โรคยางไหลกิ่งแห้งในต้นมะม่วง คือ การที่ต้นมะม่วงที่มีกิ่งและใบแห้งติดต้น รวมทั้ง บริเวณโคนกิ่งที่มีใบแห้งนั้นอาจจะมีผลแตกและมีน้ำยางสีครีมหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีส้มอ่อนไหลออกมาจากแผลที่แตก และเมื่อเราเฉือนเปลือกออกมาเพื่อดูเนื้อของมะม่วงนั้นจะมีลักษณะเน่า ซึ่งโรคยางไหลกิ่งแห้งนั้นเกิดมาจากเชื้อราที่ชื่อว่า Lasiodiplodia theobromae (Pst.) Griffon & Maubl. (Botrydiplodia theobromae Pal.) โดยโรคนี้จะเกิดในสภาพอาการที่ร้อนและต้นพืชที่มีการขาดน้ำ จึงมักพบในช่วงหน้าแล้ง ในแปลงปลูกที่ขาดน้ำ หรือ แปลงปลูกที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไม่เอื้ออำนวยต่อการอยู่รอดของต้นมะม่วงในช่วงแล้ง เช่น การตัดแต่งกิ่งไม้ การตัดทรงพุ่มที่มีความโปร่งมากเกินไป การไม่คลุมโคน ไม่มีความชื้นในทรงพุ่ม และ การให้น้ำไม่เพียงพอต่อต้นมะม่วงจึงทำให้ต้นมะม่วงนั้นอ่อนแอและไม่ทนทานต่อโรค เรามักจะพบโรคนี้ในมะม่วงพันธุ์ที่อ่อนแอ ได้แก่ มะม่วงพันธุ์เขียวเสวย มะม่วงพันธุ์มหาชนกพันธุ์มะม่วงที่มีพบโรคนี้บ้าง ได้แก่พันธุ์โชคอนันต์ หรือ อาจเกิดจากการที่มีแมลง สัตว์ ที่เข้ามากัดกินตามเปลือก หรือ อาจจะเกิดจากการที่ต้นมะม่วงนั้นขาดธาตุอาหารประเภทโพแทสเซียม เนื่องจากโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อพืชในด้านความแข็งแรงของเซลล์พืช
โดยวิธีการป้องกันโรคยางไหลกิ่งแห้งได้โดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกหรือเผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ หมั่นเช็คหากตรวจพบว่ามีแผลบริเวณเปลือกไม้ให้ใช้มีดคมๆที่สะอาดขูดเอาส่วนที่เน่าเสียออกจากนั้นฉีดพ่นโดยใช้สารที่ป้องกันและกำจัดเชื้อราได้แก่ ตัวอินดิวเซอร์โดยมีวิธรการใช้ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นละใบ ให้เปียกชุ่มโดยฉีดในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็น หรือใครต้องการป้องกันแมลงหรือสัตว์ที่เข้ามากัดกินลำต้นทางเราแนะนำเป็นตัวบูเวเรียผสมกับฟอร์แทรนทั้งสองตัวนี้จะช่วยในเรื่องการกำจัดแลงปีกแข็งและแมลงปีกอ่อน โดยวิธีการใช้ คือ ใช้อย่างละ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันโดยฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหือช่วงเย็นซึ่งสามารถใช้ผสมกันหรือแยกใช้ก็ได้โดยดูจากสภาพแวดล้อมในช่วงนั้น และถ้าต้องการเพิ่มธาตุอาหารโพแทสเซียมทางเรามีเป็นปุ๋ยน้ำ ทีจีเอ-เอฟ-3 ตัวนี้มีธาตุโพแทสเซียม และ ฟอสฟอรัสสูง จะช่วยในเรื่องกระบวนการต่างๆของพืชและช่วยส่งเสริมให้ต้นพืชมีความแข็งแรง โดยวิธีการ 40-60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
นอกจากนี้หากใครต้องการที่จะขยายเชื้อเพื่อเป็นการลดต้นทุนนั้นมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถขยายเชื้อได้นั้นคือ อินดิวเซอร์ บูเวเรีย และฟอร์แทรน ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้มีวิธีการขยายเชื้อที่เหมือนกันโดยสิ่งที่ต้องมีคือ 1.น้ำสะอาด 20 ลิตร 2. แป้งข้าวโพด(สามารถใช้แป้งมัน แป้งข้าวเหนียว หรือแป้งข้าวจ้าว แทนได้) 0.5 กก. 3.เชื้อที่ต้องการขยาย(อินดิวเซอร์ บูเวเรีย และฟอร์แทรน)100 กรัม โดยวิธีการขยายเชื้อเราจะทำการผสมน้ำและแป้งมันให้เข้ากันจากนั้นำไปต้มเคี่ยให้มีลักษณะคล้ายน้ำราดหน้า จากนั้นตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น ใส่เชื้อที่ต้องการขยายลงไป 100 กรัม จากนั้นปิดฝาหม้อทิ้งบ่มไว้ 3-7 วันรอจนเชื้อเดินเต็มหน้า เมื่อเราบ่มครบ3-7 วันแล้ว สามารถนำมาใช้ได้เลยโดยผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเช้าที่มีแดดอ่อนหรือช่วงเย็น แต่ข้อควรรู้หากนำเชื้อมาขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดในทันทีไม่แนะนำให้นำไปขยายต่อเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อลดลง