0

Your Cart

No products in the cart.
THAIGREENAGRO | ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
[agrikon_wc_ajax_search]

ปุ๋ยเคมีแพงโก่งราคา หันมาหาทางเลือกใช้ หินแร่ภูเขาไฟร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน

วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของราคาปุ๋ยเคมีที่ได้ข่าวว่าตอนนี้ก็กลุ่มที่นำเข้ามาไม่กี่ราย ก็มีการอ้างว่าจะเพิ่มราคาและมีหนังสือมายังคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม ว่าให้เข้ามาช่วยเหลือดูแลว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ปุ๋ยเคมีเขาโก่งราคาเราจึงต้องหาทางเลือกวัสดุที่ใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี เดี๋ยวเรามาคุยกันในรายละเอียด

                เรื่องการเกษตรสถานการณ์ปุ๋ยแพง การหาวัสดุที่ง่าย ใกล้ตัว นำมาใช้ในการทดแทนปุ๋ยเคมี ปุ๋ยยูเรียเราเคยได้เอามาเล่าเรื่องราคาที่บวกขึ้นไป เพื่อนๆที่ติดตามสถานการณ์ก็ลองไปดูในคลิปเก่าๆ ก็ส่งสัญญาณเตือนมาให้แล้ว 1 รอบ สถานการณ์ตอนนี้มังคุดกิโลกรัมละ 3-5 บาท หน้าสวน เกษตรกรเก็บมาแล้วก็ต้องมาใส่รถบรรทุกแล้วต้องมาเทกองเพื่อประท้วง ประชดประชันผู้มีอำนาจให้ช่วยเหลือจนนางเองคุณแอน ทองประสม ช่วยด้วยความบริสุทธิ์ใจ อ้างว่าคุณยายเป็นเกษตรกรเข้าใจความรู้สึกว่ากว่าจะได้ผลผลิตมาแต่ละผล แต่ละหน่วยนั้นยิ่งยากเพียงใด มังคุดถือว่าเป็นพระเอกอันหนึ่งในตอนนี้ ที่สร้างรายได้กับประเทศไทย ส่วนใหญ่ก็ส่งไปจีนเหมือนทุเรียนแต่ตอนนี้ภาวะทั้งโรคระบาด ทั้งเศรษฐกิจ ตู้คอนเทนเนอร์ขาดตอน ส่งไปจีนไม่ได้ ทำให้มังคุดก็ได้รับผลกระทบในช่วงนี้ ราคาค่าขนส่งจากหน้าสวนไปทางเหนือ ภาคกลางก็ตกประมาณ 10 กว่าบาท อันนี้ยังจัดว่าเป็นราคาส่งด้วยซ้ำ เราอาจจะได้ซื้อที่กิโลละ 20-25 บาท หรือถูกกว่านี้ก็ถือว่าชาวสวนยังลำบาก ราคาผลผลิต ภาคการเกษตรเกือบทุกตัว ทั้งๆที่มีสถานการณ์อย่างนี้ความจริงการผลิตน่าจะยุ่งยากลำบากแต่ผลผลิตภาคการเกษตรก็ยังถูกแต่ปุ๋ยแพง เราต้องมาดูว่าถ้าเราพึ่งรัฐบาลไม่ได้ ก็ต้องพึ่งตนเอง ปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารหลักแค่ 3 ตัว เป็นองค์ประกอบหลักคือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ไนโตรเจนกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือยูเรีย 46-0-0 หรือตัว 21-0-0 15-0-0 เราสามารถที่จะใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์แทนได้ หรือมีคนใจเย็นพอที่จะใช้ปุ๋ยพืชสดไหม พวกพืชตระกูลถั่ว โสน ปอเทือง ไมยราพ อะไรต่างๆเหล่านี้ใช้ได้ แต่ที่แน่ๆปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก แทนไนโตรเจนจากตัวของปุ๋ยเคมีที่ไม่แน่ใจว่าแทนด้วยความจำเป็นหรือแทนเพราะโก่งราคา ก็ลูกชาวนา ตัวผมเองก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลาย 10 ปี ก็ยังไม่เคยเห็นเกษตรกรตั้งราคาเกษตรได้เองเลย มีโควิดน่าจะตั้งราคาขายข้าวตันละ 20,000-30,000 บาท ก็ทำไม่ได้ชาวนา ก็เห็นแต่เวลาเขาจะขึ้นราคาข้าวเปลือก เหมือนเคาะกะลาให้หมาดีใจ จะขึ้นราคาข้าวเปลือกให้แต่แอบไปขึ้นราคาข้าวสารแล้ว พอขึ้นราคาข้าวเปลือกเพิ่มราคาขึ้นตันละ 2,000 บาท ก็ขึ้นราคาข้าวสารพอ แล้วก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปราคาข้าวเปลือกตกลงแต่ราคาข้าวสารยังค้างอยู่ที่เดิมก็เห็นยังงี้ ที่พูดพูดจากประสบการณ์ที่เห็น เพราะฉะนั้นก็เลยไม่อยากให้เพื่อนๆรอโอกาส รอเวลา ทำเองกับปุ๋ย หรือผสมแม่ปุ๋ยใช้เอง ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เอาเศษไม้ใบหญ้า สับ หั่น บด ย่อย รวมกอง จะวางไว้เป็นแพรูปบวกของท่อนไม้ไผ่ก็ได้ หรือท่อพีบีซีเพื่อให้อากาศมัน Flow เอามีอีเหน็บอีโต้เซาะท่อปล้องไม้ไผ่ แล้วก็วางเป็นแพรูปบวก เอาอินทรียวัตถุ เศษไม้ใบหญ้า ตอซังฟางข้าว กองราดด้วยจุลินทรีย์ขี้ควายหรือจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้องราดรด ก็จะมีปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน อีกตัวหนึ่งก็คือลาวาจากภูเขาไฟ ในบ้านเรามีภูเขาไฟเยอะไปสำรวจตรวจจากกรมทรัพยากรธรณีได้ มีภูเขาไฟมีลาวา แถวอีสาน แถวสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ เขาก็มีหินภูเขาไฟเยอะ ทำให้ข้าวเมืองเขาหอมอร่อย ทุเรียนที่ปลูกบนภูเขาไฟเพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยลาวาที่ละลายเอาหินแร่ต่างๆ แล้วก็ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านสภาพภูมิอากาศ ทำให้เปื่อยยุ่ยผุพังกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี จะเห็นว่าข้าวหอมมะลิเบื้องต้นก็มาจากกรมการข้าว กรมการข้าวเป็นคนเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ สมัยก่อนนับตั้งแต่สมัยธนบุรี อยุธยา ต้องสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ คนส่วนใหญ่ก็อยู่รอบแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะฉะนั้นพันธุ์ข้าวที่กรทการข้าวรวบรวมและส่งไปให้สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติฟิลิปปินส์ อีรี่ ส่วนหนึ่งก็เอามาพัฒนาและก็เอาไปทำสถานีวิจัยที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้พันธุ์ข้าว อาจจะเรียกว่าดอกมะลิ หรือหอมมะลิ เบอร์ 1 ถึง เบอร์ 105-106 หรือ 107 ปรากฏว่าพันธุ์ 105 ต้นมันอวบอ้วนใหญ่โต รวงหนักดี เขาก็เลยเอาไปพัฒนาเอาไปปลูก ดินอีสานสมัยก่อนมันไม่สมบูรณ์ เขาเรียกว่าอีสานแล้ง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นไม่งาม ก็เลย ภาครัฐก็พยายามเอาพันธุ์ที่ดี ที่โตเร็วไปปลูก ก็จึงเอาพันธุ์ข้าวเหล่านี้ไปปลูกที่ทุ่งกุลาร้องไห้จึงได้ข้าวที่ปกติแล้ว สมบูรณ์แข็งแรง อวบอ้วน ใบใหญ่ และก็ไปหอมที่ทุ่งกุลาแล้วก็ได้ข้าว ได้เพ็ชรเลย ทำให้ประเทศไทยเรามีเพ็ชรเม็ดงาม เป็นข้าวหอมมะลิส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก จนอเมริกาถ้าอยากจะแข่งก็เอาไปทำข้าวจัสมินไรส์ หรือลองแปลง ฟิลิปปินส์สมัยก่อนก็รวบรวมพันธุ์ ให้งบประมาณกับประเทศด้อยพัฒนาในสมัยนั้น และก็ให้ประเทศเหล่านั้นรวบรวมพันธุ์ส่งไปที่ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ก็ส่งต่อไปอเมริกา ก็ได้พันธุ์ข้าวของเอเชียไปพัฒนาวิจัยหลาย 10 ปี ก็มาเป็นลองแปลง ได้เม็ดใหญ่ยาวหอม แต่ธรรมชาติก็ยังคงความเอกลักษณ์ คงความยุติธรรมให้กับถิ่นนั้นๆ ที่เรียกว่าจีไอ ก็ทำให้เรายังมีข้าวที่โดดเด่น ทำไม่เหมือนข้าวหอมมะลิของเรา อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าเวลาปลูกข้าวทำนาอย่าเผาฟาง เราก็ต้องเพราะว่าปุ๋ยเคมีมันแพงขึ้นๆ ก็หมักย่อยแล้วเอาหินลาวา