ต้นทองหลางนั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่ชาวสวนนนทบุรีนิยมนำมาปลูกควบคู่กับต้นทุเรียน โดยจะทำการปลูกบริเวณริมคันสวน หรือ บริเวณริมท้องร่อง ซึ่งต้นทองหลางนั้นจะช่วยในเรื่องของการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยได้ดี การบำรุงดินให้ร่วนซุย ช่วยป้องกันการกัดเซาะให้ระบบรากนั้นแข็งแรงยิ่งขึ้น และยังรักษาความชื้นได้ดีเนื่องจากรากของต้นทองหลางสามารถดูดซับและกักเก็บน้ำได้ดี จึงช่วยรักษาความชื้นในดิน ดังนั้นเมื่อปลูกต้นทองหลางไว้หลายๆต้นก็จะทำให้ต้นไม้ใกล้เคียงนั้นเจริญงอกงามไปด้วย เมื่อใบทองหลางหลุดร่วงลงพื้นหรือตามท้องร่องครบรอบปีชาวสวนจะลอกขี้เลนขึ้นมาถมต้นทุเรียนซึ่งจะเป็นปุ๋ยหมักอย่างดีให้แก่ต้นทุเรียน และเมื่อถึงฤดูร้อนใบทองหลางนั้นจะมีน้ำระเหยออกมาเพื่อช่วยเป็นความชื้นในอากาศ ทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างไม่ชะงักนัก ดังนั้นต้นทองหลางจึงเป็นพืชที่เหมาะสำหรับบำรุงดินและรักษาระบบนิเวศน์ และ ข้อสำคัญชาวสวนทุเรียนนั้นนิยมเอามาปลูกคู่กับทุเรียน เนื่องจากเอาไว้ล่อให้หนอนหรือแมลงที่จะเข้าไปเจาะต้นทุเรียนนั้นเอง
นอกจากนี้ใบทองหลางยังสามารถรับประทานแบบสดกับเมี่ยงคำหรือเมี่ยงปลาทู และ ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก เนื่องจากมีวิตามินเอสูง และต้นทองหลางนั้นยังสามารถนำมาทำเป็นยาได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ผล เปลือก และราก โดยใบทองหลางใช้เป็นยาขับไส้เดือน แก้ริดสีดวง แก้ลมหากใบแก่สดๆนำไปนึ่งแล้วชุบสุรามาปิดแผลได้ ดอกทองหลาง ช่วยในเรื่องการขับโลหิตระดู เปลือกของต้นทองหลางใช้แก้เสมหะ แก้ลมและนิ่ว แก้โรคตับ ลดไข้ แก้ปวดท้อง กระพี้ทองหลางแก้พิษฝี แก่นทองหลางแก้อาการฝีในท้อง และ รากทองหลางช่วยแก้อาการพิษทั้งปวง
โดยโรคที่มักจะเจอในต้นทองหลาง ได้แก่ โรคราสนิมที่มีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็กๆสีเหลือง ส้ม หรือ น้ำตาล ที่บริเวณผิวใบ กิ่ง ผล เมื่อตุ่มเหล่านี้แตกจะมีผงสีส้มคล้ายสนิมสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้คือเชื้อรา
ซึ่งสามารถใช้อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า) หรือ ไบโอเซนเซอร์ในการกำจัดได้ โรคใบจุด ที่มีลักษณะใบเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป จุดเหล่านิอาจจะขยายใหญ่ขึ้นและรวมตัวกัน ทำให้ใบเหลืองและหลุดร่วง สามารถใช้ไบโอเซนเซอร์ในการกำจัดได้ โรคใบไหม้ มีลักษณะใบจะเริ่มมีอาการเหลืองจากปลายใบค่อยๆลามเข้ามาด้านในจากนั้นใบจะแห้งและกรอบ ซึ่งสามารถหลักมาจากเชื้อรา สามารถกำจัดได้โดยใช้ไบโอเซนเซอร์ และ สุดท้าย โรคเน่าคอดิน จะมีลักษณะเน้าที่โคนต้นเปลือกจะเริ่มมีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้มและยุบตัว สามารถหลักเกิดมาจากเชื้อรา สามาถใช้อินดิวเซอร์(ไตรโคเดอร์ม่า)กำจัดโรคนี้ได้ โดยอัตราการใช้อินดิวเซอร์ และ ไบโอเซนเซอร์ เราจะใช้ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบให้เปียกชุ่ม ในช่วงเย็นหรือช่วงที่มีแดดอ่อน
นอกจากนี้อินดิวเซอร์และไบโอเซนเซอร์ยังสามราถที่จะขยายเชื้อได้และมีวิธีการขยายเชื้อที่แตกต่างกัน โดยอินดิวเซอร์สามารถขยายเชื้อได้โดยการเตรียม 1. น้ำสะอาด 20 ลิตร 2. ใช้แป้งข้าวโพด(แป้งมัน แป้งข้าวเหนียว หรือ แป้งข้าวจ้าว) 0.5 กิโลกรัม 3. อินดิวเซอร์ 100 กรัม วิธีการขยายเชื้อ 1. ผสมน้ำและแป้งต้มเคี่ยวจนเดือด 15-20 นาที ให้ลักษณะคล้ายน้ำราดหน้าตั้งทิ้งให้อุ่น 2. นำอินดิวเซอร์ใส่ลงไปอัตราส่วน 100 กรัม 3. ปิดฝาหม้อทิ้งไว้ 3-7 วันและรอจนเชื้อเดินเต็มผิวหน้า เมื่อบ่มเสร็จ เราจะใช้ในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็น และไบโอเซนเซอร์สามารถขยายเชื้อได้โดยการเตรียม 1. นมUHTรสหวาน 1กล่อง หรือ มะพร้าว 1 ลูก 2. ไบโอเซนเซอร์ 5 กรัม วิธีการขยายเชื้อหากใช้นมUHT 1. ตัดปากกล่องเทใส่พลาสติกใส และ หยอดเชื้อไบโอเซนเซอร์ 5 กรัม ลงไปเอาหนังยางมัดหูห้อย 1 ข้าง อีกข้างเปิดทิ้งไว้ 2. แขวนไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก ทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง และใครที่ใช้มะพร้าวในการขยายเชื้อสามารถทำได้โดย มะพร้าวอ่อนทำการเฉาะและเปิดฝาแง้ม และ หยอดเชื้อไบโอเซนเซอร์ลงไป 5 กรัม ปิดฝาทิ้งไว้เหมือนเดิม บ่มทิ้งไส้ 24-48 ชั่วโมง
หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาปัญหาด้านการเกษตรปลอดสารพิษ ติดต่อสอบถามได้ที่ https://thaigreenagro.com/
บทความโดย นางสาวธารหทัย จารุเกษตรพร
ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด