งกิ่งยางและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โปร่ง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก
และไม่ควรปลูกพืชอาศัยที่ก่อให้เกิดเชื้อราหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดยางในระหว่างฤดูฝน
หากเป็นช่วงที่มีฝน อย่ากรีดหน้ายางลึกจนถึงเนื้อไม้
เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหายและเชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ควรปรับปรุงบำรุงดิน
เสริมความแข็งแรงให้ต้นยางพารา
ด้วยการหมั่นเติมอินทรีย์วัตถุปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินนุ่มโปร่งร่วนซุยและใส่พวกกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ
เช่น ภูไมท์ , ภูไมท์ซัลเฟต , พูมิช ,พูมิชซัลเฟอร์
กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟพวกนี้จะช่วยเพิ่มซิลิก้าในดินให้อยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
ซึ่งซิลิก้าถ้าพืชดูดขึ้นไปใช้จะตกผลึกที่เซลล์ในส่วนต่างๆของต้นพืชจะทำให้เซลล์พืชแข็ง ทนต่อการเข้าทำลายของโรคแมลงไรราประหยัดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและสารกำจัดโรคพืชต่างๆและยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย ดินซึมผ่านน้ำได้ง่าย
ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น แก้ดินที่เหนียวจัด แก้ดินดาน แก้ดินแน่นแข็ง ก็จะลดการเข้าเข้าทำลายของโรคเส้นดำ (Black
Stripe) ได้ในระดับหนึ่ง
จากนั้นให้ฉีดอินดิวเซอร์
(ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส
ซับธิลิส)ทั้งสองตัวมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อราโดยให้ใช้ในอัตรา50กรัมต่อน้ำ20ลิตร
ฉีดพ่นให้ครอบคลุมทั้งสวนยางพารา
ให้ฉีดพ่นทุกๆ7วันครั้ง ควรฉีดตอนแดดอ่อนๆ
ช่วงเช้าตรู่ หรือตอนเย็น เพราะอินดิวเซอร์
(ไตรโคเดอร์ม่า)กับไบโอเซ็นเซอร์(บาซิลลัส ซับธิลิส)เป็นจุลินทรีย์
จะถูดแสงแดดทำลายได้ง่าย ไม่ควรผสมพร้อมกับยาฆ่าแมลง เพราะยาจะกินกัน
ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพ ถ้าพบระบาดมาก ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง ใน 3-4 วัน
โดยใช้อัตราส่วนผสมเท่าเดิม