หินภูเขาไฟที่มีองค์ประกอบของพวกฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี จุลธาตุต่างๆ หรือบางคนจะใช้โดโลไมท์ กับฟอสเฟต ก็ได้ โดโลไมท์เราก็จะได้ธาตุรองคือพวกแคลเซียมกับแมกนีเซียมแต่ถ้าเป็นฟอสเฟตนี่จะได้ตัวฟอสฟอรัสกับตัวแคลเซียม แต่ 2 ตัวนี้ต้องระวังในเรื่องของความเป็นด่าง หน้าดินมันเป็นด่างและเราอยากจะได้ฟอสฟอรัสจากตัวฟอสเฟตกับแมกนีเซียมที่เป็นแคลเซียมแต่แมกนีเซียม ดินที่มันเป็นจะไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยแต่ถ้าเราจะเอาไปมิกซ์ ไปร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์บ้างนิดๆหน่อยๆ ตามสัดส่วนก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็ต้องใช้ทางเลือกและถ้าเรามีการบำรุงเตรียมดินดี ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เคยคุยไว้แล้วนะครับว่าดินที่มีอินทรียวัตถุ 5% ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีได้เพื่อนๆลองไปฟังในยูทูป ช่องไทยกรีนอะโกรหรือชมรมเกษตรปลอดสารพิษชาแนลได้ มาจากข้อมูลที่ว่าป่าเขาลำเนาไพรไม่ต้องมนุษย์คนใดไปรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย แม้แต่หยดละอองเดียว ทำไมป่าจึงสามารถผลิดอกออกผล ให้สัตว์ป่านานาชนิดดำรงชีพอยู่ได้ เพราะว่าเขาสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนเอาเศษกิ่งไม้ใบหญ้าร่วงหล่นมาสู่ดินกลายเป็นปุ๋ย กลายเป็นปุ๋ยเมล็ดก็งอกใหม่ งอกใหม่กลายเป็นต้นแก่ในป่าก็ผุพังมาเป็นปุ๋ยทดแทนโดยที่ไม่มีมนุษย์เข้าไปอัดทำลายไม่ไปใช้สารพิษยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหนอน ฆ่าแมลง ดินเขาจะอุดมสมบูรณ์แล้วไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีได้เลย เพราะฉะนั้นอินทรียวัตถุมีส่วนทำให้ดินดีเป็นดินดำน้ำชุ่มโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำอาชีพเกษตรแบบพอเพียง ทำอาชีพเกษตรแบบไม่ซีเรียสเรื่องผลผลิตและรายได้ สามารถยึดแนวทางเกษตรปลอดสารพิษมุ่งไปสู่อินทรีย์แบบไทยกรีนอะโกรแนะนำได้เลย แต่ถ้าเป็นเกษตรกรยังมีค่าเทอมยังมีหนี้สิน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่าย ที่ต้องจ่ายอีกจิปาถะ ก็อาจจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีเข้ามาเสริมร่วมบ้าง แต่อยากจะให้เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุจะได้ไม่ต้องซื้อกองรวม ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ชั้นหนึ่งเป็นเศษไม้ใบหญ้าที่สับชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยแล้ว ล่างสุดเป็นลำไม้ไผ่สีสุกก็ได้เอามีเหน็บอีโต้เซาะปล้อง เอาเศษไม้ใบหญ้าที่เปื่อยป่น สับหั่นย่อยแล้ว วางไปชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 เอาพวกมูลสัตว์เรียงแล้วก็อีกชั้น 1 เอาเศษไม้ใบหญ้าทับ 4-5 ชั้นและราดรดด้วยจุลินทรีย์สัตว์เคี้ยวเอื้องกระตุ้น สัตว์เคี้ยวเอื้องมี 4 กระเพาะ มีจุลินทรีย์ มีเอนไซต์ที่ย่อยเซลลูโลส ลิกนิน เฮมิเซลลูโลส ได้ดี แล้วก็มาขยายน้ำสะอาด 20 ลิตร ใส่มูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง วัว ควาย แพะ แกะ เก้ง กระจง จิงโจ้ ยีราฟ อูฐ ได้หมดเลย ยกเว้น หมู หมา กา ไก่ ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็ใช้ตัวนี้ มูลสัตว์สด 2 กิโล น้ำสะอาด 20 ลิตร ลูกแป้งข้าวหมาก