ด้วงแรด เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญต่อมะพร้าวและปาล์ม ซึ่งด้วงแรดนั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่
โดยด้วงแรดชนิดเล็กนั้นจะพบอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบเห็นบ่อยที่สุด ส่วนด้วงแรดขนาดใหญ่มักพบไม่บ่อยนักแต่สามารถพบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งด้วงแรดมะพร้าวนั้นก็เป็นด้วงแรดชนิดหนึ่งและเนื่องด้วยไทยนั้นมีการปลูกพืชจำพวกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกมะพร้าวจำนวนมากแล้วด้วงแรดมะพร้าวมีการขยายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไรเนื่องจากมีการโค่นล้มของต้นปาล์มและต้นมะพร้าวเป็นจำนวนมากทำให้ด้วงแรดมะพร้าวนั้นเข้าไปอาศัยอยู่ และเกิดการระบาดมากขึ้นจนเข้าไปทำลายพืช
ลักษณะการเข้าทำลายของด้วงมะพร้าว ช่วงวัยที่เป็นศัตรูพืชคือช่วงวัยโตเต็มวัยเท่านั้น โดยที่จะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน โดยการทำลายยอดอ่อนนั้น จะทำให้เกิดการเน่าที่บริเวณยอดอ่อนจึงไม่สามารถแตกใบใหม่ขึ้นมาได้นอกจากนี้ยังทำให้ผลผลิตเสียหายเพราะว่าการทำลายยอดอ่อนนั้นส่งผลให้การผลิตผลมะพร้าวและปาล์มน้ำมันลดง นอกจากที่กล่าวมายังทำให้ใบหักง่ายทำให้ใบที่เกิดมาใหม่ไม่สมบูรณ์แล้วจะรู้ได้ยังว่าด้วงมะพร้าวเข้าทำลาย สามารถสังเกตได้จากการที่ใบมีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆคล้ายรูปสามเหลี่ยม หากโดนทำลายมากๆใบที่เกิดใหม่จะแคระแกรนและรอยแผลที่โดนด้วงแรดมะพร้าวกัดกินที่เนื้ออ่อนจะมีการวางไข่เกิดขึ้น
ซึ่งด้วงแรดนั้นสามารถแพร่กระจายได้ทั่วประเทศและเพิ่มจำนวนได้ตลอดปีจะมีปริมาณมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับแหล่งในการเพาะขยายพันธุ์ซึ่งจากผลการศึกษาจะพบว่าในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ฤดูที่ด้วงแรดผสมพันธุ์และวางไข่มากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะพบความเสียหายอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม
การป้องกันและกำจัดด้วงแรด ได้แก่
1.การเผาหรือการฝักซากลำต้นหรือตอของต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์มน้ำมัน
2.การควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมน เพื่อล่อจับแมลงตัวเต็มวัยและนำไปทำลาย
3.การใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดหนอนและตัวเต็มวัยของด้วงแรดซึ่งทางเราจะแนะนำเป็นตัวแบคเทียร์และฟอร์แทรน ซึ่งตัวแบคเทียร์นั้นเป็นเชื้อจุลินทรีย์บาซิลัส ทูริงเยนซิส จะช่วยในเรื่องของการปราบหนอนต่างๆ และ ตัวฟอร์แทรนนั้นเป็นเชื้อเมทาไรเซียม แอนิโซเลีย จะช่วยในการปราบพวกแมลงปีกแข็งเช่นด้วงมะพร้าว โดยวิธีการใช้ คือ สามารถใช้ตัวแบคเทียร์และฟอร์แทรนอย่างละ 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วลำต้นและใบให้เปียก และฉีดในช่วงเช้าที่แดดอ่อนหรือในช่วงเย็น และสามารถใช้ร่วมกับ ไทเกอร์เฮิร์บ ซึ่งมีคุณสมบัติในการไล่แมลง เพราะประกอบไปด้วยสารสกัดจากขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ฟ้าทะลายโจร ก้านพลู ซึ่งตัวฟ้าทะลายโจรจะมีรสชาติขม และตัวก้านพลูจะมีความแสบร้อน ทำให้แมลงไม่ชอบกลิ่นซึ่งจะสามารถลดจำนวนลงได้ อัตราในการใช้เราจะใช้ 1-2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดให้ทั่วต้นและใบ
ธารหทัย จารุเกษตรพร
(ตำแหน่ง นักวิชาการ บริษัทไทยกรีนอะโกร จำกัด)