กากน้ำตาล 10 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 วัน เราจะได้มีปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเป็นทางเลือก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ ปุ๋ยเคมีรู้สึกว่ายูเรียเพิ่มขึ้นมาลูกละ 200 บาท เป็นลูกละเกือบ 1,000 หรือ 1,000 กว่า จำไม่ได้ลองไปดู แล้วปุ๋ยอื่นๆอีกแล้วท่านใช้ตัวพวกภูไมท์ซัลเฟตถุงสีเหลืองในนี้จะมีจุลธาตุถึงแม้จะมีไม่เยอะเท่าปุ๋ยแต่มันจะมาเติมเต็ม ในปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์เราได้ไนโตรเจน ส่วนฟอสฟอรัสเราได้ในตัวภูไมท์หรือพูมิชซัลเฟอร์ ภูไมท์ซัลเฟตกับพูมิชซัลเฟอร์ถุงสีเหลือง เอามิกซ์ร่วมกันแล้วก็ไปใส่ ปกติแล้วเราจะใช้การทำนาหรือปลูกพืชที่เตรียมแปลงยกไร่ก็ประมาณ 20-40 กิโลกรัมต่อไร่ ตัวนี้จะให้ธาตุอาหารที่ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ร่วมกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์เป็นตัวที่ทำให้ดิน ดินที่มีองค์ประกอบอินทรีย์วัตถุ 5% น้ำ 25% อากาศ 25% อนินทรีย์หินแร่อีก 45% ถ้าใครปลูกข้าว ทำนา ทำสวน แล้วไม่เผาฟางไม่ใช้สารพิษไปทำลายจุลินทรีย์ไส้เดือน ตัวฮั่ม ตัวเบี่ยน ดินมันจะดีขึ้นเรื่อยๆแล้วก็จะลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย และการใช้หินภูเขาไฟมันมีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้อีกตั้ง 70% ตัวเลข 70% ไม่ใช่หลับตาและก็พูด มีงานวิจัยหินแร่ภูเขาไฟภาษาฝรั่งเขาเรียกซีโอไลท์เป็นภาษากรีกโบราณ ซีโอแปลว่าเดือด ไลท์มาจากคำว่าหิน หินที่เดือดแล้วเท่านั้น จึงจะเรียกว่าซีโอไลท์หรือหินภูเขาไฟมันจะมีเมื่อถ้าส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอน เป็น 100 เท่า หรือเป็น 1,000 เท่า มันจะเห็นเป็นโครงสร้างวงแหวน 8 เหลี่ยม ซ้อนกันเหมือนรังผึ้ง ทำให้ใส่ลงไปในดิน ดินก็ฟู เป็นดินดำน้ำชุ่ม แล้วซิลิก้าที่ละลายน้ำได้จากหินลาวา หินเดือด หินซีโอไลท์มันมี 70% มันทำให้พืชข้าวของเราทนต่ออากาศหนาวจัดร้อนจัด มีน้ำหนักดี ใบแข็งแกร่ง ต้านทานเพลี้ย แมลง หนอน รา ไร เมื่อมันทนทานเหมือนไก่ชน เหมือนนักมวย มันก็ทำให้เราใช้สารพิษในการป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น พอมันเจ็บป่วยเราก็ไม่ต้องไปใช้สารพิษแรงๆ เพราะดินก็ดี ดินไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนได้อะไรต่างๆ มีซิลิก้า  ในหินภูเขาไฟก็มีธาตุอาหาร หรือใครมีขี้ค้างคาว ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ค้างคาวมันแพง มีขี้เป็ด ขี้ไก่ผมก็เคยคุยเอาไว้ในคลิปเก่าๆ เปลี่ยนขี้ไก่ให้กลายเป็นขี้ค้างคาว ทำอย่างไรไปดูในยูทูปไทยกรีนอะโกรชาแนล ประเด็นวันนี้คนมันโก่งราคาปุ๋ยเคมีแพง เราใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรียืร่วมกับภูไมท์ซัลเฟต พูมิชซัลเฟอร์ หรือหินแร่ภูเขาไฟมันจะให้ผล ทำให้ดินไม่ขาดธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ถ้าใช้ไปนานๆเกิดการสะสมอาหารในดิน พวกนี้อยู่ในดินได้เป็นล้านๆปีและละลาย ไม่ได้อยู่แบบคอนกรีตหรือซีเมนต์อยู่แบบเปื่อยยุ่ย ละลายตัวเอง ออกมาเป็นปุ๋ยให้พืชทีละเล็กละน้อย ปุ๋ยพง ยาแพง ไม่ต้องง้อ ทำเอง


มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปอลดสารพิษ www.thaigreenagro.com

×